x close

ประวัติคณะปฏิรูป

ประวัติคณะปฏิรูป

          คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ยึดอำนาจ จากรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในครั้งนี้ มีทั้งหมด 5 นายด้วยกัน ประกอบด้วย

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก

เกิดเมื่อ วันที่ 2 ตุลาคม 2489

สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุกทม., โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่6, รร.จปร .รุ่นท ี่17

เข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ.2511
          หลักสูตรส่งทางอากาศ รร.ร.ศร.และหลักสูตร ชั้นนายร้อย รร.ร.ศร.ในปีพ.ศ.2512
          หลักสูตร ผบ.มว. ช่างโยธาและกระสุน รร.ร.ศรและหลักสูตรจู่โจมรร.ร.ศร.พ.ศ.2516
          ผ่านการอบรม หลักสูตรภาษาอังกฤษ ยศ.ทบ.พ.ศ.2519
          หลักสูตร ลาดตระเวน ระยะไกล รร.ร.ศร. พ.ศ. 2521
          หลักสูตรชั้นนายพันรร.ร.ศร.พ.ศ.2522
          หลักสูตรประจำชุดที่57รร.สธ.ทบ.สบส.พ.ศ.2542
          ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การทหาร)รร.สธ.ทบ.สบส.พ.ศ.2542
          หลักสูตรวปอ.รุ่นที่42พล.อ.สนธิเข้ารับราชการครั้งแรกพ.ศ.2512

โดยมีลำดับชั้นยศดังนี้
          ติดยศ
          ร้อยตรี พ.ศ.2512
          ร้อยโท พ.ศ.2514
          ร้อยเอก พ.ศ.2518
          พันตรี พ.ศ. 2522
          พันโท พ.ศ. 2526
          พันเอก พ.ศ.2530
          พลตรี พ.ศ.2542
          พลโท พ.ศ.2545

สำหรับเส้นทางการเติบโตทางราชการนั้นเริ่มตั้งแต่
          ผบ.มว.ปล.ร้อย.อวบ.พัน.ร.ศร. ผบ.มว.ปล.ร้อย.อวบ.พัน.ร.1 พัน.2 พล.อสส.(พลัดที่ 3 ส่วนที่ 1)
          ผบ.มว.ปล.ร้อย.อวบ.พัน.ร.ศร. ผบ.มว.รร.ร.ศร. รอง ผบ.ร้อย.ลว.ไกลที่ 9 ผบ.ร้อย.อวบ.ร.พัน.1 ผส.15
          ประจำ รร.สธ.ทบ.สบส. ผบ.ร้อย.ลว.ไกลที่ 2 ผบ.รพศ.1 พัน.2 รอง ผบ.รพศ.1 ผบ.รพศ.1 รอง ผบ.พล.รพศ.1 ผบ.พล.รพศ.1 รอง ผบ.นสศ. ผบ.นสศ. เป็นผช.ผบ.ทบ.เมื่อพ.ศ.2547 และพ.ศ.2548
          มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็น ผบ.ทบ.

พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เกิดเมื่อ วันที่ 28 มีนาคม 2498

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

          เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2505
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และจบออกมารับราชการเป็นร้อยตรี เมื่อปี พ.ศ.2511

          หลังจากที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้เข้าปฏิบัติราชการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุงของกองพลทหารราบที่ 3 จากนั้นได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่เป็น ฝ่ายเสนาธิการประจำตัวของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

          ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นพลตรี ในตำแหน่ง เสนาธิการกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2534 และได้รับแต่งตั้งเป็นพลโท พลโท ในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำ เสนาธิการทหาร พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์

          จากนั้นได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร ในช่วงที่ประเทศไทยประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ และมีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการด้านงบประมาณของกองทัพไทย จนผ่านอุปสรรคมาได้ เป็นเวลาถึง 3 ปี ก่อนที่จะได้รับยศเป็น พลเอก ในตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เมื่อปี พ.ศ.2543 ดำรงตำแหน่งนี้นานถึง 3 ปี โดยได้ริเริ่มปรับทิศทางการพัฒนาเพื่อจัดระเบียบตามแนวชายแดน เพื่อให้ชุมชนชายแดนร่วมเป็นปราการในการป้องกันประเทศ

          และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาโดยตรงแก่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และได้รับรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป

พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ

เกิดเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2490

เป็นบุตรของ พลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์ และหม่อมราชววงศ์ กระวิก เกยานนท์

สมรสกับ นางพรเพ็ญ เกยานนท์ มีบุตร 2 คนเป็นชาย 1 หญิง 1

สำหรับประวัติการศึกษานั้น
          จบจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเตรียมทหาร (รุ่นที่ 6)
          โรงเรียนนายเรือ (รุ่นที่ 63)
          โรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น พรรคนาวิน
          โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง 
          วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4414) 
          และจบหลักสูตรต่างประเทศ Special Investigating Officer ประเทศสหรัฐอเมริกา
          หลักสูตรเรือเร็วโจมตี ประเทศเดนมาร์ก
          อบรมระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นฮาร์พูน ประเทศสหรัฐอเมริกา
          NAVAL COMMAND COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งสำคัญ
          ผู้บังคับการเรือ ต.91 และเรือ ต.92 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ต้นเรือ เรือหลวงปราบปรปักษ์ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ต้นเรือ เรือหลวงอุดมเดช กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ รองผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ ผู้อำนวยการกองวิทยุสื่อสาร กรมสื่อสารทหารเรือ ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงนิวเดลี รองเลขานุการกองทัพเรือ เลขานุการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ รองเสนาธิการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ

เกิด วันที่ 5 เมษายน 2491

บิดาชื่อ พล.ท.ชัยยุทธ พุกผาสุข

มารดาชื่อ นางสุภรณ์ พุกผาสุข

สมรสกับ ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข

จบการศึกษาจาก โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 13
          โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 40 ปี 2523
          โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 27 ปี 2526
          วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25 ปี 2534
          วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ปี 2542

เส้นทางราชการ
          เริ่มจากเป็นผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตามด้วยตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ไทย/จาการ์ตา
          เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ
          ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค ์
          กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ
          ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายกำลังพล
          รองเสนาธิการทหารอากาศ
          ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ
          รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อ 1 ตุลาคม 2548

พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เกิด วันอังคารที่ 11 มีนาคม 2490 ปีกุน

เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 6 และ นรต.รุ่น 22
          มีเพื่อนร่วมรุ่น อาทิเช่น พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม
พล.ต.ท.ไพศาล ตั้งใจตรง ผู้ช่วย ผบ.ตร.

          หลังจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พล.ต.อ.โกวิท เข้ารับราชการประจำที่ บช.น.
จากนั้นชีวิตก็เดินหน้าเข้าสู่นักรบ ตชด.และรับราชการก้าวหน้าตลอดเวลา


          โดยขึ้นเป็น ผกก.1 บก.กฝ. (กองการฝึก) บก.ตชด. เมื่ออายุ 32 ปี ขยับเป็นรอง ผบก.กฝ.
          เมื่ออายุ 36 ปี ก้าวขึ้น เป็น "นายพล" ในตำแหน่ง ผบก.ตชด.ภาค 3 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2530
          อายุ 40 ปี, ขยับเป็นผู้ช่วย ผบช.ตชด.
          เมื่ออายุ 42 ปี เป็นรอง ผบช.ตชด.
          เมื่ออายุ 44 ปี กระทั่งวันที่ 23 มกราคม 2537
          ก้าวขึ้นนั่งแม่ทัพ ตชด. ด้วยวัย 47 ปี
          แล้วขยับเป็นผู้ช่วย อ.ตร. เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539
          จากนั้นวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ขยับเป็น รอง ผบ.ตร.
         
          จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา สามารถหักด่าน ก.ต.ช. ก้าวขึ้นนั่งบัลลังก์แม่ทัพสีกากีอย่างเต็มตัว โดยจะเกษียณอายุราชการ ปี 2550

          ผลงานที่ผ่านมาช่วงปี 2513-2518 ขณะดำรงตำแหน่ง ผบ.กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดน ออกปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ภาคเหนือ ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย - พม่า และยังคุ้มครองการก่อสร้างเส้นทางในพื้นที่อันตราย นอกจากนี้ระหว่างที่เป็น ผบก.ตชด. ภาค 3 ซึ่งรับผิดชอบภาคเหนือทั้งหมด มีผลงานการปราบปรามยาเสพติด อย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลและภาพประกอบจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ประวัติคณะปฏิรูป โพสต์เมื่อ 23 กันยายน 2549 เวลา 00:00:00 3,086 อ่าน
TOP