ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ฝนดาวตก 2557 วันที่ 14 ธันวาคม เห็น ฝนดาวตกเจมินิดส์ นักท่องเที่ยวเห็นสูงสุด 220 ดวง/ชั่วโมง ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น 10 กว่าองศาเซลเซียส ท้องฟ้าเปิด
วันนี้ (15 ธันวาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 14 ธันวาคม ประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนหลายร้อยคนได้ขึ้นไปปักหลักรอชม "ฝนดาวตกเจมินิดส์" บนยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็นอุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ในคืนที่ผ่านมาสามารถมองเห็นกลุ่มดาวได้อย่างชัดเจนเนื่องจากท้องฟ้าเปิด และยังทำให้บรรดานักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นฝนดาวตกชุดแรกจำนวน 2 ดวง ได้ตั้งแต่เวลา 19.20 น. และในเวลาต่อมาก็มีฝนดาวตกมาเรื่อย ๆ เฉลี่ย 120 ดวง/ชั่วโมง และสูงสุดถึง 200 ดวง/ชั่วโมง
นอกจากนี้ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการจัดค่ายดาราศาสตร์ของโรงเรียนดัดดรุณี นำนักเรียนหญิงล้วนรวม 200 คน ขึ้นไปพักกางเต็นท์เพื่อรอชมฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ บนอุทยานแห่งชาติทับลานมรดกโลก (ในพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด จ.ปราจีนบุรี และ จ.นครราชสีมา) ที่บริเวณจุดชมวิวผาเก็บตะวัน นำโดย นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์
นายวรวิทย์ กล่าวว่า สภาพท้องฟ้าเปิด เริ่มมองเห็นฝนดาวตกและนับดาวตกเจมินิดส์ ตั้งแต่เวลา 21.30 น. วันที่ 14 ธันวาคม จนถึงเวลา 00.30 น. วันที่ 15 ธันวาคม โดยช่วงเวลาที่พบการปะทะฝนดาวตกสูงสุดคือ ช่วงเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม นับฝนดาวตกได้รวมมากกว่า 220 ดวง/ชั่วโมง ส่วนมากเป็นสีเหลือง และพบไฟร์บอล หรือดาวตกขนาดใหญ่ รวม 7-10 ดวง
สำหรับฝนดาวตกเจมินิดส์นี้ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ต่อมาเมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว ทำให้สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของโลกทำให้เกิดเป็นลำแสงวาบขึ้น หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม หรือไฟร์บอล
ส่วนการชมฝนดาวตกเจมินิดส์นี้ สามารถชมได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยในบริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงรบกวน ส่วนการชมให้สบายที่สุดสามารถนอนรอชมหรือนั่งเก้าอี้ที่สามารถเอนนอนได้ แล้วหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยังอาจมองเห็นได้ถึงวันที่ 17 ธันวาคมนี้ เพียงแต่อาจมีจำนวนน้อยลง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ฝนดาวตก 2557 วันที่ 14 ธันวาคม เห็น ฝนดาวตกเจมินิดส์ นักท่องเที่ยวเห็นสูงสุด 220 ดวง/ชั่วโมง ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น 10 กว่าองศาเซลเซียส ท้องฟ้าเปิด
วันนี้ (15 ธันวาคม 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 14 ธันวาคม ประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนหลายร้อยคนได้ขึ้นไปปักหลักรอชม "ฝนดาวตกเจมินิดส์" บนยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็นอุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ในคืนที่ผ่านมาสามารถมองเห็นกลุ่มดาวได้อย่างชัดเจนเนื่องจากท้องฟ้าเปิด และยังทำให้บรรดานักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นฝนดาวตกชุดแรกจำนวน 2 ดวง ได้ตั้งแต่เวลา 19.20 น. และในเวลาต่อมาก็มีฝนดาวตกมาเรื่อย ๆ เฉลี่ย 120 ดวง/ชั่วโมง และสูงสุดถึง 200 ดวง/ชั่วโมง
นอกจากนี้ ที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการจัดค่ายดาราศาสตร์ของโรงเรียนดัดดรุณี นำนักเรียนหญิงล้วนรวม 200 คน ขึ้นไปพักกางเต็นท์เพื่อรอชมฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกคนคู่ บนอุทยานแห่งชาติทับลานมรดกโลก (ในพื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด จ.ปราจีนบุรี และ จ.นครราชสีมา) ที่บริเวณจุดชมวิวผาเก็บตะวัน นำโดย นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์
นายวรวิทย์ กล่าวว่า สภาพท้องฟ้าเปิด เริ่มมองเห็นฝนดาวตกและนับดาวตกเจมินิดส์ ตั้งแต่เวลา 21.30 น. วันที่ 14 ธันวาคม จนถึงเวลา 00.30 น. วันที่ 15 ธันวาคม โดยช่วงเวลาที่พบการปะทะฝนดาวตกสูงสุดคือ ช่วงเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม นับฝนดาวตกได้รวมมากกว่า 220 ดวง/ชั่วโมง ส่วนมากเป็นสีเหลือง และพบไฟร์บอล หรือดาวตกขนาดใหญ่ รวม 7-10 ดวง
สำหรับฝนดาวตกเจมินิดส์นี้ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ต่อมาเมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว ทำให้สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของโลกทำให้เกิดเป็นลำแสงวาบขึ้น หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม หรือไฟร์บอล
ส่วนการชมฝนดาวตกเจมินิดส์นี้ สามารถชมได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยในบริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงรบกวน ส่วนการชมให้สบายที่สุดสามารถนอนรอชมหรือนั่งเก้าอี้ที่สามารถเอนนอนได้ แล้วหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยังอาจมองเห็นได้ถึงวันที่ 17 ธันวาคมนี้ เพียงแต่อาจมีจำนวนน้อยลง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก