x close

พืชพลังงาน ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังงานในอนาคต

 

 

          ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้สนับสนุนและให้ความสำคัญในการพัฒนาพลังงานทดแทนกันมากขึ้น เพื่อช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพิงน้ำมันปิโตรเลียมที่มีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ พลังงานทดแทนที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมากในขณะนี้คือ เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) ซึ่งผลิตได้จากผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ เชื้อเพลิงชีวภาพที่จะกล่าวถึง ประกอบด้วย 2 ประเภทหลัก คือ เอทานอล และไบโอดีเซล


          ทั้งนี้เอาทนอลส่วนใหญ่ผลิตจากอ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนไบโอดีเซลใช้วัตถุดิบจากปาล์มน้ำมันเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีพืชประเภทอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพได้ อาทิ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี สบู่ดำ และเรพซีด (Rapeseed) เป็นต้น


          ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลกระทบจากแรงกดดันของสถานการณ์ราคาน้ำมันดังกล่าวที่เกิดขึ้น เริ่มส่งผลทำให้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญของโลกขณะนี้ กล่าวคือ การผลิตพืชเกษตรแต่เดิมผลิตเพื่อใช้บริโภคเป็นอาหารทั้งเพื่อเป็นอาหารของคนโดยตรง นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์และเป็นวัตถุดิบเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการเกษตรต่าง ๆ 


          แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำการเกษตรกลับถูกนำไปปลุกพืชพลังงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากกระแสความต้องการนำพืชพลังงานมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพมีมากขึ้น ส่งผลให้ทั่วโลกต่างหวาดวิตกเกี่ยวกบวิกฤตกาณ์ด้านอาหารที่กำลังเกิดขึ้น และกลายเป็นหัวข้อสำคัญซึ่งถกเถียงกันในเวทีโลก และต่างเร่งหาทางออกร่วมกันก่อนที่วิกฤตด้านอาหาร และวิกฤตด้านพลังงานจะส่งผลร้ายแรงต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งในปัจจุบัน และอนาคต


          ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของภาพรัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลและไบโอดีเซลของไทย รวมถึงพิจารณาปัญหาอุปสรรคของธุรกิจ และเสนอประเด็นสำคัญซึ่งควรเร่งดำเนินการ โดยพิจารณาปัจจัยหลัก 4 ด้านประกอบด้วย ด้านวัตถุดิบ ด้านการผลิต ด้านตลาด และด้านนโยบายของภาครัฐ 


          ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการการผลิตการใช้เอทานอล และไบโอดีเซลอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยพิจารณาครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) ทั้งด้านวัตถุดิบ การผลิต การตลาดและการวิจัยพัฒนา 


          โดยอาศัยการประสานกันของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม รวมทั้งความร่วมมือกันระหว่างโรงงานผู้ผลิต ผู้ค้าน้ำมัน ผู้ผลิตรถยนต์ สถาบันการเงินต่าง ๆ ตลอดจนผู้บริโภค ในการช่วยผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนของไทยให้เป็นไปอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศในอนาคต


ขอบคุณทีมาจาก หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับบวันที่ 30 พฤษภาคม 2551

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พืชพลังงาน ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังงานในอนาคต โพสต์เมื่อ 30 พฤษภาคม 2551 เวลา 17:09:58 8,636 อ่าน
TOP