สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด
การสั่งทำลายรถยนต์หรูยี่ห้อ "เฟอร์รารี่" ครั้งนี้ เมื่อเวลา 10.55 น. วานนี้ (26 ก.ย.) นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร ได้เป็นประธานการทุบทำลายรถยนต์ยี่ห้อเฟอร์รารี่ รุ่น 456 จีที สีเทา ซึ่งกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติดได้ตรวจยึด และจับกุมได้ที่อู่เบนซ์แอลเค จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน และนำส่งกรมศุลกากรในคดีลักลอบหนีศุลกากร หลังจากไม่มีผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าของ ซึ่งเมื่อกรมศุลกากรได้พิจารณาเห็นว่ากรณีนี้เป็นความผิดตามมาตรา 27 พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 รถยนต์ของกลางจึงตกเป็นของแผ่นดิน
ต่อมากรมศุลกากรได้ตรวจสอบรถยนต์คันดังกล่าว พบไม่มีอุปกรณ์สำคัญหลายรายการ เช่น สมองกลเครื่อง สมองเอบีเอส สมองกลเกียร์ ระบบสายไฟทั้งหมด ท่อไอเสีย ปั๊มเอบีเอส ฯลฯ ดังนั้นคณะกรรมการจำหน่ายรถยนต์ของกลางกรมศุลกากรจึงมีมติหลังการประชุม ให้ทำลายรถยนต์คันดังกล่าว เพื่อตัดช่องทางขบวนการแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองอย่างไม่ถูกต้อง โดยวิธีให้รถแบ็คโฮบดทับจนรถยนต์ใช้การไม่ได้ และขายเป็นเศษเหล็ก ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ รถยนต์รุ่นดังกล่าว หากเป็นรถใหม่ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 35 - 40 ล้านบาท แต่สภาพที่เป็นอยู่ในการทำลายหลังถูกถอดอุปกรณ์และชิ้นส่วนสำคัญจะอยู่ที่ประมาณ 4.6 ล้านบาท หากนำเข้าถูกต้องตามกฎหมายและเสียภาษี ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาท
"สาเหตุที่ต้องทุบรถยนต์คันดังกล่าว เพราะต้องการตัดช่องทางของขบวนการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง และก่อนทำลายก็มีการหารือกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้ว ซึ่ง สตง.ไม่มีหลักฐานเอกสารเพียงพอที่จะมาแสดงข้อมูลของรถยนต์ดังกล่าวต่อกรมศุลกากรได้ เราต้องการส่งสัญญาณให้คนที่ทำแบบนี้รู้ว่า ไม่สามารถเอาเปรียบคนอื่นหรือใช้กลโกงได้ หากเราตรวจสอบว่ามีการดำเนินการในลักษณะนี้อีก เราก็จะทำลายอย่างเดียว เราก็ทำตามหน้าที่โดยไม่สนว่าคนคนนั้นเป็นใคร