x close

องค์การอวกาศยุโรปปล่อยยานเดินทางสู่ดาวอังคาร ค้นหาร่องรอยชีวิต (ชมคลิป)


โครงการสำรวจดาวอังคาร ExoMars 2016

         องค์การอวกาศยุโรปจับมือรัสเซีย ปล่อยจรวดโปรตอนลำเลียงยานไร้คนขับ ในภารกิจสำรวจก๊าซบนดาวอังคาร หวังค้นหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน

         เว็บไซต์เทเลกราฟ เผยรายงานในวันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 09.30 น. ตามเวลาเวลามาตรฐานกรีนิช หรือ ประมาณ 16.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ระบุว่า องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ได้ถ่ายทอดสดการจับมือกับรัสเซีย ในโครงการสำรวจดาวอังคาร ExoMars 2016 ปล่อยจรวดโปรตอนขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้ (14 มีนาคม)

โครงการสำรวจดาวอังคาร ExoMars 2016

         ภารกิจ ExoMars 2016 ใช้เงินทุนราว 1.2 พันล้านยูโร (ราว 4.6 หมื่นล้านบาท) ในการส่งจรวดโปรตอนของรัสเซียขึ้นสู่ห้วงอวกาศ จากฐานปล่อยจรวดไบโคนูร์คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน และจะใช้เวลาราว 7 เดือน ในการมุ่งหน้าสู่ดาวเคราะห์สีแดงหรือดาวอังคาร เพื่อค้นหาร่องรอยของก๊าซมีเทนบนชั้นบรรยากาศ ที่อาจบ่งชี้ความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

โครงการสำรวจดาวอังคาร ExoMars 2016

         โดยในจรวดโปรตอนได้บรรทุกยานสำรวจก๊าซ หรือยาน TGO (Trace Gas Orbiter) ซึ่งจะทำหน้าที่ค้นหาก๊าซมีเทน ไอน้ำ และก๊าซอื่น ๆ บนชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ส่วนอีกลำหนึ่งคือ ยานสำรวจ เชียพาเรลลี (Schiaparelli) รับหน้าที่หลักเป็นการทดสอบการร่อนลงพื้นผิวดาวด้วยร่มชูชีพ และจะอาศัยอยู่บนดาวอังคารเพื่อรอภารกิจสำรวจในภายภาคหน้าต่อไป

โครงการสำรวจดาวอังคาร ExoMars 2016

         ทั้งนี้ หากยาน TGO ที่ติดตั้งเครื่องมือซึ่งมีปฏิกิริยาว่องไวต่อก๊าซต่าง ๆ ได้พบเจอก๊าซที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตบนชั้นบรรยากาศดาวอังคารเข้าจริง ๆ จะถือได้ว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ แม้ว่าร่องรอยของก๊าซอาจบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตที่อาจอาศัยอยู่บนดาวอังคาร เมื่อสักหลายพันล้านปีก่อนก็ตาม

world_id:56e6978a4d265af7768b4596

ภาพจาก ESA

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
องค์การอวกาศยุโรปปล่อยยานเดินทางสู่ดาวอังคาร ค้นหาร่องรอยชีวิต (ชมคลิป) อัปเดตล่าสุด 14 มีนาคม 2559 เวลา 17:55:49 7,936 อ่าน
TOP