x close

พ.ร.บ. มั่นคง ร้ายแรงกว่าระบอบ ทักษิณ!? แต่ สนช. ไฟเขียว

           ข่าว การมือง เดือด ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง ผ่านวาระของ สนช. ทั้งๆ ที่ พ.ร.บ. ความมั่นคง ร้ายแรงยิ่งกว่าระบอบ ทักษิณ แต่ สนช. ไฟเขียวให้ผ่านเฉย ขณะเดียวกันนักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ พ.ร.บ. ความมั่นคง ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ คมช. ทหาร และหาจุดยืนให้กับ กอ.รมน.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          เมื่อวานนี้ (8 พ.ย.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธานการประชุม สนช. ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ....ที่เสนอโดยรัฐบาล โดยนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้ เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย มีความรุนแรงรวดเร็วสามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและสลับซับซ้อน ส่งผลกระทบกับเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขตเป็นภัยอันตรายต่อความสงบสุขประชาชน 

          ดังนั้นเพื่อป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ควรกำหนดให้มีหน่วยปฎิบัติงานหลัก เพื่อปฎิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมรักษาความมั่นคง เสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่น โดยยืนยันการเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เพราะต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลความมั่นคงภายใน และความสงบเรียบร้อย 

          อย่างไรก็ตาม หลังใช้เวลาอภิปรายนานกว่า 6 ชั่วโมง ในที่สุดผลการลงมติวาระที่ 1 รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ด้วยคะแนน 101 ต่อ 20 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง จากจำนวนสมาชิก สนช. เข้าประชุม 120 คนพร้อมให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา จำนวน 24 คน โดยกำหนดกรอบเวลาในการแปรญัตติให้แล้วเสร็จภายใจ 7 วัน

          ขณะเดียวกัน นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมากล่าวว่า ถ้าถามตนบอกได้เลยว่ากฎหมายความมั่นคงร้ายแรงยิ่งกว่าระบอบทักษิณเสียด้วยซ้ำ เพราะระบอบทักษิณไม่ได้ห้ามคนอื่นตรวจสอบ อย่างไรก็ตามไม่เห็นด้วยที่จะให้ พ.ร.บ.ฉบันนี้ออกมา โดยเห็นว่า สนช. ไม่มีสิทธิที่จะนำกฎหมายนี้ออกมา เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

          ขณะที่ แบรด อาดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของทหารเสนอกฏหมายความมั่นคงภายในเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้อำนาจตามอำเภอใจ และจะทำให้ทหารเข้าแทรกแซงการบริหารราชการโดยพลเรือนได้ในทุกระดับ

          แบรด อาดัมส์ กล่าวว่า อำนาจตามที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของร่างกฏหมายความมั่นคงภายในฉบับนี้ แสดงถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะสถาปนาอำนาจของ กอ.รมน. ซึ่งอยู่เหนือการตรวจสอบควบคุมตามกระบวนการประชาธิปไตย การกระทำเช่นนี้ทำให้ดูเหมือนประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ระบอบเผด็จการ มากกว่าที่จะเป็นการฟื้นฟูประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ควรที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบ ถ้าหากเขาเป็นนักปฏิรูปจริงอย่างที่กล่าวอ้างไว้ เขาก็ควรที่จะระงับร่างกฏหมายความมั่นคงภายในฉบับนี้ในทันที
ทั้งนี้ เนื้อหาหลักของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ดังกล่าวมีดังนี้

          1. ให้อำนาจครอบจักรวาล (มาตรา 15) ออกข้อกำหนดห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดการปฏิบัติการได้ ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ที่กำหนดได้  ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ (มาตรา 17) ซึ่งเท่ากับว่า สามารถออกกฏหมายนิติบัญญัติได้ในตัว (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน.สามารถทำหน้าที่แทนฝ่ายนิติบัญญัติ)

          2.จะแก้ไขให้ผอ.รมน.เป็นนายกรัฐมนตรี แต่มาตรา ๑๐ ยังให้แม่ทัพภาคเป็น

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พ.ร.บ. มั่นคง ร้ายแรงกว่าระบอบ ทักษิณ!? แต่ สนช. ไฟเขียว โพสต์เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2550 เวลา 00:00:00 8,240 อ่าน
TOP