x close

มีงาช้างไม่แจ้งครอบครองเท่ากับมีของผิดกฎหมาย






                วิถีชีวิตของคนไทย     ที่มีความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีต ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง   ของคนไทยมาช้านาน เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องปัญหางาช้างของประเทศไทย จึงต้องเสริมสร้างจิตสำนึกอันจะนำมาซึ่งความร่วมมือที่ดีในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการค้างาช้างของประเทศไทย

 




 กลายเป็นประเด็นร้อนต่อเนื่อง   ที่ตกอยู่ในความสนใจของประชาคมโลก   ภายหลังเกิดกระแสตื่นตัว  ในการรณรงค์หยุดค้างาช้างผิดกฎหมาย   จากนานาประเทศจนก่อให้เกิดแรงกระเพื่อม
ในวงกว้างไปสู่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากธุรกิจค้างาช้างถือเป็นธุรกิจผิดกฎหมายที่มีการค้ามากที่สุดเป็นอันดับ 
ของโลก รองจากการค้ายาเสพติด การค้าอาวุธและการค้ามนุษย์  โดยประเทศไทยภายใต้การนำของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 

 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    ได้ขานรับนโยบายในการรณรงค์ต่อวาระ
ดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติอย่างจริงจัง    โดยรัฐบาลสนองตอบต่อนโยบายของสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (
CITES)    ด้วยการตราพระราชบัญญัติงาช้าง พ.. 2558เพื่อให้มีผลบังคับใช้การแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถควบคุมการค้างาช้างบ้านและปราบปรามการลักลอบค้างาช้างแอฟริกาได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน 90 วัน ระหว่างวันที่ 22 ม.ค.-21เม.. 2558 สืบเนื่องจากประเทศไทยนับเป็นประเทศเดียวในโลกที่เป็นเสมือนศูนย์รวมในการค้างาช้างบ้านของไทยและเป็นทางผ่านสำคัญของการส่งออกงาช้างป่าจากแอฟริกาสู่กลุ่มประเทศเป้าหมาย อาทิ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น




       โดยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิด “กิจกรรมรณรงค์การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับงาช้าง"  พร้อมด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ฯ


โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการครอบครอง และการค้างาช้าง

2. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบแนวทางปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ในเรื่อง
การแจ้งครอบครอง และการค้างาช้าง

3. เพื่อการรณรงค์ให้ชาวต่างชาติงดซื้อสินค้างาช้าง และนำออกนอกประเทศ

4. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และลดการบริโภคสินค้างาช้าง

5.เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะประเทศภาคีอนุสัญญา
และคณะกรรมการ
บริหารอนุสัญญาฯได้ตระหนักว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่น
และจริงใจต่อการแก้ไขปัญหา การลักลอบค้างาช้างผิดกฎหมายในประเทศ

3




                  “โทษสูงสุดของการค้างาช้าง คือ จำคุกไม่เกิน 3ปีปรับสูงสุดไม่เกิน ล้านบาทถือว่าสูงสุดคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ คือ อัยการ ตำรวจ และผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย ในการพิจารณาเพื่อให้ความเป็นธรรมเปรียบเทียบปรับ ถ้าค้ากับนำเข้าส่งออกต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี
และปรับสูงสุด 
ล้านบาท เท่ากับราคางาช้างจะสูงขึ้น ของผิดกฎหมายจะถูกบีบ ความจริงอนุญาตค้า
ในประเทศได้ ถ้าเป็นงาช้างบ้าน หากนักท่องเที่ยวมาซื้อก็สามารถใช้ได้เฉพาะในประเทศไทย เมื่อเดินทางออกจากประเทศไทยก็ต้องทิ้ง เพราะ นำออกนอกประเทศไม่ได้ เพราะ กฎหมายไม่ให้นำออกไป

แต่ในบ้านเราคนไทยยังซื้อขายกันได้อยู่ถ้าซื้องาช้างที่มีการแจ้งครอบครองถูกกฎหมาย หากครอบครองไม่ถูกกฎหมายก็ถูกจับ ”



สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

·     กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  www.mnre.go.th/

·     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  http://www.dnp.go.th/

·     สอบถามสายด่วน 1362










เรื่องที่คุณอาจสนใจ
มีงาช้างไม่แจ้งครอบครองเท่ากับมีของผิดกฎหมาย อัปเดตล่าสุด 17 มีนาคม 2558 เวลา 11:27:23 5,262 อ่าน
TOP