x close

ป.ป.ช. แจงตีตกคำร้องถอด 310 ส.ส. ดันร่างนิรโทษกรรม เหตุไร้ รธน. 50


ป.ป.ช. แจงตีตกคำร้องถอด 310 ส.ส. ดันร่างนิรโทษกรรม เหตุไร้ รธน. 50
ป.ป.ช. แจงตีตกคำร้องถอด 310 ส.ส. ดันร่างนิรโทษกรรม เหตุไร้ รธน. 50


ปปช.แจงตีตกปมถอด310สส.เหตุไร้รธน.ปี'50  (ไอเอ็นเอ็น)


           ป.ป.ช. แจงปมตีตกคำร้องถอด 310 ส.ส. ร่วมดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษเหมาเข่ง เหตุทำผิดรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างเดียว ต่างกับกรณีแก้รัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลผิดก่อนรัฐประหาร

           วันที่ 18 ธันวาคม 2557 นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี ป.ป.ช. ยุติการไต่สวนสำนวนถอดถอน ส.ส. 310 คน ที่ร่วมกันลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วาระ 3 เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่มีผู้ไปยื่นถอดถอนผ่านประธานวุฒิสภาเอาไว้ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีคำร้องของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเลขาธิการ กปปส. ที่รวบรวมรายชื่อประชาชนมาเข้าชื่อถอดถอนเอาไว้ด้วย โดยเป็นการร้องว่า ส.ส. ทั้ง 310 คน ที่ร่วมกันลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม วาระ 3 กระทำผิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งตอนนั้นประธานวุฒิสภาได้ส่งเรื่องต่อมาให้ ป.ป.ช. และมีการตั้งอนุกรรมการไต่สวนเอาไว้ แต่ต่อมาหลังมีการรัฐประหารทำให้รัฐธรรมนูญไม่มีสภาพบังคับใช้ ป.ป.ช. เห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการร้องว่าการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างเดียว ไม่มีความผิดตามกฎหมายอื่น จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการไต่สวนต่อได้จึงต้องจำหน่ายคดีออก และรายงานต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. และ ส.ว. ให้ทราบว่าเราไม่สามารถดำเนินการต่อได้

           นายสรรเสริญ กล่าวอีกว่า กรณีนี้ต่างกับคดีของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา รวมถึงอดีต ส.ส. และ ส.ว. ที่ร่วมกันแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. โดยมิชอบ เนื่องจากกรณีดังกล่าว เป็นเรื่องที่ ป.ป.ช. วินิจฉัยจบไปแล้ว และส่งไปให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนตามกฎหมาย ซึ่งตอนส่งวุฒิสภายังปฏิบัติหน้าที่อยู่ แต่เรื่องยังทันไม่เข้าที่ประชุมวุฒิสภา เพราะมีการรัฐประหารก่อน พอมี สนช. จึงต้องส่งเรื่องคืนมาให้ ป.ป.ช. ยืนยันว่า มีอำนาจหรือไม่ ซึ่งได้ยืนยันกลับไปว่า เป็นเรื่องที่ ป.ป.ช. วินิจฉัยเสร็จแล้ว แม้จะไม่มีรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) ยังมีผลบังคับใช้และมีหลักการเดียวกับรัฐธรรมนูญ จึงส่งเรื่องไปให้ สนช. พิจารณา ส่วนจะถอดถอนได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ สนช.





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ป.ป.ช. แจงตีตกคำร้องถอด 310 ส.ส. ดันร่างนิรโทษกรรม เหตุไร้ รธน. 50 โพสต์เมื่อ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 06:28:27 5,568 อ่าน
TOP