x close

สธ. หนุนแยก แอมเฟตามีน จากยาบ้า หวังเปิดทางใช้ในวงการแพทย์

 
ยาบ้า

           สธ. หนุนแยก "แอมเฟตามีน" เป็นวัตถุออกฤทธิ์ฯ ประเภท 2 หวังนำมาใช้ทางการแพทย์ ชี้ช่วยรักษาโรคสมาธิสั้น และใช้เป็นสารทดแทนบำบัดกลุ่มติดยาบ้าขั้นรุนแรงได้ ย้ำยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น
      
           วันที่ 30 สิงหาคม 2559 นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการควบคุมเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) อย่างสร้างสรรค์ ในมุมมองทางการแพทย์และสาธารณสุข ว่า ประเทศไทยจัดให้เมทแอมเฟตามีน และสารกลุ่มแอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 1 ตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการประกาศสงครามกับยาเสพติด เนื่องจากมีการนำสารแอมเฟตามีนไปผลิตเป็นเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เป็นจำนวนมาก

พล.อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา
           แต่เนื่องจากนโยบายใหม่ของ พล.อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ที่ต้องการปฏิรูปการแก้ปัญหายาเสพติด ด้วยการแยกผู้เสพออกจากผู้ค้า โดยจัดให้ผู้เสพยาเสพติดเป็น "ผู้ป่วย" แทนการเป็นอาชญากร และให้ สธ. ดำเนินการดูแลบำบัดรักษา

           ดังนั้น ทาง สธ. จึงได้มีการคุยกันแล้วว่า จะมีการลดระดับกลุ่มสารแอมเฟตามีนที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ อาทิ ช่วยรักษาโรคสมาธิสั้น รวมถึงใช้เป็นสารทดแทนบำบัดกลุ่มติดยาบ้าขั้นรุนแรง มาเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทที่ 2 แต่ยังคงให้เป็นยาที่อยู่ภายใต้การสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น 

           นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า สำหรับเมทแอมเฟตามีนั้น จะให้ดำเนินการกวาดล้างตามกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากเป็นตัวที่ไม่มีประโยชน์และยังให้โทษ หากใช้เป็นเวลานานจะเกิดอันตรายต่อหัวใจ เกิดการเต้นผิดปกติ มีผลต่อหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดในสมองแตก

ภาพจาก ช่อง 8

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สธ. หนุนแยก แอมเฟตามีน จากยาบ้า หวังเปิดทางใช้ในวงการแพทย์ อัปเดตล่าสุด 30 สิงหาคม 2559 เวลา 11:46:35 7,867 อ่าน
TOP