x close

นิด้า ชี้จุดเสี่ยงลต.แบบสัดส่วนผสม หวั่นนายทุนหนุนหลังตั้งเผด็จการรัฐสภา

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
นิด้า ชี้จุดเสี่ยงลต.แบบสัดส่วนผสม หวั่นนายทุนหนุนหลังตั้งเผด็จการรัฐสภา

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  เฟซบุ๊ก Prof. Sombat Thamrongthanyawong, Ph.D

          "นิด้า" ชี้จุดเสี่ยงแนวคิดเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม หากพรรครัฐบาลเสียงไม่มากพอจะอ่อนแอ เตือนระวังนายทุนทุ่มซื้อคะแนนเสียง ซื้ออำนาจเผด็จการรัฐสภา
          
          เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ทิศทางและอนาคตการเมืองไทย" ระบุถึงข้อเสนอของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในการร่างรัฐธรรมนูญที่ให้มีการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมในขณะนี้ว่า การเลือกตั้งในลักษณะดังกล่าวมีจุดเสี่ยง เพราะ หากไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก จะเกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอไม่มีเสถียรภาพ และหากพรรคแกนนำมีเสียงเกินครึ่ง ก็จะทำให้ฝ่ายเสียงข้างมากมีอำนาจมาก จนทำให้เกิดเผด็จการจากการเลือกตั้ง เนื่องจากรัฐบาลสามารถบงการได้ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ตัวอย่างเช่นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่แม้ว่าจะเป็นพรรคแกนนำ แต่เสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง จึงทำให่ไม่มีอำนาจเด็ดขาด เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาล มีการต่อรอง และส่วนตัวอย่างของพรรครัฐบาลที่มีเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ก็คือรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีอำนาจสูงจนเกินไป

          ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพรรคใหญ่จะใช้กลยุทธ์ให้ผู้มีชื่อเสียงของพรรคลงสมัครแบบอิสระ หรือตั้งพรรคสาขา โดยนายทุนของพรรคจะทุ่มซื้อคะแนนเสียงของพรรค เพื่อให้คะแนนเกิน 50% และมีสิทธิเด็ดขาดในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งโอกาสเกิดแบบนี้มีมากที่สุด ส่วนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็นับว่ามีจุดเสี่ยงในเรื่องการถอดถอนโดยกำหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 650 เสียง เป็นผู้ตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ซึ่งถ้าหากพรรคแกนนำรัฐบาลผสมจัดตั้งพรรคโดยมี ส.ส. สนับสนุนเกิน 330 เสียง การถอดถอนจะไม่สามารถถอดถอนได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการทุจริตยิ่งมากขึ้น

          นายสมบัติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทิศทางการเมืองในอนาคตหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และเปิดมีการเลือกตั้งนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดกลุ่มการเมืองพรรคเดียว เช่นเดียวกับพรรคอัมมโน ของมาเลเซีย ที่ประกอบไปด้วยพรรคที่ได้คะแนนเสียงที่มาก ร่วมเป็นรัฐบาลกับอีก 3-4 พรรค ซึ่งหากไม่มีการทุจริตและบริหารงานดี ก็มีแนวโน้มที่จะผูกขาดเป็นรัฐบาลระยะยาวนานพอสมควร แต่ถ้ามีการทุจริตเกิดขึ้น ประชาชนก็จะออกมาคัดค้าน และประเทศชาติก็จะจมปลักกับความขัดแย้งเช่นเดิม หากอยากทราบว่ารัฐบาลในอนาคตเป็นอย่างไร ต้องดูจากฐานเสียงของแต่ละพื้นที่ ว่าพรรคไหนกุมฐานเสียงไว้มากน้อยแค่ไหน


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นิด้า ชี้จุดเสี่ยงลต.แบบสัดส่วนผสม หวั่นนายทุนหนุนหลังตั้งเผด็จการรัฐสภา อัปเดตล่าสุด 30 มกราคม 2558 เวลา 17:57:34 8,825 อ่าน
TOP