x close

ไขข้อสงสัย ทำไมต้องชื่อพายุไต้ฝุ่น "มังคุด" ทั้งที่แทบไม่เฉียดเข้าไทย ?

 

            สงสัยกันหรือไม่ ทำไมต้องตั้งชื่อพายุไต้ฝุ่นเป็นชื่อผลไม้ไทยอย่าง ไต้ฝุ่นมังคุด เพราะคณะกรรมการไต้ฝุ่นที่มีประเทศไทยเป็นสมาชิกช่วยกันตั้งชื่อ

พายุมังคุด
ภาพจาก Matt Leung/Shutterstock.com

             หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมช่วงหลังมานี้มีการเรียกชื่อพายุหมุนเขตร้อนด้วยชื่อผลไม้ไทยอย่าง ขนุน, มังคุด ทั้ง ๆ ที่พายุเหล่านั้นแทบจะไม่มาถล่มประเทศไทยเต็ม ๆ เลยก็ตาม โดยเรื่องนี้มีที่มาที่ไป

            เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 17 กันยายน 2561 เว็บไซต์เวิร์คพอยท์นิวส์ รายงานว่า การตั้งชื่อพายุหมุนในเขตร้อนนั้น มาจากสมาชิกทั้ง 14 รายของ คณะกรรมการไต้ฝุ่น (WMO Typhoon Committee) ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วย จะเสนอรายชื่อไต้ฝุ่นรายละ 10 ชื่อ เพื่อเป็นฐานรายชื่อในการนำไปตั้งชื่อพายุ

            โดยสมาชิกทั้ง 14 ราย ได้เสนอรายชื่อพายุรายละ 10 ชื่อ รวมเป็น 140 ชื่อ ซึ่งถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่ม จะมีการนำไปตั้งชื่อพายุหมุนในเขตร้อนไล่เรียงกันไปตามลำดับ สำหรับชื่อพายุที่ไทยนำเสนอทั้งหมด 10 ชื่อ ประกอบด้วย พระพิรุณ มังคุด วิภา บัวลอย เมขลา อัสนี นิดา ชบา กุหลาบ และ ขนุน

พายุมังคุด

               สำหรับชื่อพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดนั้น ทางเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา ได้จัดทำตารางชื่อพายุ พร้อมความหมาย และที่มาของประเทศเจ้าของชื่อต่าง ๆ ดังนี้

 อุตุนิยมวิทยา
พายุมังคุด
ภาพจาก Anthony WALLACE/AFP

พายุมังคุด
 ภาพจาก AFP PHOTO/CNA

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา, workpointnews

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ไขข้อสงสัย ทำไมต้องชื่อพายุไต้ฝุ่น "มังคุด" ทั้งที่แทบไม่เฉียดเข้าไทย ? อัปเดตล่าสุด 18 กันยายน 2561 เวลา 11:13:56 108,129 อ่าน
TOP