x close

ดูโพลอย่างไรไม่ถูกหลอก

          Poll เลือกตั้ง ฮิต ข่าว แนะดู โพล อย่างไรไม่ถูกหลอก เนื่องจากก่อน การเลือกตั้ง มีการทำ Poll กันมากและจากสถาบัน ซึ่ง โพล บางที่ก็เชื่อได้ แต่บางที่ก็ไม่ต่างกับการโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงประชาชน เราจึงหยิบเอาวิธีดู โพล อย่างไรมาให้ดูกัน เพื่อนำไปพิจารณา Poll ก่อน การเลือกตั้ง

   

โพล

       หน้าเลือกตั้งมีการทำโพลกันมาก ทั้งจากสถาบันทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ และอื่นๆ

          หากแต่ละหน่วยงานทำโพลแล้วเก็บไว้ดูเองเฉยๆ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการเผยแพร่ผลโพลสู่สาธารณะ หน่วยงานที่เผยแพร่จะต้องดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ โดยต้องดำเนินการทำโพลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

          หากผู้ทำโพลดำเนินการสำรวจแบบไร้หลักการแล้วเผยแพร่ออกมาก็ไม่ต่างกับการโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงประชาชน ซึ่งโพลลักษณะนี้ก็เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้วในหนังสือพิมพ์บางฉบับ

          ลักษณะโพลที่ทำการสำรวจอย่างไร้หลักทางวิชาการ เช่น การทำโพลทางอินเตอร์เน็ต การทำโพลทางวิทยุ การทำโพลทางโทรศัพท์ และการทำโพลโดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นต้น การทำโพลในลักษณะเหล่านี้ไม่สามารถนำมาสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไปสอบถามความคิดเห็นเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด หรือในกรณีนี้คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

          ใครก็ตามที่ทำโพลในลักษณะนี้แล้วนำมาเผยแพร่ โดยไม่บอกแหล่งที่มาหรือวิธีการทำให้ชัดเจน หรือแอบอ้างว่าเป็นความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด หากมองในแง่ดีคือ เป็นผู้ที่ไร้เดียงสาทางวิชาการ แต่หากมองในแง่ร้ายคือ พวกเขามีเป้าหมายที่จะสร้างกระแสหลอกลวงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้ในหลักวิชาการทำโพลซึ่งมีเป็นจำนวนมากในสังคมไทย

          สำหรับวิธีการตรวจสอบการทำโพลแบบง่ายๆ ซึ่งทุกคนน่าจะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าโพลใดน่าเชื่อถือ และโพลใดไม่น่าเชื่อถือ มีดังนี้

           1. จำนวนกลุ่มตัวอย่าง หากใช้ในการอธิบายภาพรวมของประเทศ และเขตเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้ง 8 เขต เช่น อธิบายว่าภาพรวมของประเทศใครมีคะแนนนิยมร้อยละเท่าไร หรือเขต 1 ถึงเขต 8 แต่ละเขตพรรคใดมีคะแนนนิยมร้อยละเท่าไร ตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจควรมีอย่างน้อย เขตละ 400 คน เพราะฉะนั้นหากจะอธิบายเป็นภาพรวมของประเทศก็ควรมีจำนวนตัวอย่างอย่างน้อย 3,200 ตัวอย่าง

           2. ในการนำเสนอผลการสำรวจ ผู้สำรวจต้องนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางประชากร เช่น เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่อาศัย และการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างด้วย โพลใดไม่นำเสนอข้อมูลในส่วนนี้เป็นโพลที่ไม่น่าเชื่อถือ

           3. ลักษณะข้อมูลด้านประชากรจะต้องมีความใกล้เคียงกับข้อมูลประชากรที่เป็นจริง ดังตัวอย่าง 

           3.1 เพศ โพลที่น่าเชื่อถือจะต้องมีสัดส่วนของเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะประชากรจริงของประเทศไทยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยสัดส่วนของเพศชายควรมีประมาณ ร้อยละ 40

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ดูโพลอย่างไรไม่ถูกหลอก โพสต์เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2550 เวลา 00:00:00 1,823 อ่าน
TOP