x close

สมบัติ ชี้ เลือกตั้งแบบผสมมีจุดเสี่ยง ระบบเลือกตั้งฆ่ารัฐบาล

สมบัติ ชี้ เลือกตั้งแบบผสมมีจุดเสี่ยง ระบบเลือกตั้งฆ่ารัฐบาล
สมบัติ ชี้ เลือกตั้งแบบผสมมีจุดเสี่ยง ระบบเลือกตั้งฆ่ารัฐบาล

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม

                    สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ มองใช้ระบบเลือกตั้งแบบผสม มีจุดเสี่ยง หากไม่มีพรรคใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากแบบเด็ดขาด อาจเกิดการต่อรองตำแหน่งคอร์รัปชั่นสูง และฆ่ารัฐบาลเอง

                    เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2558 ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงจุดเสี่ยงของการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมแบบเยอรมนี ที่ทางคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสียงข้างมากเห็นชอบนำมาใช้ โดยมี ส.ส. 450 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 250 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 200 คน ว่า ถ้าไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งและจะต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้พรรคแกนนำจะไม่มีอำนาจต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลจะมีโอกาสในการต่อรองกระทรวงที่สำคัญได้มาก

                    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคแกนนำก็จะไม่สามารถควบคุมนโยบายการบริหารประเทศให้มีเอกภาพได้ การทุจริตคอร์รัปชั่นจะสูงขึ้นโดยที่นายกรัฐมนตรีจะไม่สามารถทำอะไรได้ และถ้านายทุนพรรคจับทางได้ว่าถ้าได้คะแนนพรรคเกินครึ่งจะทำให้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการจัดตั้งรัฐบาลก็อาจจะมีการวางแผนทุ่มซื้อคะแนนให้พรรคได้เสียงเกินครึ่งแทนที่จะซื้อ ส.ส.เขต และจะทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมากเหนือทั้งฝ่ายบริหารและเหนือสภาฯ

                    อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า จุดเสี่ยงที่น่าวิตกมากที่สุดนั้นคือ การที่พรรคใหญ่ ๆ ที่มีอดีต ส.ส. ที่มีชื่อเสียงและมีโอกาสชนะการเลือกตั้งอย่างแน่นอนลงสมัครเลือกตั้งแบบอิสระ และเมื่อได้รับการเลือกตั้งก็ให้มาสนับสนุนพรรคตนเอง สุดท้ายก็กลับกลายเป็นมีอำนาจสิทธิ์ขาดอีกเช่นเคย

                    นายสมบัติ ชี้อีกว่า จุดเสี่ยงในการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สภาสามารถถอดถอนนักการเมืองออกจากตำแหน่งโดยใช้เสียง 3 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดได้ ซึ่งก็มีบางคนบอกว่าให้เลือกใช้หรือไม่กับการถอดถอนลักษณะดังกล่าว เพราะเป็นการให้นักการเมืองถอดถอนนักการเมืองด้วยกันเอง

                    อย่างไรก็ตาม ระบบถอดถอนไม่ได้เป็นไปตามระบบรัฐสภาในอังกฤษ แต่เราไปหยิบจากสหรัฐฯ มาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งที่กมธ.ยกร่างฯ ตามข้อเสนอของ กมธ.ยกร่างฯ ที่กำหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. 650 คนเป็นผู้ตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก
   
                    "ถ้าพรรคแกนนำรัฐบาลผสมจัดตั้งพรรคโดยมี ส.ส. สนับสนุนเกินครึ่ง คือ 330 เสียง เชื่อว่าการถอดถอนก็จะไม่มีโอกาสสำเร็จ เพราะพรรคที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาลต่อไปก็จะต้องทำให้ตนเองมีเสียงมากกว่า 330 เสียงเพื่อป้องกันการถอดถอนตนเอง เช่นอย่างในปี 2540 ในรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่มีเสียงมากกว่า 300 เสียง ทั้งนี้ ถ้าถอดถอนไม่สำเร็จ ก็จะทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น" นายสมบัติ กล่าว   


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


       




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สมบัติ ชี้ เลือกตั้งแบบผสมมีจุดเสี่ยง ระบบเลือกตั้งฆ่ารัฐบาล อัปเดตล่าสุด 26 มกราคม 2558 เวลา 14:05:34 5,663 อ่าน
TOP