x close

มติ ครม. ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม


พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด


           ครม. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม พร้อมจัดตั้ง สำนักงาน - คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ดำเนินงานช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ยากไร้ ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างเต็มที่

          วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2557) พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมได้มีการเสนอ โดยจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

           สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือการกำหนดให้มี กองทุนยุติธรรม ซึ่งจะเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าถึงความยุติธรรม การประกันตัวบุคคล การช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา และการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
         
           ทั้งนี้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ กำหนดให้กองทุนประกอบด้วยเงิน หรือทรัพย์สินเงินทุนประเดิม ที่รัฐจัดสรรให้ เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินสมทบประเภทค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินสมทบประเภทเงิน และทรัพย์สินที่ได้จากการบังคับหลักประกันตัวผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาที่หลบหนีการปล่อยชั่วคราวที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินสมทบประเภทค่าปรับในคดีอาญาที่ได้รับการจัดสรร เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับช่วงสิทธิเพื่อไล่เบี้ยกับผู้กระทำความผิดอาญา หรือผู้ก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริง เป็นต้น
 
           โดยเงินกองทุนดังกล่าวจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม ประกันตัวบุคคล สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ในการเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ 

           นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกองทุนยุติธรรมขึ้น ในกระทรวงยุติธรรม โดยให้สำนักงานมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการอิสระ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการอิสระแต่งตั้ง และรับคำขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม คำขอรับการช่วยเหลือการประกันตัวบุคคล คำขอรับการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา คำขอรับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคำขอรับการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และ คำอุทธรณ์ เป็นต้น

           พร้อมทั้งยังกำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ซึ่งจะมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางดำเนินงานทั้งหมด ภายในกองทุน 



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
มติ ครม. ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม โพสต์เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2557 เวลา 19:18:31 3,875 อ่าน
TOP