x close

ชี้คลิปแตงโม ในห้องฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย-จี้โรงพยาบาลชี้แจง



ชี้คลิปแตงโม ในห้องฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย-จี้โรงพยาบาลชี้แจง
 
ชี้คลิปแตงโม ในห้องฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย-จี้โรงพยาบาลชี้แจง


            กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุคลิปแตงโม ในห้องฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย จี้โรงพยาบาลออกมาชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้น หากรู้เห็นเป็นใจปล่อยให้ถ่ายภาพมีโทษทั้งจำทั้งปรับ !
 
            วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีเพื่อนสนิทของ น.ส.ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม ดารานักแสดง ได้มีการเผยแพร่ภาพและคลิปวิดีโอ ขณะที่ทำการรักษานักแสดงสาวที่ถูกหามส่งโรงพยาบาล เนื่องจากกินยานอนหลับเกินขนาด โดยเรื่องดังกล่าวถือเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายผิดกฎหมาย
 
            โดยการกระทำดังกล่าวเข้าข่าย มาตรา 7 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล ถือเป็นความลับส่วนบุคคลจะนำไปเปิดเผยไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ หากอีกฝ่ายไม่ฟ้องดำเนินคดี แต่ผู้ที่เผยแพร่ต่อก็มีความผิดในมาตราเดียวกันได้ หากเป็นการเผยแพร่ต่อทางโซเชียลมีเดียก็จะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ร่วมด้วย
 
            นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า มาตรการปกติของห้องฉุกเฉินจะไม่อนุญาตให้ญาติหรือบุคคลอื่นเข้าไปพลุกพล่านหรือถ่ายภาพได้ เพราะอาจจะติดภาพคนอื่นไปด้วย ดังนั้นเหตุการณ์ในครั้งนี้ทางโรงพยาบาลจะต้องมีการชี้แจงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการแอบถ่ายหรือเป็นเรื่องที่โรงพยาบาลรู้เห็นเป็นใจหรือไม่  ซึ่งหากเป็นการแอบถ่ายจริงทางโรงพยาบาลก็จะเสียหายเพราะมาตรการควบคุมไม่ดีพอ แต่หากเป็นการรู้เห็นเป็นใจก็จะเป็นการผิดมาตรฐานวิชาชีพ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ และผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 232 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งหมดยังบอกไม่ได้ ต้องรอให้มีการชี้แจงก่อน
 
            ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แม้ดาราจะเป็นบุคคลสาธารณะแต่อยากให้สังคมมองในแง่หนึ่งที่ต้องมีความเคารพซึ่งกันและกันในการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่คนนอกไม่ทราบและเป็นสภาวะกดดันที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งคนที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวต้องการความเข้าใจอย่างมาก โดยเฉพาะคนใกล้ชิดที่อย่ามองเป็นเพียงการเรียกร้องความสนใจและให้ความช่วยเหลือ เพราะไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้
 
            สำหรับสาเหตุที่ทำให้ทำร้ายตัวเองมีดังนี้

            1. ภาวะอารมณ์ที่อ่อนไหวมาก ๆ คิดอยากทำอะไรบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย แต่เป็นอารมณ์ชั่ววูบที่อาจส่งผลให้ตัวเองบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

           
2. ความเครียดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เกิดภาวะกดดันสะสม เมื่อถึงจุดหนึ่งอาจไม่ไหวและตัดสินใจทำร้ายตนเอง

           
3. กลุ่มโรคซึมเศร้า ทำให้มีมุมมองวิธีคิดที่คิดที่ทำให้เกิดการทำร้ายตัวเองได้
 

            อย่างไรก็ตามการเผยแพร่ภาพการทำร้ายตัวเองนั้น อาจเกิดผลได้ทั้งทางบวกและทางลบขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ออกไป หากเผยแพร่ถึงผลกระทบ ควบคู่กับการหาทางออกจากปัญหา ก็จะเป็นผลดีต่อผู้รับสารแต่ข่าวออกไปเยอะมาก ดังนั้นผู้รับสารจำเป็นต้องกลั่นกรองข้อมูลอย่างมาก




อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชี้คลิปแตงโม ในห้องฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย-จี้โรงพยาบาลชี้แจง อัปเดตล่าสุด 7 กรกฎาคม 2558 เวลา 22:06:47 18,396 อ่าน
TOP