x close

แต่งตั้ง คณะกรรมการภาคประชาชน ระดับชาติ

ปปง.



            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ (๓) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีไว้ กล่าวคือ รัฐจะต้องจัดระบบงานราชการให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน โดยมุ่งสร้างประโยชน์ให้ประชาชนแทนการรักษากฎ  ระเบียบที่ล้าสมัย  โดยจะต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สั้น โปร่งใสและให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว รวมถึงการขยายโอกาสของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อร่วมกับภาครัฐในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาของส่วนรวม

            นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังได้ส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ  มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย  การตัดสินใจทางการเมืองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ  ประกอบกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ( สำนักงาน ปปง. ) มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการตามมาตรา ๔๐(๕) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีหน้าที่จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้  ให้การศึกษา  ช่วยเหลือสนับสนุนฝึกอบรมในด้านที่เกี่ยวข้องให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน  

            สำนักงาน ปปง. ซึ่งตระหนักถึงแนวนโยบายของรัฐจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และยุทธศาสตร์การส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นยุทธศาสตร์หลักในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒ โดยมี เป้าหมายที่จะแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อสกัดกั้นมิให้นำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดไปใช้ประโยชน์ได้อีก  อันเป็นการยับยั้งการกระทำความผิดได้ทางหนึ่ง รวมถึงการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะหรือแนวนโยบาย ร่วมปฏิบัติหรือร่วมทำงานกับ

            สำนักงานปปง. รวมถึงร่วมตรวจสอบการทำงานของสำนักงาน ปปง. ในการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อีกทั้งการร่วมรับผลประโยชน์ตามสิทธิที่พึงได้ตามระเบียบและกฎหมาย ดังนั้น  เพื่อให้การดำเนินการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงการให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมตามแนวยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ปปง. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง ตามแนวทางรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ (๓) ประกอบพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๖ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาชนระดับชาติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

            ก.คณะกรรมการ ประกอบด้วย

(๑)  ผู้แทนภาคเอกชนและนักวิชาการ

๑. นายวิทวัส  บุญญสถิตย์  ผู้แทนภาคเอกชน
๒. นายอชิตศักดิ์  บรรจงโพธิ์กลาง ผู้แทนภาคเอกชน
๓. นายสกล  เขมะพรรค   ผู้แทนภาคเอกชน
๔. นายรักษ์  เพียรเสถียรกุล  ผู้แทนภาคเอกชน
๕. นายตระการ  ตันสุวรรณ  ผู้แทนภาคเอกชน
๖. นายเกียรติ  เตชะพงศ์ธาดา  ผู้แทนภาคเอกชน
๗. นายกนก  สมภพรุ่งโรจน์  ผู้แทนภาคเอกชน
๘. นายจิตติ  ตั้งสิทธิ์ภักดี   ผู้แทนภาคเอกชน
๙. นายพิชญา  พิสุทธิกุล   ผู้แทนภาคเอกชน
๑๐. นายวิทูร  เผดิมปราชญ์  ผู้แทนภาคเอกชน
๑๑. นายเทวา  มะหะสิทธิ์   ผู้แทนภาคเอกชน
๑๒. นายธนายุส  นาคเพ็ชร์  ผู้แทนภาคเอกชน
๑๓. นายบุญยงค์  ยงเจริญรัฐ  ผู้แทนภาคเอกชน
๑๔. นายวิญญู  ศิริยากร   ผู้แทนภาคเอกชน
๑๕. ดร.จิรพันธ์  แดงเดช   นักวิชาการ

(๒) ผู้แทนสมัชชาเด็กและเยาวชน และเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน

๑. นายโสภณ  รัตนา   ผู้แทนสมัชชาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๒. นางทองคำ  ชัยชาญ   ผู้แทนสมัชชาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓. นางสาวสิรินนา  เพชรรัตน์  ผู้แทนสมัชชาภาคใต้ตอนบน
๔. นายสอน  ขำปลอด   ผู้แทนสมัชชาภาคเหนือตอนล่าง
๕. นายเสน่ห์  มั่นทับ   ผู้แทนสมัชชาภาคเหนือตอนล่าง
๖. นายประมวล  โกวิทชัยวิวัฒน์  ผู้แทนสมัชชาภาคเหนือตอนบน
๗. นางสาวนิศาชล  สืบแจ้  ผู้แทนสมัชชาภาคเหนือตอนบน
๘. ว่าที่ร้อยตรีเอกชัย  ทิพย์ภักดี  ผู้แทนสมัชชาภาคกลาง
๙. นายวีระ  สมความคิด   ผู้แทนเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน
๑๐. นายวฤทธ์  ชินสาย   ผู้แทนเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน

(๓) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร

๑. นางเรณู  ทองคำสุก   ผู้แทนกรุงเทพมหานคร
๒. นางสาววันเพ็ญ  วันทนาศิริ  ผู้แทนกรุงเทพมหานคร
๓. นายสมยศ  พงศ์ปาลวัฒน์  ผู้แทนกรุงเทพมหานคร
๔. นายปกรณ์  ภูนนท์   ผู้แทนกรุงเทพมหานคร

(๔) ผู้แทนจังหวัด

๑. นายโอวาท  อุกฤษณ์   ผู้แทนจังหวัดกระบี่
๒. ร้อยตรีณรงค์  แสงสุริยงค์  ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรี
๓. นายสิทธิศักดิ์  ยนต์ตระกูล  ผู้แทนจังหวัดกาฬสินธุ์
๔. นายกฤช  อาทิตย์แก้ว   ผู้แทนจังหวัดกำแพงเพชร
๕. นางพรรณวดี  ตันติศิรินทร์  ผู้แทนจังหวัดขอนแก่น
๖. นายสิทธิศักดิ์  ลัคนทิน   ผู้แทนจังหวัดจันทบุรี
๗. นายโอกาส  เตพละกุล   ผู้แทนจังหวัดฉะเชิงเทรา
๘. นายประเทือง  แสงเพลิง  ผู้แทนจังหวัดชลบุรี
๙. นายสุขสันต์  มลิทอง   ผู้แทนจังหวัดชัยนาท
๑๐. นายประเสริฐ  ธงภักดิ์  ผู้แทนจังหวัดชัยภูมิ
๑๑. นายศิริ  รุ่งแก้ว   ผู้แทนจังหวัดชุมพร
๑๒. นายพัฒนา  สิทธิสมบัติ  ผู้แทนจังหวัดเชียงราย
๑๓. นายวิทยา  ประสงค์ทรัพย์  ผู้แทนจังหวัดเชียงใหม่
๑๔. นายกาจ  หยงสตาร์   ผู้แทนจังหวัดตรัง
๑๕. นายประดิษฐ์  ดวงนภา  ผู้แทนจังหวัดตราด
๑๖. นายชวรัฐ  กัลยาณมิตร  ผู้แทนจังหวัดตาก
๑๗. สิบเอกสงัด  สุขสมทิพย์  ผู้แทนจังหวัดนครนายก
๑๘. นายวิทยา  แก้วไทรหงวน  ผู้แทนจังหวัดนครปฐม
๑๙. นายนิรันดร์  ยิ่งอรุณธรรม  ผู้แทนจังหวัดนครพนม
๒๐. นายวีระศักดิ์  บุญเพลิง  ผู้แทนจังหวัดนครราชสีมา
๒๑. พันโทมนต์ชัย  ปาลิมีชัย  ผู้แทนจังหวัดนครศรีธรรมราช
๒๒. นายจิระวิทย์  ศุภนันทกานต์  ผู้แทนจังหวัดนครสวรรค์
๒๓. นายวัชร  วจีไกรลาศ   ผู้แทนจังหวัดนนทบุรี
๒๔. นายอิทธิพล  ศิริยกุล   ผู้แทนจังหวัดนราธิวาส
๒๕. นายแพทย์ชาตรี  เจริญศิริ  ผู้แทนจังหวัดน่าน
๒๖. นายกังวาน  วงศ์วัฒนโสภณ  ผู้แทนจังหวัดบุรีรัมย์
๒๗. นายอุดม  ธรรมเจริญ  ผู้แทนจังหวัดปัตตานี
๒๘. นางวิไลลักษณ์  เลขาขำ  ผู้แทนจังหวัดปทุมธานี
๒๙. นายพงษ์ศักดิ์  ลิมปิวรรณ  ผู้แทนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๓๐. นายชาญ  อึ๊งโพธิ์   ผู้แทนจังหวัดปราจีนบุรี
๓๑. นายปัญญา  น้ำเพชร   ผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๓๒. นายประพันธ์  เทียนวิหาร  ผู้แทนจังหวัดพะเยา
๓๓. นายประเสริฐ  กวดกิจการ  ผู้แทนจังหวัดพังงา
๓๔. นายแก้ว  สังข์ชู   ผู้แทนจังหวัดพัทลุง
๓๕. นายโสภณ  มโนวชิรสรรค์  ผู้แทนจังหวัดพิจิตร
๓๖. นายสิงห์  พงษ์สุทธิ์   ผู้แทนจังหวัดพิษณุโลก
๓๗. นายภักพล  รบแคล้ว   ผู้แทนจังหวัดเพชรบุรี
๓๘. นายสุรพงษ์  พรมเท้า  ผู้แทนจังหวัดเพชรบูรณ์
๓๙. นายสุวิทย์  วงศ์วรกุล   ผู้แทนจังหวัดแพร่
๔๐. นายสมบัติ  อติเศรษฐ์  ผู้แทนจังหวัดภูเก็ต
๔๑. นายสายเดิร  บุญตรา   ผู้แทนจังหวัดมหาสารคาม
๔๒. นายคำสิงห์  ทองขอน  ผู้แทนจังหวัดมุกดาหาร
๔๓. นายประเวช  คำสวัสดิ์  ผู้แทนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
๔๔. นายโกศล  สิทธาพานิช  ผู้แทนจังหวัดยโสธร
๔๕. นายกิตติ  กิตติโชควัฒนา  ผู้แทนจังหวัดยะลา
๔๖. นายมงคล  ตั้งภักดี   ผู้แทนจังหวัดร้อยเอ็ด
๔๗. นายเวช  กี่หมัน   ผู้แทนจังหวัดระนอง
๔๘. นายศุภศักดิ์  ผุดผ่อง   ผู้แทนจังหวัดระยอง
๔๙. นายสมนึก  นาคะศักดิ์เสวี  ผู้แทนจังหวัดราชบุรี
๕๐. นายกิตติศักดิ์  ศุภพงษ์  ผู้แทนจังหวัดลพบุรี
๕๑. นายสนั่น  อินต๊ะขัติย์   ผู้แทนจังหวัดลำปาง
๕๒. นายณัฐจักร์  รชตะไพโรจน์  ผู้แทนจังหวัดลำพูน
๕๓. นายประพนธ์  พลอยพุ่ม  ผู้แทนจังหวัดเลย
๕๔. นายวนิชย์  ฤทธิ์เดช   ผู้แทนจังหวัดศรีสะเกษ
๕๕. พันเอกประกอบ  ทรัพย์แสนยากร ผู้แทนจังหวัดสกลนคร
๕๖. นายสุวิช  รัตนะรัต   ผู้แทนจังหวัดสงขลา
๕๗. นางเกศณี  กาญจนคีรีธำรง  ผู้แทนจังหวัดสตูล
๕๘. นายสมพงษ์  สิงห์สมบุญ  ผู้แทนจังหวัดสมุทรปราการ
๕๙. นายวินัย  รุ่งฤทธิเดช   ผู้แทนจังหวัดสมุทรสงคราม
๖๐. นายปรีชา  ศิริแสงอารำพี  ผู้แทนจังหวัดสมุทรสาคร
๖๑. นางสาวอรนุช  ไวนุสิทธิ์  ผู้แทนจังหวัดสระแก้ว
๖๒. นายไพบูลย์  ศรีสุข   ผู้แทนจังหวัดสระบุรี
๖๓. นายไชยวัฒน์  วีระสมบัติ  ผู้แทนจังหวัดสิงห์บุรี
๖๔. นายนิวัธน์  เสตะสวัสดิพงษ์  ผู้แทนจังหวัดสุโขทัย
๖๕. นายวิบูลย์  จันทร์ฉาย  ผู้แทนจังหวัดสุพรรณบุรี
๖๖. นายเรืองศิลป์  จันทร์หุ่น  ผู้แทนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๖๗. นายเอียด  ดีพูน   ผู้แทนจังหวัดสุรินทร์
๖๘. ว่าที่ร้อยตรีสมัย  ณ หนองคาย  ผู้แทนจังหวัดหนองคาย
๖๙. นายไพสิษฐ์  สุภา   ผู้แทนจังหวัดหนองบัวลำภู
๗๐. นายปรีชา  หอมหวล   ผู้แทนจังหวัดอ่างทอง
๗๑. นายสว่าง  มุสิกะสาร   ผู้แทนจังหวัดอำนาจเจริญ
๗๒. นายภาคภูมิ  ปุผมาศ   ผู้แทนจังหวัดอุดรธานี
๗๓. นายเฉลิมพล  เพียรสุภาพ  ผู้แทนจังหวัดอุตรดิตถ์
๗๔. นายจงกล  แจ้งจิต   ผู้แทนจังหวัดอุทัยธานี
๗๕. นางวิสุทธิ์  ศรีสุระพล  ผู้แทนจังหวัดอุบลราชธานี

            ข. อำนาจหน้าที่

๑. สร้างความร่วมมือทางสังคมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๒. ให้คำแนะนำและประชาสัมพันธ์แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  รวมถึงการบริหารหรือการปฏิบัติงานของสำนักงาน ปปง. ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
๓. ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะการกำหนดนโยบายในการพัฒนาและการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๕. กระตุ้นและผลักดันให้เกิดความหลากหลายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๖. ติดตามผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน ปปง. ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
๗. กำหนดแนวทางการทำงานของคณะกรรมการภาคประชาชนระดับชาติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

            ค. การอำนวยการจัดกิจกรรมและประสานงาน

            ให้สำนักงาน ปปง. มีหน้าที่อำนวยการ บริหารจัดการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริหารงบประมาณในการดำเนินงานของคณะกรรมการทั้งนี้  ให้มีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกินสองปี  ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึงวันที่  
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒



           สั่ง ณ วันที่       ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐


                ( นายชาญชัย  ลิขิตจิตถะ )
             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
แต่งตั้ง คณะกรรมการภาคประชาชน ระดับชาติ โพสต์เมื่อ 14 ธันวาคม 2550 เวลา 00:00:00 5,630 อ่าน
TOP