x close

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ชวนดู Double Blue Moons แต่ไม่ใช่พระจันทร์เปล่งแสงสีน้ำเงิน


           สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ชวนดู Double Blue Moons 31 มีนาคม จนถึงเช้าวันที่ 1 เมษายน 2561 ชี้ไม่ใช่พระจันทร์เปล่งแสงสีน้ำเงิน แท้จริงแล้วคือเดือนที่มีพระจันทร์เต็มดวง 2 หน

           วันนี้ (31 มีนาคม 2561) เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้โพสต์เชิญชวนประชาชนชมปรากฏการณ์ Double Blue Moons ซึ่งหลายคนเข้าใจว่า เป็นวันที่พระจันทร์จะเปล่งแสงเป็นสีน้ำเงิน เหมือนกับปรากฏการณ์พระจันทร์สีเลือดที่ดวงจันทร์มีสีแดงคล้ายเลือด
           ทั้งนี้จริง ๆ แล้วปรากฏการณ์พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue Moon) นั้น คือ ปรากฏการณ์ที่พระจันทร์เต็มดวง เกิดขึ้นเป็นครั้งทีสองในเดือนเดียวกัน ซึ่งปกติแล้วพระจันทร์เต็มดวงจะเกิดขึ้นเดือนละครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ในปี 2561 มีความพิเศษคือเกิดบลูมูนสองครั้ง คือในวันที่ 2 มกราคม และ 31 มีนาคม เรียกปีที่เกิดบลูมูนสองครั้งว่า ดับเบิลบลูมูน (Double Blue Moons)


           สำหรับคำว่า Blue Moon มีที่มาจากสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า "Once in a blue moon" หมายถึง นานทีจะเกิดขึ้นสักครั้ง

           อย่างไรก็ดี ในวันนี้ จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวง ครั้งที่สองในเดือนเดียวกันทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เวลาประมาณ 18.31 น. ดวงจันทร์เต็มดวงอย่างสมบูรณ์เวลาประมาณ 19:36 น. และตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเช้าของวันที่ 1 เมษายน 2561 เวลาประมาณ 06.52 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยดวงจันทร์จะสว่างเต็มดวงเหมือนเช่นเคยโดยไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินแต่ อย่างใด และเรายังสามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์บลูมูนครั้งต่อไปได้ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2562

สำหรับข้อความทั้งหมดมีดังนี้



ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ชวนดู Double Blue Moons แต่ไม่ใช่พระจันทร์เปล่งแสงสีน้ำเงิน อัปเดตล่าสุด 1 เมษายน 2561 เวลา 08:50:54 7,073 อ่าน
TOP