x close

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลหิตพิเศษ

เรียบเรียงประเด็นโดย กระปุกดอทคอม

 

          โลหิต หรือ เลือด  (Blood) คือ ของเหลวสีแดงที่ไหลอยู่ในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ประกอบด้วย นํ้าเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ดูดซึมสารอาหาร และยังทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติอีกด้วย 


หมู่โลหิต


          การจำแนกหมวดหมู่โลหิต (Blood type) หรือ กรุ๊ปเลือด (Blood Group) ที่สำคัญมีอยู่ 2 ระบบคือ


          1. หมู่โลหิตระบบ ABO (ABO system) เป็นการจำแนกจาก แอนติเจน หรือ สารโปตีนบนเม็ดเลือดแดง(antigen) คือแอนติเจน A(A Antigen) และแอนติเจน-บี (B Antigen) ได้แก่ หมู่โลหิต A B AB และ O โดยทั่วจะพบหมู่โลหิต O มากที่สุด รองลงมาคือ A และ B ส่วน AB เป็นหมู่โลหิตที่พบน้อยที่สุด

          2. หมู่โลหิตระบบ Rh (Rh system) จะจำแนกตาสารแอนติเจน ดี (D Antigen) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

• Rh+ (Rh Positive) หมายถึงมี แอนติเจน ดี ในเม็ดเลือดแดง พบในกลุ่มคนไทยทั่วไป

• Rh- (Rh Negative) หมายถึงไม่มีการพบ แอนติเจน ดี เลย พบมากในชาวต่างชาติแถบยุโรป แต่มีอัตราพบน้อยมากในประชากรประเทศไทยคือ 1000 คน จึงจะพแค่เพียง 3 คนเท่านั้น จึงมักเรียกว่า หมู่โลหิตหายาก หรือ หมู่โลหิตพิเศษ นั่นเอง


ความสำคัญของหมู่โลหิตพิเศษ


          เนื่องจากหากผู้ที่มีโลหิต Rh- ต้องรับโลหิตนการรักษษพยาบาล จำเป็นต้องรับโลหิต ที่มีหมู่Rh- ด้วยเหมือนกัน เพราะเพื่อป้องกันการกระตุ้นไม่ให้ผู้รับเลือดสร้างแอนติบอดีต่อ แอนตีเจน ดี แต่หากฉุกเฉินไม่สามารถหาหมู่โลหิต Rh- มาได้ในขณะนั้น ผู้รับเลือดสามารถรับโลหิต Rh+ ได้แต่สามารถรับได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะหารับโลหิต Rh+ อีก ร่างกายอาจเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และทำลายเม็ดโลหิตแดง Rh+ และเสียชีวิตได้ 


          อีกทั้งในกรณีที่ผู้มีหมู่โลหิต Rh+ และ  Rh- เป็นคู่สมรสและมีบุตร หากมารดามีหมู่โลหิต Rh- ส่วนบิดามีหมู่โลหิต Rh+ เมื่อมารดาตั้งครรภ์แรกและลูกในครรภ์มีหมู่โลหิต Rh+ เหมือนพ่อ เม็ดโลหิตแดงของลูกมีโอกาสเข้าไปสู่กระแสโลหิตของมารดาได้ในระหว่างมีการหลุดลอกตัวของรก มารดาก็จะสร้างภูมิต่อต้านเม็ดโลหิตของลูกขึ้นลูกแรกจะปลอดภัย ถ้าตั้งครรภ์ในท้องถัดมาหากลูกในครรภ์มีหมู่โลหิต Rh- เหมือนแม่ก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าลูกมีหมู่โลหิต Rh+ จะส่งผลให้ภูมิต่อต้านที่มารดาสร้างขึ้นหลังคลอดลูกคนแรกไปทำลายเม็ดโลหิตแดงของลูกคนที่สองและคนต่อๆ ไปได้ ถ้ามีหมู่โลหิต Rh+  ทำให้ลูกเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลืองและรายรุนแรงอาจตายในครรภ์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะตั้งครรภ์ มารดาที่มีหมู่โลหิต Rh- ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย


ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษบริจาคอะไรได้บ้าง 


          เนื่องจากโลหิตหมู่อาร์เอชลบ (Rh-negative) พบค่อนข้างน้อยมากในคนไทย คือในอัตราส่วน 3 ต่อ 1,000 คนเท่านั้น เพื่อให้มีโลหิตและส่วนประกอบโลหิตเพียงพอ ปัจจุบันนอกจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะรับบริจาคโลหิตหมู่พิเศษในรูปโลหิตรวม (Whole Blood) แล้ว ยังมีการรับบริจาคโลหิตเฉพาะส่วนได้แก่ เกล็ดโลหิต เม็ดโลหิตแดง เตรียมไว้เพื่อจ่ายให้กับผู้ป่วยตามความจำเป็นที่ใช้ในการรักษาเฉพาะโรค 


การบริจาคเม็ดโลหิตแดง 


          การบริจาคเฉพาะเม็ดโลหิตแดง คือ การรับบริจาคเฉพาะเม็ดโลหิตแดง ได้จำนวน 2 ยูนิต จากผู้บริจาค 1 รายโดยจะแยกเก็บเฉพาะเม็ดโลหิตแดงและคืนส่วนประกอบโลหิตอื่น ๆ เช่น น้ำเหลือง เม็ดโลหิตขาวเกล็ดโลหิตเข้าสู่ร่างกายใช้เวลาบริจาค 30 นาที


คุณสมบัติของผู้บริจาคเม็ดโลหิตแดง


          คุณสมบัติเบื้องต้นเช่นเดียวกับผู้บริจาคโลหิตทั่วไป มีดังต่อไปนี้

• มีอายุระหว่าง 17-60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว

• ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยาต่าง ๆ สุขภาพแข็งแรง


สำหรับคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากการบริจาคโลหิตทั่วไป ดังนี้

- ชาย น้ำหนักมากกว่า 59 กิโลกรัม ส่วนสูงมากกว่า 155 เซนติเมตร

- หญิง น้ำหนักมากกว่า 68 กิโลกรัม ส่วนสูงมากกว่า 165 เซนติเมตร

- มีค่าความเข้มข้นโลหิตหรือ Hct มากกว่า 40 %

- มีค่า Body Index คือ ค่าอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อพื้นที่ผิวน้อยกว่า 25


การบริจาคเกล็ดโลหิต


          เกล็ดโลหิต เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กมาก มีหน้าที่ช่วยทำให้โลหิตแข็งเป็นลิ่ม อุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิต ในร่างกายมนุษย์เราจะมีเกล็ดโลหิตประมาณ 1-5 แสน / 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร หากมีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำมากจะทำให้เกิดโลหิตออกง่าย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเปิดรับบริจาคเกล็ดโลหิตเฉพาะที่มีการร้องขอจากโรงพยาบาลเท่านั้น เพราะเกล็ดโลหิตเมื่อเจาะออกมาแล้ว จะมีอายุการทำงานไม่นานนัก คือ จะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 5 วัน เท่านั้น


          คนส่วนใหญ่คิดว่าบริจาคเกล็ดโลหิตจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย แต่ในความเป็นจริง ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติยกเว้นในกรณีจำเป็น ทั้งยังสามารถบริจาคได้ทุก 3 วัน เพียงแต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และสามารถบริจาคโลหิตได้ตามปกติหลังจากบริจาคเกล็ดโลหิตไปแล้ว 1 เดือน


ข้อกำหนดพิเศษสำหรับผู้บริจาคเกล็ดโลหิต


          • หมู่โลหิตจะต้องตรงกับผู้ป่วยที่ต้องการเกล็ดโลหิต

          • เส้นโลหิตตรงข้อพับแขนชัดเจน

          • ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ในระยะเวลา 5 วัน

          • ก่อนบริจาคและควรเป็นผู้ที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ


ที่มา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://th.wikipedia.org/wiki/หมู่โลหิต
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://medinfo.psu.ac.th/departments/pathology/Education/BloodBank/BloodGroup.htm
ชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ
http://www.rh-negative.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลหิตพิเศษ โพสต์เมื่อ 2 มิถุนายน 2551 เวลา 11:05:11 103,679 อ่าน
TOP