x close

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา สีย้อม หรือแค่โปรตีนธรรมชาติ


พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

         พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา สีย้อม หรือมายโอโกลบิน โปรตีนธรรมชาติจากเนื้อปลา ชี้หากใครสงสัยก็ลองทำได้ง่าย ๆ

         จากกรณีที่เป็นกระแสแชร์ต่อทั่วโลกโซเชียล เมื่อ ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยชุดภาพของเนื้อปลาที่ถูกแช่ในหลอดทดลอง โดยเนื้อมีลักษณะขาวซีดและมีสีละลายออกมา ทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่าเนื้อปลาที่นำมาจากร้านอาหารญี่ปุ่นนี้น่าจะผ่านการย้อมสีมา
         ในขณะที่ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาตั้งข้อสงเกตว่า สีที่เห็นน่าจะเป็นมายโอโกลบิน (สารโปรตีนธรรมชาติในเนื้อปลา) ที่ละลายออกมาเท่านั้น ไม่น่าจะเป็นการย้อมสีปลาแต่อย่างใด [อ่านข่าว ตะลึง เจอปลาดิบย้อมสีในร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าดัง สีละลายหลังแช่น้ำ-อ.เจษฎา แย้ง]

         ล่าสุด (26 พฤษภาคม 2559) รายการเที่ยงวันทันข่าว ของช่อง 3 ก็ได้อาสาพิสูจน์ให้เห็นกันสด ๆ ว่าปลาโอซาชิมินั้น ถูกย้อมสีจริงหรือไม่ โดยได้เชิญ ดร.กนิฐพร วังใน จากภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมทำการทดลอง โดยนำเอาเนื้อปลาดิบ ประกอบด้วย ปลาโอ ปลาแซลมอน และปลาทูน่า มาสับแล้วใส่ในหลอดทดลอง  

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

         จากนั้นเมื่อเติมน้ำเปล่าลงไปแล้วคนดู ก็พบว่าเนื้อปลามีสีซีดลง ขณะที่น้ำมีสีเข้มขึ้น ก่อนที่ ดร.กนิฐพร จะนำหลอดทดลองดังกล่าวมาแกว่งในน้ำร้อน ก็ปรากฏว่าเกิดตะกอนขุ่นจากโปรตีนที่เสียสภาพ หรือโปรตีนมายโอโกลบินที่ละลายจากเนื้อปลา

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา เป็นสีย้อมหรือไม่

         ทั้งนี้สรุปได้ว่า เนื้อปลามีความปกติดี ปลอดภัย สามารถบริโภคได้ เพราะหากเป็นสีย้อมจริงก็ไม่น่าจะเปลี่ยนเป็นตะกอนขุ่นเช่นนี้ ดังนั้นผู้ที่ทานเนื้อปลาแล้วเกิดความสงสัยก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเช่นกัน

ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พิสูจน์ชัด ๆ สีที่ละลายจากเนื้อปลา สีย้อม หรือแค่โปรตีนธรรมชาติ อัปเดตล่าสุด 27 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:30:21 19,572 อ่าน
TOP