x close

คำต่อคำ ถอดเทปสนทนาประสาสมัคร 24 ก.พ. 2551

สมัคร สุนทรเวช

           วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 08.30-09.30 น

          สวัสดีครับ ผมสมัคร สุนทรเวช ครับ วันนี้มาพูดจาประสาสมัครเหมือนอย่างเคย เริ่มต้นอยากจะเรียนว่าอยากจะขอบพระคุณ นานๆ จะมีหนังสือพิมพ์เขาลงข่าวเขียนถึงผมในทางที่ดี ขอบพระคุณหนังสือพิมพ์มติชน คุณเสถียรพงษ์ วรรณปก ท่านเขียนถึงผม อ่านเมื่อตอนเช้านั่งมาในรถ ธรรมดาไม่ค่อยอ่าน เห็นว่ารูปกำลังไหว้พระ ขอบพระคุณจริงๆ ครับ ท่านเขียนหนังสือ ท่านมีข้อสอบถามมา 3 ข้อ ผมจะพยายามงวดหน้าผมจะพูดเกี่ยวกับงานพระพุทธศาสนาที่ท่านฝากผมไว้ ขอเรียนสั้นๆ ตรงนี้ พออ่านจบเมื่อสักครู่นี้ก็เรียนไว้แล้ว 

           ใช้เวลาอภิปรายนโยบายรัฐบาล 3 วัน

          ถัดไปอยากจะพูดถึงว่าอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร อาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นอาทิตย์ที่งานหนักหน่อย เพราะวันที่ 18, 19, 20 กุมภาพันธ์ 3 วัน ไปให้รัฐสภาตรวจสอบมาทั้งสองสภาเลย ตรวจสอบนโยบาย ก็สนุกเหมือนกัน 40 ชั่วโมงโดยประมาณ 3 วัน ความจริงท่านจะเห็นผมโผล่บ้าง ผมนั่งอยู่ข้างหลัง เพราะมีห้องนายกรัฐมนตรีและมีจอให้ดู เวลาที่หนังสือมาเป็นแฟ้มผมก็นั่งเซ็นข้างหลังและก็ฟังไปดูไป ได้กินข้าวข้างหลังบ้าง ถึงเวลาก็ขึ้นมานั่งบ้างเพราะให้รู้ว่าอยู่ ไปไหนไม่ได้ครับเป็นขบวน ผู้คนเขาก็รู้ว่าไป บางทีผมไป 2 คัน บอกให้ทราบว่า 3 วันอยู่ข้างใน นั่งฟังจนกระทั่งวันสุดท้ายที่ต้องออกไปงานหน่อย ที่พูดตรงนี้ให้ฟังคือว่าเรื่องทั้งหมดในสภาสุดท้ายก็จบลงเกือบตีหนึ่ง   

           มอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการ 25 ก.พ.

          เสร็จงานวันนั้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ได้พักหนึ่งวัน ก็มีงานตักบาตรในวังด้วย เรียกว่าได้พักวันหนึ่ง พอถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ก็เริ่มทำงาน ความจริงงานจะเริ่มจริงๆ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ คือพรุ่งนี้ครับ จะนัดข้าราชการระดับปลัดกระทรวงมารับฟังนโยบาย คือนโยบายเขียน เขียน แล้วก็เอาไปให้เขาตรวจสอบในสภา จากสภาตอนนี้เอามาให้ข้าราชการแปลเป็นว่าเขาจะต้องทำอะไรอย่างไร พอทำงานเสร็จวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ก็เริ่มดำเนินงานเลย   

           ความร่วมมือเศรษฐกิจระหว่างไทยและเขตคันไซ

          แต่ก่อนวันที่ 25 กุมภาพันธ์  มีวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ มีแขกมาเยี่ยม 2 คณะ ทีแรกก็ไม่ได้ดูอะไรอื่น ตั้งใจไว้เลยว่าคณะไหนจะแบ่งปันก้นไป รองนายกรัฐมนตรี 6 คน ให้ท่านแบ่งกันรับบ้างคณะนั้น คณะนี้มาจากญี่ปุ่นเรียกว่า เขตเศรษฐกิจคันไซ (นายฮิโระชิ ชิโมะสุมะ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจเขตคันไซ) เขามีคันโตกับคันไซ มี 9 จังหวัดญี่ปุ่น ยกกันมา 16 คน พอดูว่าเขาก็มีหมายเหตุมาว่าเป็นคณะแรกที่มาฟังความในเรื่องธุรกิจการค้า ผมบอกอย่างนั้นผมก็รับเอง ก็ไปรับเขาได้คุยกันชั่วโมงหนึ่ง เลยได้ทราบว่าเขาคิดกับเราอย่างไร เขาตั้งใจมาดี สนามบินคันไซที่เราได้ยิน เมืองโอซากา เมืองเกียวโต ก็อยู่ย่านนี้ 9 จังหวัด เป็นการแสดงเครื่องหมายที่ดีว่าพอมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วธุรกิจการค้าก็กลับมาเหมือนเดิม ตอนผมปราศรัยผมก็บอกว่า สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หันหลัง จีนหันข้าง ญี่ปุ่นหันข้าง ตอนนี้ญี่ปุ่นหันหน้าแล้ว ยกคณะมาเลย ก็รับ  

           คองเกรสแมนจากสหรัฐฯ มาพบ

          เสร็จแล้วก็มีคณะเล็กๆ เขาเรียกว่า "คองเกรสแมน" (Congressman) จากสหรัฐอเมริกา ขอมาสนทนา ธรรมดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ ก็อาจจะฝากรัฐมนตรีต่างประเทศคุย พออ่านดูเขาก็มีหมายเหตุอีกว่าเป็นคณะแรกที่มาจากพรรค Democrat 4 คน พรรค Republican 2 คน เขาเป็นคณะกรรมาธิการ เขาจะมาฟังความว่าบรรยากาศในประเทศไทยเกี่ยวกับการเมืองหลังจากการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ ต้องขอเจรจาความเองอีก คือหมายความว่ารับแขกเอง

          คุยกัน 11.30 น. เลิกคุยอีก 5 นาทีบ่ายโมง ผมก็คุยแล้วไม่ได้ดูนาฬิกา คุยไปเรื่องสบายๆ มา 6 คนก็มี 6 ความเห็น 6 คำถาม นั่งคุยและพยายามตอบทุกคำถาม คือเราคุยให้เขาฟังครึ่งทาง และเหมือนตอบคำถามกลายๆ ก็ได้ประโยชน์ครับ เขาก็อยากฟังความของเรา เราก็บอกว่าเราเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ต่อไปอีก เราก็คุยกับเขาอธิบายความ ทั้งหมดอยู่ในขอบเขตนะครับ เที่ยวไปลงข่าวกันว่าฝรั่งประหลาดใจว่าสมัครคุยแต่เรื่อง 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีหรอกครับเรื่องอย่างนั้น ทำไมถึงต้องเขียนกันอย่างนั้นก็ไม่ทราบได้ ผมก็ทำหน้าที่ของผม พอเสร็จเรียบร้อยแล้วก็คุยกับเขาเป็นที่เข้าใจกัน 

           นายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการ 5 คณะดูแลโครงการใหญ่

          วันพรุ่งนี้ (25 ก.พ.) ก็จะประชุมข้าราชการตามที่ลำดับความไว้ว่าเราจะดำเนินการอย่างไร เขาเตรียมการว่าผมจะต้องพูดกับข้าราชการ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อผมมีโอกาสพูดกับท่านที่เป็นเจ้าของประเทศทั้งหลาย ผมก็ควรจะบอกว่าและผมจะทำอย่างไรเรื่องนี้ จะบอกเลยว่าโครงการที่ใหญ่ๆ 5 โครงการ คือ โครงการขนส่งมวลชนในเมืองหลวง โครงการรถไฟทั่วประเทศ โครงการเรื่องน้ำ โครงการเรื่องเศรษฐกิจ การแพทย์ มี 5 โครงการใหญ่ จะตั้งใจดำเนินการคือว่าทำเป็นคณะกรรมการ 5 คณะ นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานทั้ง 5 คณะ เพื่อจะไม่ได้ปล่อยให้รัฐมนตรีไปดำเนินการโดดเดี่ยว เรื่องที่จะลงมือทำภายใน 1 ปีนี้ ลงมือเลยครับ การลงมือคือทุกเรื่องเขาจะได้มีคณะกรรมการ และจะตามไปดู มีการประชุม และเรื่องที่จะส่งลงไปดูก็มีเรื่องความเป็นไปได้เรื่องปฏิบัติการเป็นอย่างไร คือเริ่มลงมือทำงานเลย เรื่องขนส่งมวลชนก็จะเดินหน้าไป จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราก็เดินหน้าไปถึงการประมูล

          ญี่ปุ่นมาเขาบอกว่าท่านทูตขอคุยกับผมก่อน ท่านทูตบอกเลยว่าเรื่องอะไรต่างๆ เงินกู้ที่คั่งค้าง ดอกเบี้ยร้อยละ 1.4 เป็นความปรารถนาดี ผมนึกถึงที่ผมเคยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เขาถามว่าเลือกตั้งมาแล้วต่อไปจะเป็นอย่างไร ผมบอกว่าบ้านเมืองก็กลับมาสู่สภาพเดิม ผมบอกให้กลับสู่สภาพเดิมก็เริ่มออกเดินทางได้แล้ว มาเรียนให้ทราบไว้ว่าบัดนี้กลับสู่สภาพเดิม เขามาจัดการมาติดต่อมาทำการค้าขาย มีการลงทุน ก็ทยอยกันมาเรื่อย บอกให้ท่านทราบไว้ว่าถึงเวลาจะได้ทำงานแล้ว กรรมวิธียืดเยื้อเยิ่นเย้อ เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 กว่าจะเข้ามาสภาได้ 22 มกราคม 2551 กว่าจะเสร็จได้ถวายสัตย์ปฏิญาณ 6 กุมภาพันธ์ มาถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ถึงจะเอานโยบายเข้าสภา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ แขกบ้านแขกเมืองมากันแล้วมาเจรจาความ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ก็ไปถึงข้าราชการ หลังจากนั้นแล้วพวกผมก็ลงมือทำงาน ก็เรียนให้ทราบเป็นระยะๆ รายการอย่างนี้มีประโยชน์ตรงนี้ครับ ที่มาลำดับความให้ฟังไว้ 

           รัฐบาลยังดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติด

          ทีนี้มีอะไรไหมที่อาทิตย์ที่แล้วพูดจากันแล้วไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจกัน บางอย่างผมก็ไม่อยากจะพูดเขาตัดประเด็น ถ้าพูดก็ไปพูดกันในสภา ไม่มีปัญหา มีสิทธิที่จะสอบถาม ผมจะตอบให้ แต่เรื่องที่จะต้องสนทนากันคือบางครั้งบางคราวเวลาที่ให้สัมภาษณ์ธรรมดา เขาตอบเขาถาม คนที่นั่งดูเขาบอกเลยครับ คุณสมัครเอาอีกแล้วไปตอบโต้ไปชี้แจง ผมก็บอกว่าโดยสัญชาตญาณของผม คือจะพูดจาถามไปถามมา ผมจะพูดเป็นครั้งสุดท้ายกับท่านผู้ชมที่นั่งอยู่ทั้งหมด คำที่บอกว่านโยบายฆ่าตัดตอน ประหลาดไหมครับ ใช้คำว่านโยบายฆ่าตัดตอนซึ่งจะพูดกันยาวๆ แบบนินทากัน นโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด แล้วผลจากการปราบปรามนั้น เหตุที่แล้วมานั้นมีการกล่าวหากันว่ารัฐบาลนั้นไปฆ่าตัดตอนผู้คน 2,500 คน ผมถามจริงๆ  ตามสำนวนผมว่าแล้วเป็นไปได้อย่างไร ก็ตรวจสอบไปแล้ว ตำรวจบอกว่ามีที่เขาเรียกว่าวิสามัญฆาตกรรม คือตำรวจไปจับไปยิงแล้วต่อสู้กัน ฆ่ากันตาย 59 ราย ซึ่งทุกรายตำรวจต้องขึ้นศาล นอกเหนือไปกว่านั้น ก็พยายามอธิบายให้ฟังเลยบอกว่าเขาค้ากัน เราตรวจสอบ เราให้ยกนิรโทษกรรมให้คน 6 แสนคน พวกค้าเม็ดสองเม็ด อะไรต่างๆ ก็เอาตัวมาแล้วก็สอบย้อนขึ้นไป พอสอบขึ้นไปใกล้ถึงตัวการก็ฆ่าตัดตอนกัน คำนี้แหละครับขอทำความเข้าใจ พูดอย่างไร  

          ผมก็ไม่อยากจะไปตำหนิสื่อสารมวลชน แต่ไปๆ มาๆ คำว่า "ฆ่าตัดตอน" นั้น กลายเป็นนโยบายซึ่งผมต้องย้อนถามเวลาที่เขาพูดกัน ผมถามว่าทำไมถึงได้เดือดร้อนแทนพวกค้ายาเสพติดกันนัก ก็บอกว่าผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่า ผมบอกว่าผู้บริสุทธิ์จะถูกฆ่าได้อย่างไร ถ้าเผื่อตำรวจวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจก็ต้องขึ้นศาล และถ้าเขาไปตัดตอนฆ่ากันเอง เราจะต้องไปรับผิดชอบ แล้วจะมาอ้างอย่างนั้นอย่างนี้จะทำอย่างไร ใครจะฆ่าใครก็มีกฎหมาย ทุกอย่างทุกคนแม้จะฆ่ากันเองก็ต้องมีกฎหมายเข้าไปถึง ต้องเข้าใจแบบนี้นะครับ มาถามตาย 5,000 เป็นอย่างไร ถ้าถามแบบนี้ก็บอกว่าทำไมจะฆ่าตัดตอนกัน 5,000 ต้องเป็นเรื่องของพวกฆ่าตัดตอน กลายเป็นว่าเอาอีกแล้ว สมัยนายกรัฐมนตรีคนก่อนฆ่าไป 2,500 นายกรัฐมนตรีคนนี้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยจะฆ่า 5,000 ไปกันใหญ่เลย แบบไม่เข้าเรื่องเข้าราวเลย แล้วถามว่าตกลงจะเป็นคนดีไม่ให้มีเรื่องอย่างนี้ก็ไม่ต้องทำนโยบายปราบยาเสพติด ไม่ได้หรอกครับต้องทำ และมาทำแล้วก็จะเกิดอย่างนี้  

          คำที่ผมพูดไป กลายเป็นว่าออกไปรายงานข่าวแล้วเหมือนผมเป็นคนร้าย เป็นคนใจร้าย เป็นคนอะไรต่างๆ ผมบอกนโยบายดำเนินการเหมือนเดิมทุกอย่างครบถ้วนหมด ถ้าเผื่อตำรวจไปวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจต้องรับผิดชอบขึ้นศาล นอกเหนือไปกว่านั้นถ้าเขาไปฆ่ากันเองแล้วเราจะทำอย่างไร คำนี้แหละครับสื่อสารมวลชนไม่ยอมเข้าใจ อะไรๆ ก็ฆ่าตัดตอนเดี๋ยวนี้ใช้ว่าอย่างไร นโยบายฆ่าตัดตอนได้อย่างไรครับนโยบายฆ่าตัดตอน ผมต้องพูดกับท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของประเทศ เรามีนโยบายต้องปราบปรามยาเสพติด ลูกหลานท่านทั้งหลายจะได้ไม่ต้องโดนเกือบ 2 ปี ยาเสพติดเข้ามาอีกก็กลับให้อยู่ที่เดิม 

          เท่านั้นแหละครับท่านผู้เป็นเจ้าของประเทศทั้งหลาย ท่านต้องช่วยกันเข้าใจด้วย คำว่าปราบแล้วถ้าเผื่อตำรวจเอาไล่จับกัน ต่อสู้กัน อย่างนี้วิสามัญฆาตกรรม ตำรวจต้องรับผิดชอบ ต้องไปขึ้นศาล เรามีหมายครบถ้วน แต่เมื่อสอบไปจะหาถึงตัวใหญ่ เขาก็เกิดตัดตอนกันเอง อย่างนี้ผมเข้าใจว่าท่านประชาชนทั้งประเทศคงจะเข้าใจความหมายนี้ว่า ถ้าเขาไปฆ่ากันเองแล้วนโยบายนี้จะต้องยุติหรืออย่างไร ชอบพูดกันไปถึงสหประชาชาติ ไปอ้างอิงต่างๆ คนที่อยู่ไกลทางโน้นก็ไม่ฟังอะไร มันเป็นไปได้ไหม เหมือนกับว่าเราสั่งให้ตำรวจเอาปืนไปไล่ยิงๆ แล้วบอกว่าเดือนนั้นต้องได้เท่านั้น ไม่มีครับ นโยบายคราวนี้ไม่มีว่าเดือนนั้นต้องฆ่าเท่านั้นเท่านี้ ไม่มีหรอกครับ และไม่ได้ไปสั่งให้ฆ่าด้วย ถามว่าถ้าเขาไล่จับกันอยู่ ยาเสพติดอยู่ในรถ เขาวิ่งไล่กันไป ทางโน้นยิงมาทางนี้ยิงไป แล้วก็เกิดคดีการตายกันขึ้นมา อย่างนี้ตำรวจต้องไปขึ้นศาล ศาลต้องพิจารณา ถ้าเขาไปตัดตอนกันเองแล้วเราต้องรับผิดชอบ   

          ผมย้ำนะครับเหมือนกับพูดวนไปวนมาในอ่าง แต่ต้องพูด พอพูดก็บอกว่าเอาอีกแล้ว สมัครพูดจารุนแรงอีกแล้ว ตอบโต้ ผมจะพยายามที่แนะนำมาขอบคุณครับ เพราะเวลามานั่งดูโทรทัศน์แล้วคนนั้นถามคนนี้ถาม ฟังแล้วผมต้องใช้คำว่าถามโดยไม่มีเหตุผล ผมก็พยายามไปตอบ เขาบอกว่าที่ตอบอย่างนั้นแสดงว่าเราเหมือนคนร้าย ดูสิครับ ถ้าไม่ปรับทุกข์กับท่านวันนี้ จะปรับทุกข์กับใครที่ไหน เอาเท่านี้ครับ เป็นที่เข้าใจกัน เมื่อไรใครใช้คำว่านโยบายฆ่าตัดตอน ขอให้ท่านผู้ชมทั้งหลายได้โปรดเข้าใจด้วยว่า เขาใช้สำนวนผิด เขาใช้สำนวนเหมือนกับว่าไม่ต้องการให้มีนโยบายปราบปรามยาเสพติดอีกต่อไป เพราะต้องการให้เข้าใจผิด และชวนให้คนในโลกนี้เข้าใจผิดด้วย 

           สนับสนุนปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาเพิ่มผลผลิตข้าว

          ถัดไปมีเรื่องอะไรที่จะคุยให้ฟังสำหรับคราวนี้ ก็มีปัญหาว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายวุฒิพงศ์  ฉายแสง) ท่านเรียนกฎหมาย บอกว่าคุณพ่อบังคับให้เรียน แต่ตัวท่านๆ ชอบวิทยาศาสตร์แล้วก็สนใจ เมื่อเลือกกันแล้วเขาจะทำงานนี้ และท่านยังชอบต้นไม้และศึกษาเรื่องต้นไม้ พอรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ฯ บอกว่าจะปลูกต้นยูคาลิปตัสบนคันนาเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ เพื่อช่วยเศรษฐกิจ ท่านก็คิดอย่างนี้ คนที่พูดอย่างนี้ต้องรู้ในสิ่งที่เขาพูด ออกข่าวกันใหญ่เป็นทำนองเหมือนว่าเอาอีกแล้วรัฐมนตรีไม่รู้หรือว่ายูคาลิปตัสกินดินดูดดิน ทำดินเสียหาย ผมนึกว่าช่างพูดกันจริงมันสำปะหลังก็เป็นอย่างเดียวกัน แต่มันสำปะหลังใส่ปุ๋ย แต่ต้นไม้อย่างนี้ไม่มีใครใส่ปุ๋ยเขาดูแลกันก็สุดแท้แต่

          เมื่อเวลาฟังความรัฐมนตรีที่โดนอย่างนี้ผมก็ต้องใช้สำนวนผม ต้องแส่เข้าไปดูหน่อย บังเอิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องยูคาลิปตัสขอพบผม ขอสนทนาคุยทางโทรศัพท์ได้ไหมครับ ไม่ได้ต้องพูดเอง มาเลย ผมก็ลงมานัดสามโมงเย็นคุยเกือบสี่โมงเย็น เชี่ยวชาญจริงๆ เราก็ได้รู้เหมือนกับที่รัฐมนตรีบอกว่ายูคาลิปตัสเมื่อ 20 ปีก่อน เปลี่ยนพันธุ์ เปลี่ยนแปลงใหม่ และการค้นพบของอาจารย์ท่านนี้มีเหตุผล และท้าได้พิสูจน์ได้ ทางราชการก็รับรอง แปลว่าเขาปลูกพันธุ์ใหม่ เขาปลูกต้นยูคาลิปตัสบนคันนา พอปลูกไปปลูกมา ทีแรกคันนาก็แคบ เขาเห็นแล้วว่าปลูกแล้วข้าวในนาได้มากขึ้น ใบก็เป็นปุ๋ย ก็ค้นพบว่าเมื่อปลูกต้นไม้บนคันนานั้นรากออกไปอยู่ในผืนนา และเมื่อรากถูกไถปรากฏว่ารากต้นยูคาลิปตัสเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับต้นข้าว ไม่น่าเชื่อนะครับ ขณะเดียวกันเมื่อไปไถโดนรากมันซึ่งลงไปอยู่ในนา ท่านลองนึกถึงคันนา ต้นไม้อยู่บนคัน และรากออกไปอยู่ในนา เมื่อไถมันก็ตัดราก ตัดรากต้นก็สะดุ้ง ต้นสะดุ้งแล้วเป็นอย่างไร ต้นสะดุ้งไม่ตายหรอกครับ ยิ่งโตใหญ่ โตมากขึ้น และข้างในนาที่ถูกตัดลงไปบนคันนาก็เป็นปุ๋ย ใบร่วงมาก็เป็นปุ๋ย ข้าวได้มากขึ้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ คนเป็นรัฐมนตรีเขาเข้าใจ เขารู้พอเขาเห็นอย่างนี้เขาจึงแนะนำ  

          ผมจะให้ดูตัวเลขครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อไหมครับยูคาลิปตัสที่ปลูกกันเอามาทำกระดาษกัน เดี๋ยวจะบอกว่าเอาไปทำอะไรได้อีก ปลูกยูคาลิปตัสบนเนื้อที่ 1 ไร่ ที่ดอนๆ ธรรมดา แห้งๆ ได้ 300 ต้น 5 ปี ตัดยูคาลิปตัสได้ไม้ 2 ตัน ฟังให้ดีนะครับ 1 ไร่ปลูกได้ 300 ต้น ตัดมาแล้ว 5 ปี ได้ไม้ยูคาลิปตัส 2 ตัน ทีนี้ที่ปลูกบนคันนา ข้าวก็ปลูกได้ ต้นยูคาลิปตัสอยู่บนคันนา นา 1 ไร่ 40 เมตรคูณ 40 เมตร 1,600 ตารางเมตร ใน 40 เมตร เขาทำคันนาให้โตขึ้นนิดหนึ่ง คือคันนา 1.50 เมตร คันนาธรรมดา 50 เมตร ศอกเดียว เขาทำเป็น 3 เท่า แล้วปลูกต้นสับไปสับมาซ้ายขวา ข้างหนึ่งปลูกได้ 50 ต้น คือ 25 ต้น กับ 25 ต้น คู่กันสลับกัน 40 เมตรปลูกได้ 50 ต้น อีก 40 เมตรปลูกได้อีก 50 ต้น แปลว่าปลูกบนคันนาเป็นตัวแอล ด้านเท่ากันได้ 100 ต้น ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา 100 ต้น สองด้านเท่านั้น 5 ปี ได้ไม้ 5 ตัน ปลูก 300 ต้น เต็มที่เลยได้ 2 ตัน 5 ปี เหมือนกันแต่ปลูกเป็นตัวแอล ทางนี้ 50 ต้น ทางโน้น 50 ต้น 100 ต้น ได้ 5 ตัน

          มันเจริญเติบโตอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าแบบนี้คนเป็นรัฐมนตรีเขาไม่ตื่นเต้น เขาต้องตื่นเต้น ตอนที่เริ่มต้นใหม่เกือบ 20 ปีก่อน ตอนกล้ามาใหม่ กล้าต้นละ 3 บาทขึ้นไป 8 บาท เดี๋ยวนี้ลงมาเหลือ 4 บาทแล้ว เขาก็ปลูกกัน การที่คนเป็นรัฐมนตรีจะปรารภว่า ช่วยกันปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อจะช่วยชาติพัฒนาเศรษฐกิจ ไม้เศรษฐกิจ อย่างนี้ไม่ได้เหรอครับ ต้องได้ครับ ผมคุยวันนั้นสัมภาษณ์แล้วเขาก็ไม่สนใจเท่าไร มาเลยวันนี้ผมจะคุยให้ฟัง       

           ปลูกไม้ตะกูทำเฟอร์นิเจอร์

          ทีนี้คุยเรื่องต้นไม้ต้นนี้ต้นเดียวก็ยังมีอีกต้นหนึ่งชื่อต้นตะกู แถวนครปฐมก็มี เขาเรียกเจ้าพ่อวังตะกู ต้นตะกูเป็นไม้ประหลาดเพาะขึ้นมาจากเมล็ดเหมือนกัน ต้นไม้ขึ้นมามีใบใหญ่เหมือนใบสัก ต้นไม้คล้ายต้นสักแต่โตเร็วมาก 1 ปีสูง 7-8 เมตร และขึ้นตรงชะลูดเหมือนต้นสัก ถ้าเผื่อต้นไม้อายุ 10 ปี เอาเด็กไปโอบ 2-3 คน โอบรอบดูแล้วไม่น่าเชื่อ เขาถ่ายรูปมาด้วยครับ เขาบอกว่าเนื้อคล้ายไม้สักและมอดไม่กินเหมือนไม้สัก มีความทนทานเอาไปทำเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ ใช้แทนไม้สัก ปลูกไม้เอาเนื้อ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เรียนให้ทราบว่าเมื่อเราเข้ามามีต้นไม้ ต้นไม้นี้ออกข่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนเมื่อปีที่แล้ว 3 เดือนเท่านั้นเอง ผมก็เอามาช่วยคุยให้ เพราะอะไร ใครมีที่ ใครจะปลูก ปลูกได้ตั้งแต่เหนือจรดใต้ ปลูกได้ทุกดิน ดีและทนทาน คล้ายไม้สักแต่ราคาไม่แพง แล้วโตเร็วมาก ไม้สักต้องใช้ 30 ปี ถึงตัด 40 ปียิ่งดี นี่ 10 ปี ตัดไม้ ตัดไม้เท่ากับต้นซุง เท่ากับไม้สัก ต้น 1 ปีสูง 7-8 เมตร  

           ขอให้ภาคภูมิใจกับธุรกิจอัญมณีของไทย

          ถัดไปมีเรื่องเพชร พลอย ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) บอกมา พอท่านไปได้ตัวเลขมา สนทนาเจอผม ท่านก็จูงมือมานั่งคุยเลย เอากระดาษให้ดูน่าตื่นเต้น ปีหนึ่งค้าขายกันอย่างนี้ 180,000 กว่าล้านบาท ไม่น่าเชื่อ ปีนี้จะทำถึง 200,000 ล้าน ถามว่าบ้านเมืองเรามีวัตถุดิบจะเอามาทำอย่างนั้น ไม่มีหรอกครับ หมด แต่ว่าคนไทยเกิดมีความเก่ง เก่งในการที่ว่าเอาวัตถุดิบมาก้อนเล็กก้อนโตก้อนใหญ่จากต่างประเทศทั่วโลก ไปหาซื้อกันมาแล้วเอาเข้ามา เขาเอามาเผา อุณหภูมิการเผาเป็นความลับของประเทศไทย ของคนไทย แล้วไม่ให้ใครที่ไหน เพราะฉะนั้นตัววัตถุดิบทั้งหลายที่เป็นก้อนจะมาถูกเผาในประเทศไทย กลายเป็นว่าเราเป็นศูนย์กลางอัญมณีของโลก มีโรงเรียนอยู่แถวสีลม และเขาก็ทำกรรมวิธีกัน 

          ที่ต้องมาบอกวันนี้ไม่ได้โฆษณาสินค้า โฆษณาให้ฟังว่างานแสดงอัญมณีและเครื่องประดับจะมีวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม อยากจะเชิญชวนไปชม ไม่ต้องซื้อหรอกครับ ไปชมให้มีความตื่นเต้นว่าบ้านเมืองของเราธุรกิจอัญมณี ปีกลายปี 185,000 ล้านบาท เขามาออกร้านกัน 111 ประเทศ ออกบู้ธ 3,000 กว่าบู้ธ ต่างชาติจะมาร่วมงานนี้อย่างน้อยๆ 30,000 คน คนไทยจะไปดูเท่าไรไม่ทราบได้ เขาว่าธุรกิจการค้าที่เขาจะค้าขายกันในงวดที่เปิดงานประมาณ 25,000 ล้าน เป็นเรื่องที่เรียกว่าน่าตื่นเต้น ฝีมือของเราการจะทำอะไร เขามีโรงเรียน เจียระไนมาแล้วจะทำแบบไหน ของเราเก่งครับ  

          อย่างกับพลอยแดง ทับทิม ของเรา ถ้าไปเมืองจันทบุรีทุกวันนี้ยังมีคนรุมกันแน่นตามถนนต่างๆ เขาเอาอะไรให้ใครต่อใคร ตัวที่เขาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ กองเหมือนของไม่มีราคา แต่บัดนี้กลายเป็นของมีราคาอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะว่าแต่ก่อนนี้เขาเรียกว่าผูกขาด ถ้าใครทำแบบนั้นไม่ได้ ต่อมาเรื่องจะทำแบบที่จะเอาพลอยมาตกแต่งเครื่องประดับ เขาบอกว่าหมดการผูกขาด ถ้าท่านไปตามโรงแรมมีร้านจิวเวอรี่ต่างๆ แหวนต่างๆ  เขาเอาทับทิมมาเจียระไนเป็นเส้นๆ ชิ้นๆ แล้วเรียงปะๆ บางทีก็เอาสี่เหลี่ยมปะๆ คือเอาชิ้นเล็กมาต่อให้เป็นอันใหญ่ เป็นพืดสีแดง และเพชรสีขาว ศิลปะอันนี้แหละครับฝรั่งทำไทยก็เลียนแบบ วัสดุไทยก็ทำ ไทยก็มีฝีมือ และพวกเศษทั้งหลายที่กอบกันมาอยู่ในประเทศไทยครับ ฉะนั้นที่เรียกว่า เพชรดีมณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์ 9 อันนี้มีครบถ้วนหมดครับ  

          คุณธวัชชัย อนามพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เอามาวันนั้น ผมยังเห็นอยู่ คือไม่รู้ว่าจริงปลอมอย่างไร คุณธวัชชัยบอกว่ามูลค่า 25,000 ล้าน แต่ว่าทำไมพกไปสภาได้ก็ไม่ทราบได้ นี่แหละครับคนที่เอาใจใส่อย่างนี้จริง เขาจะเอาของจริงไปแสดง วันนั้นดูแล้วเลยไม่ทันถามรายละเอียด ธรรมดาก็คุ้นเคยกันมาก่อน อยากจะบอกแต่เพียงว่าของอย่างนี้ การทำฝีมือ การเผาอยู่ในเทคโนโลยีของคนไทย การจัดต่างๆ โรงเรียนต่างๆ เป็นความน่าภาคภูมิใจนะครับ แน่นอนกินไม่ได้หรอกครับแต่ทำเงินให้บ้านเมืองนี้ได้ เอามาบอกแล้วจะให้ใครไปซื้อไหม ไม่ใช่ครับ บอกให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่าธุรกิจอย่างนี้เป็นธุรกิจที่เป็นหน้าเป็นตาของบ้านเมือง ทำเงินเข้าบ้านเมือง ทำงาน ได้ฝีมือ ที่ไปบอกว่าต้องไปถ่ายทอดเทคโนโลยี ไทยก็เหมือนกันครับ คนไทยก็ไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ใครเหมือนกัน รู้เลยว่าต้องเผาอุณหภูมิเท่าไร เขาตกลงกันอย่างนี้ เขายอมรับสิ่งที่จัดการทำกันมาอย่างนี้ อย่างซื้อขายเพชรรัสเซียเป็นอย่างไร พลอยของเราก็ดังครับ ต้องเอามาบอกไว้ว่างๆ นะครับ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ เขาเปิดงานถึงวันที่ 3 มีนาคม ที่เมืองทองธานี  

          นี่เป็นเรื่องที่จะคุยให้ฟังวันนี้ วันนี้เขาจะถามว่าจะพูดเรื่องอะไร ผมก็กลายเป็นภาระต้องหา คืออะไรที่กระทบกระทั่งกับคณะรัฐมนตรีก็จะเอาเรื่องมาช่วยอธิบายแทนเขา คุยกับเขามา หาผู้เชี่ยวชาญและคุยให้ฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเวลาท่านรัฐมนตรีพูดอะไรออกไป สื่อสารมวลชนวิพากษ์วิจารณ์จะทำให้เข้าใจผิด ผมนี่แหละครับจะทำให้เข้าใจ ถูกหรือไม่ถูกไม่รู้นะครับ แต่ผมเข้าใจแล้วมาถ่ายทอดให้ท่านผู้ชมที่บ้านได้เข้าใจด้วย บ้านเมืองต้องการสิ่งนี้นะครับ ต้องการความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และจะทำอะไร และตรงไปตรงมาอย่างไร ต่อไปนี้ผมจะได้คุยในสิ่งที่ผมยกประเด็นไว้วันนี้ ....................... 

           เปรียบเทียบราคาพืชผักที่สูงขึ้นกว่าในอดีต

          ทีนี้จะคุยให้ฟังนิดหนึ่งว่าเมื่อ 15 ปีก่อน เมื่อเวลาที่แตงกวาออกจากสระบุรีกิโลกรัมละ 5 บาท แต่ว่าถ้าไปตลาดบางกะปิ จะกิโลกรัมละ 14 บาท แพงกว่า 9 บาท แต่ถ้ามาตลาด อ.ต.ก. เขาคัดลูกเล็กออก เขาคัดเอาลูกโตมาขาย เขาขายกิโลกรัมละ 25 บาท เห็นไหมครับ เราเป็นคนบริโภคเราต้องรู้ว่าขับรถเก๋งไปซื้อ อ.ต.ก. 25 บาท แต่ว่าถ้าขี่มอเตอร์ไซค์ไปซื้อที่ตลาดบางกะปิ ตลาดบางกะปิมี marketing เขามีความคิดอ่านในการขายที่ อ.ต.ก. ทำไม่ได้ครับ อ.ต.ก. คนซื้อซื้อเป็นกิโลกรัม ซื้อครึ่งกิโลกรัมอย่างน้อย เขาชั่งขายกันอย่างนั้น แต่ว่าทางตลาดบางกะปิเริ่มต้น ท่านฟังให้ดีครับ แตงกวา 5 บาทนั้น เขาขายอยู่บนแผง 14 บาท เหตุการณ์นี้ 10 กว่าปีแล้ว แล้วเขามีคนที่ไปขายกองข้างๆ คือบนแผงเสียค่าแผง ข้างๆ ไม่เสียค่าแผง เขาขาย 12 บาท ข้างล่างขาย 12 บาท ข้างบนขาย 14 บาท แตกต่างกัน แต่คนข้างล่างเขาทำอย่างไรรู้ไหม เขาจะมีกะละมังมีกระบะพลาสติกสำหรับไปแบ่ง คือคนจนแถวบางกะปิซื้อแตงกวาทีละกิโลกรัมไม่ได้ เขาใส่ 3 แผ่น เอากิโลกรัมมาใส่ 3 อัน โปรดดูให้ดีครับ 1 กิโลกรัมขายทั้งกิโลกรัมข้างล่าง 10 บาท แต่ไม่ได้ชั่งกิโลขายเพราะไม่มีใครซื้อ ต้องซื้อเป็นจานซื้อเป็นกระบะ ฉะนั้น 3 จานๆ ละ 5 บาท แตงกวาก็ประมาณ 3 ขีดกว่าๆ คือเอากิโลมาแบ่ง 3 ทอด เห็นไหมครับ แม่ค้าขายข้างล่าง 3 ขีดกว่าๆ ขาย 5 บาท ก็บ้านที่คนจนเขาก็ซื้อ 5 บาท ไม่ซื้อครึ่งกิโลกรัมด้วย แต่ว่าซื้อ 5 บาท แม่ค้าขาย 3 จานก็ได้ 15 บาท ข้างบนขายทั้งกิโลได้ 14 บาท ข้างล่างทั้งกิโลถ้าใครซื้อเขาขาย 10 บาทเท่านั้น เพราะต้นทุนมา 5 บาท มา อ.ต.ก. เขาคัดเอาลูกเล็กออก เขาจะขายแต่ลูกโตๆ เขาขาย 25 บาท เรื่องอย่างนี้ก็ต้องแล้วแต่สถานที่ เพราะ อ.ต.ก. เขาคัด แพงกว่าของธรรมดา นี่เล่าเรื่องก่อนๆ ให้ฟัง 

          เล่าให้ฟังอีกนิดครับเพราะว่าไปเจอความมหัศจรรย์ของการเปลี่ยนแปลงเมื่อวานนี้ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน 15 ปีก่อน มะเขือพวงทั้งถุงจำเป็นสำหรับคนตำน้ำพริก ไม่มีมะเขือพวงไม่สนุก มะเขือพวงถุงหนึ่งแต่ก่อนนี้ 60 บาท 10 กิโลกรัม มะเขือพวงถุง 10 กิโลกรัม 60 บาท เวลานั้น 60 บาท ถ้าเข้ามาในเมืองแล้วคนซื้อมะเขือพวงจะไม่มีใครซื้อมะเขือพวงกิโลหรือครึ่งกิโล ไม่มี นอกจากพวกที่ทำแกงขาย ทางบ้านจะซื้อเฉพาะตำน้ำพริกหรือจะซื้อเฉพาะใส่แกง จะซื้อมะเขือพวง 10 บาท เขาก็หยิบมาขยุ้ม 10 บาท เขาซื้อเท่านั้น ขณะที่มะเขือพวงกิโลกรัมละ 6 บาท แม่ค้าจะเอามะเขือพวง 1 กิโลกรัม มาขายขยุ้มละ 10 บาทๆ จะขายได้ 10 หน ขายได้ 100 บาท ขายปลีกต้นทุน 6 บาท เพราะทั้งถุงนี้ 60 บาท มี 10 กิโลกรัม เรื่องนั้นผมใช้ข้อมูล 

          ที่เล่าให้ฟังเพราะว่าเป็นเรื่องตื่นเต้นสำหรับผมเองด้วย 10 กว่าปีก่อนเจออย่างนี้ที่สระบุรี เวลานั้นมะเขือพวงซื้อ 10 บาทแล้วครับ เดี๋ยวนี้มะเขือพวงในกรุงเทพฯ ต้องซื้อ 20 บาท 10 บาท แม่ค้าจะหน้างอนะ ถ้าตลาดนางเลิ้งยังขายอยู่ 10 บาท เขาก็หยิบแต่น้อยหน่อย สำหรับตำน้ำพริก 10 บาท เมื่อวานนี้ไปมะเขือพวงที่ตลาดไท ซึ่งเคย 60 บาท เดี๋ยวนี้ราคา 280 บาท แปลว่ามะเขือพวงกิโลกรัมละ 28 บาท แต่ก่อนกิโลกรัมละ 6 บาท พอฟังแล้วผมก็ไม่รู้สึกอะไร ดีใจแทนคนปลูก ดีใจแทนเลยว่าบัดนี้ถุงหนึ่ง 280 บาท กิโลกรัมละ 28 บาท รับมาถึงกรุงเทพฯ เขาขายกิโลกรัมละเท่าไรทราบไหมครับ เขาไม่ขายเป็นกิโลกรัม เราจะไม่มีทางรู้เลย หยิบมา 1 ขยุ้ม 20 บาท ให้หยิบ 5 หนได้ 1 กิโลกรัมก็แล้วกัน ก็แปลว่า 100 บาท ต้นทุน 28 บาท เห็นไหมครับ เราไม่ได้กินมะเขือพวงกันทั้งวัน แต่ยกตัวอย่างว่าเรื่องน่าคิดจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค 

          แล้วไปอย่างไรมาอย่างไร มีเรื่องที่เราต้องคิดว่าตอนนี้ผมจะใช้กระดาษสักนิด เพราะว่าเมื่อทำการบ้านมาแล้วก็ให้ท่านดูว่าที่เขาขายผักกันนี้ แตงร้าน แตงกวา แตงกวาเดี๋ยวนี้เมื่อก่อน 5 บาทที่ผมคุยไว้ วันนี้ 13 บาท เปลี่ยนแปลงพอสมควร ถุงหนึ่งเคยซื้อ 50 บาท 10 กิโลกรัม 50 บาท แตงกวาเดี๋ยวนี้ 130 บาท แปลว่ากิโลกรัมละ 13 บาท มาดูแตงกวาว่าเข้ามาในเมืองแล้วราคาเท่าไร แตงกวากิโลกรัมละ 13 บาทต้นทุน เวลานี้ขายแตงกวา 35 บาท บางครั้งขาย 40 บาท เห็นไหมครับ ต้นทุน 13 บาท มาถึงตลาด 40 บาท 40 บาท นี่คือ อ.ต.ก. ถ้าไปบางกะปิจะประมาณ 25 บาท แล้ว 25 บาท 1 กิโลกรัมเขาก็ใส่ 3 จาน เดี๋ยวนี้ไม่ใช่จานละ 5 บาทแล้ว แตงกวาเป็นจานละ 10 บาท ขายทั้งกิโลกรัมขาย 20 บาท แต่แบ่งกิโลเป็น 3 อันใส่ 3 จาน เขาก็ขาย 30 บาท จานละ 10 บาท ไปแต่เช้าก็ 10 บาท พอเย็นๆ เขาจะร้องขาย 3 จาน 25 เขาขายราคาเหมือนยกกิโลกรัม นี่เป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลง 

          ที่อธิบายให้ฟังอย่างนี้ผมจะยกตัวอย่างนิดหนึ่ง ฟักเขียว 1 ถุง 10 กิโลกรัม ราคา 50 บาท ฟักเขียวลูกขนาดกำลังใช้กิโลกรัมละ 5 บาท มาดูที่ตลาดขายเท่าไร ตลาดขาย 20 บาท ต้นทุน 5 บาท แต่มาถึงตลาดขาย 20 บาท ทุกอย่างเป็นลักษณะอย่างนี้หมด ถูกต้อง แน่นอน อย่างกะหล่ำปลี เวลานี้กะกล่ำปลีแพง 15 บาท มาถึงที่ตลาด 28 บาท เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างจะเป็นอย่างนี้หมด ปัญหาคือว่าเมื่อเล่าให้ฟังอย่างนี้แล้วคิดว่าอย่างไร ผมต้องคิดให้ฟังว่าเมื่อเวลาที่เรา เราดูฟักทองเมื่อสมัยก่อนกิโลกรัมละ 6 บาท เดี๋ยวนี้ฟักทองขึ้นมาเท่าไร กิโลกรัม 7 บาท ลูกโตๆ ที่เห็นเมื่อสักครู่นี้ 8 บาทอย่างเก่ง มาถึงตลาดขายเท่าไร มาถึงตลาดขายกิโลกรัมละ 25 บาท ฟักทองลูกใหญ่หนัก 7 กิโลกรัม 175 บาท ต้นทุนกิโลกรัมละ 7 บาท 7 x 7 = 49 บาท ทั้งลูกซื้อจากตลาดไท ลูกละ 49 บาท แต่มาถึงตลาดทางนี้แล้วกิโลกรัมละ 25 บาทเป็น 175 บาท อย่างนี้แปลว่าการขนส่งสินค้าไปมา ที่เรียกว่า Logistic  มะนาว เวลานี้มะนาวเริ่มแพงอีกแล้ว เพราะเหตุว่าร้อน แล้งเข้า ก็ยังพอมีขาย มะนาวไปซื้อที่โน่นขายส่ง 1.25 บาท แต่มาถึงกรุงเทพฯ 3 บาท 3 ใบ 10 บาท เริ่มแพงแล้ว ต่อไปเวลามะนาวแพง แพงจริงๆ ลูกละ 8 บาท เวลาที่น้อยเกี่ยวกับอุปสงค์อุปทาน ที่เรียก supply demand เพราะฉะนั้นจะเล่าให้ฟังว่าเรื่องเวลานี้ที่คุณมิ่งขวัญฯ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) ท่านกำลังเจรจาความ  

           หาแนวทางแก้ไขราคาหมูเนื้อแดงที่แพงขึ้น

          เวลานี้พอถึงเรื่องหมู คำอธิบายเรื่องหมู ผมฟังเข้าหู แต่ว่าคนบริโภคจะฟังหรือไม่ เวลานี้หมูกิโลกรัมละ 120 บาท แต่ก่อนกิโลกรัมละ 100 บาท ถามว่าทำไม เราต้องคิดถึงเรื่องนี้ ว่าทำไมเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง ทำไมแพงหมู เนื้อไม่เปลี่ยน อย่างนี้เราต้องรู้ทันทีว่าต้องมีเฉพาะเรื่อง เขาบอกว่าที่เกิดหมูแพงนี้ เรื่อง supply demand เรื่องเกี่ยวกับเกิดเหตุในการเลี้ยงหมู การเอาลูกหมูไปขาย มีการขาดแคลน พอมันน้อยก็ขายแพง ตั้งราคา ซึ่งราคาซากหมู คือหมูฆ่าเสร็จแล้วตัดเลย  เขาขายเฉลี่ยชั่งกิโลมาขายเลย แพงกว่าเดิมเพียง 3 บาท แต่ทำไมเมื่อมาขายเป็นกิโลแล้วถึงเนื้อแดงขึ้นไปกิโลกรัมละ 120 บาท เวลาพูดถึงราคาอะไรต่างๆ นั้น ท่านโปรดฟังให้ดี เราต้องมีความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิต ทั้งคนกลางและผู้บริโภค เราซื้อหมูมาฆ่ากินโดยตัวเองได้ไหม ไม่ได้ครับ ไก่มาให้ฆ่ายังไม่ฆ่าเลย ตัวเล็กกว่าหมูตั้งเยอะ ฉะนั้นต้องให้มีคนเขาฆ่า ต้องมีคนเขาเลี้ยง มีคนเขาขนมาฆ่า ฆ่าเสร็จแล้วเขาต้องไปที่ตลาด เขามีเขียง จากเขียงนั้นถึงจะถึงเราเป็นผู้บริโภค เพราะฉะนั้นตรงนี้เมื่อเห็นเหตุ เราต้องดูว่าเราควรจะต้องแก้ได้ เราควรจะต้องแก้เหตุได้ 

          เริ่มต้นอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น เป็นอย่างนี้เพราะเนื่องจากว่ามีอุบัติเหตุในการเลี้ยงอะไรต่างๆ จังหวะจะโคนเขาว่าจะแพง ถ้ามันจะแพงแล้วมันแพงตรงไหน แพงที่หมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 120 บาท ถามว่าไปกินส่วนอื่นของหมู ส่วนอื่นยังถูกกว่า สามชั้นก็ต้องลงไปถูกกว่า กระดูกก็ยังถูกกว่า แต่เราเอาราคาหมูเนื้อแดงมาตั้ง แล้วบอกว่า 120 จะตายอยู่แล้ว เคยขายอยู่ 100 บัดนี้ขึ้นมาเป็น 120 บาท แปลว่าขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ สินค้าขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์เป็นไปไม่ได้ คนขายหมูต้องอธิบายให้เข้าหูคนบริโภค ผมนี่เข้าหูมาแล้ว ฟังแล้วถึงเอามาคุยได้ว่ามันเกิดอุบัติเหตุในการเลี้ยง ทั้งขบวนการการเลี้ยง ต่อไปถ้าเข้าที่เข้าทางแล้วจะกลับมาสู่ราคาเดิม ความแพงนั้นแพงอยู่แล้ว 100 บาทแพงอยู่แล้ว ต้องแปลว่าหมูเนื้อแดง เนื้ออื่นก็ไม่ถูกไม่แพงอย่างนั้น กระดูกหมูราคากิโลกรัมละ 22 บาท ไปซื้อสามชั้นก็ราคาถูกกว่า ส่วนต่างๆ ของหมูนั้นไม่ได้ 120 บาทหมด นี่พูดให้เข้าใจไว้เท่านั้นเอง แล้วจะมาออกรับแทนคนขายหมูด้วย การเจรจาความจะเป็นอย่างไร ถ้าเริ่มต้นบอกว่ามีน้อย ขอดูหน่อยว่ามีน้อยมีอย่างไร 

          เวลาเห็ดโคนออกใหม่ๆ กิโลกรัมละ 500 บาท เห็ดโคนออกใหม่ๆ ออกมาประมาณสัก 2 เดือนอย่างมากไม่เกิน เวลาที่ออกมานานแล้วจะลงมา 300 บาท เป็นเห็ดแพงครับ เห็ดโคนกิโลกรัมละ 500 บาท ออกมาเยอะๆ แล้วกิโลกรัมละ 300 บาท ทั้งเดือนก็หมดหายไป แต่เห็ดฟางเห็ดนางฟ้า เห็ดนางโลม เห็ดหูหนูขาว ออกทั้งปี เพราะฉะนั้นใครจะกินเห็ดโคนก็ให้คนมีเงินเขากิน เขาซื้อกันตรงนั้น อร่อยแน่นอน แต่ใครจะกินเห็ดฟางมีขายทั้งปี เห็ดฟางอยู่ที่ตลาดบางกะปิ ขายกิโลกรัมละ 60 - 65 บาท อย่างแพงวันไหนแพงก็ 70 บาท เขาถึงเอาแต่ดอกโตมาใส่ เขาขาย 100 บาทที่ อ.ต.ก. แปลว่าเราต้องรู้ด้วยครับ เอาราคา อ.ต.ก. เป็นฐานก็ไม่ได้ ผมขับรถเก๋งไปซื้อ เขาเสียค่าที่แพง เขาขายกิโลกรัมละ 100 บาท เห็ดฟาง

          แต่ไปบางกะปิ 60

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คำต่อคำ ถอดเทปสนทนาประสาสมัคร 24 ก.พ. 2551 โพสต์เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 00:00:00 4,605 อ่าน
TOP