9 มิ.ย. น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล

วันอานันทมหิดล



น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล แพทย์จุฬาฯสืบสานพระราชปณิธาน

          9 มิถุนายน "วันอานันทมหิดล" วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

          ในวันนี้ปวงชนชาวไทยต่างน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณา ธิคุณ พระเมตตาธิคุณอันมีเป็นอเนกประการ และจากพระราชปรารภความสำคัญตอนหนึ่งว่า ...ทรงต้องการให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น ให้เพียงพอที่  จะช่วยเหลือประชาชน... เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้แก่แพทย์และพยาบาล ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 
 

          จากพระราชปรารภดังกล่าว รัฐบาลขณะนั้นได้อนุมัติงบประมาณให้แก่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อสนองพระราชปรารภ ในการขยายการศึกษาแพทยศาสตร์ของประเทศไทยให้สามารถผลิตแพทย์เพิ่ม ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การศึกษาแพทย์ของประเทศไทยในขณะนั้นมีอยู่เพียงแห่งเดียว คือที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถรับนักศึกษาแพทย์อย่างมากได้เพียงปีละ 50 คนและเนื่องจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีสถานที่จำกัด ไม่สามารถขยายเพิ่มขึ้นได้พอตามที่ต้องการ อีกทั้งการจะรับนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงการขยายหรือการไปสร้างโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง เกินกำลังของรัฐบาลสมัยนั้นซึ่งสูญเสียงบประมาณจากการเข้าร่วมทำสงครามโลกครั้งที่ 2
 

          เมื่อมีการพิจารณาไตร่ ตรองอย่างรอบคอบ หลวง เฉลิมคัมภีรเวชช์ (ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส) ผู้บัญชาการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขณะนั้นได้ตัดสินเลือกใช้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยซึ่งเคยเป็น โรงเรียนการแพทย์ทหารบกมาก่อนสามารถใช้ฝึกฝนนักศึกษาแพทย์ทางคลินิกได้เป็นอย่างดี จึงติดต่อกันเพื่อเปิดโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ขึ้น และด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดี คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นตามพระราชปรารภ โดยใช้ สถานที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดการเรียนการสอน
 

          พระราชปรารภในการผลิตแพทย์เพิ่มได้บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อมี พระราชกฤษฎีกา ประกาศตั้ง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยา บาลจุฬาลงกรณ์ ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ซึ่งมีผลในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยเปิดการเรียนการสอนวันแรกในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยมี พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (นพ. ชื่น พุทธิแพทย์) เป็นคณบดีท่านแรก จากนั้นได้โอนมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน 
 

          จากพระราชปรารภที่อำนวยผลให้บังเกิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นมา สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้ดำเนินการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันท มหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ผู้พระราชทานกำเนิดแพทย์จุฬาฯ ขึ้นไว้เป็นที่เคารพบูชาสักการะและรำลึกในพระมหา เมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิ  คุณ โดยได้รวบรวมเงินจากการบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯทุกรุ่น ดำเนินการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์ เฉลิมพระเกียรติ ทั้งยังเป็นการเฉลิม  พระเกียรติยศให้ประชาชนทั่วไปได้รำลึกถึงสืบไป
 

          พระบรมราชานุสาวรีย์ออกแบบและปั้นโดยคุณไข่มุกด์ ชูโต พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง อยู่ในท่าประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย พระบรมรูปและพระเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง ปัจจุบันพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่ที่ ตึกอานันทมหิดล คณะแพทย ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา  ลัย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 

          ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และเมื่อถึงวันนี้ 9 มิถุนายนของทุกปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน นำพวงมาลามาน้อม เกล้าฯ ถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์เป็นประจำ  ทุก ๆ ปีเสมอมา
 

          พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสู่สวรรคาลัย ขณะทรงเจริญพระชนมพรรษาเพียง 21 พรรษาในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นำความเศร้าโศกเสียใจอาลัยยิ่งมาสู่ปวงชนชาวไทยทุกคน 
 

          แต่ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดพสกนิกรชาวไทยทุกคนยังคงจดจำรำลึกในพระราชจริยาวัตร พระราชอัจฉริยภาพ พระมหาเมตตาธิคุณ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิ คุณในการพระราชทานกำเนิด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันช่วยอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน ช่วยเหลือ ป้องกันรักษาให้ห่างหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง
 

          วันอานันทมหิดลวันนี้นับเป็นอีกวันที่ประชาชนจะได้ร่วม น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิ  คุณ เฉลิมพระเกียรติพระองค์ ให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป


เข็มกลัด "วันอานันทมหิดล"


          ในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันท   มหิดล พระอัฐม รามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผู้พระราชทานกำเนิดแพทย์จุฬาฯ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำ เข็มกลัด "วันอานันทมหิดล" ประจำปี พ.ศ. 2551 อัญเชิญภาพ  พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ จัดวาง บนพื้นสีเหลืองเนื่องด้วยปีนี้ วันที่ 9 มิถุนายนตรงกับวันจันทร์
 

          การจัดทำเข็มกลัด "วันอานันทมหิดล" ครั้งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระอัฐมรามาธิบดินทร ในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อันมีเป็นอเนกประการ โดยไม่ทรงคำนึงถึงความเหนื่อยยาก นอกจากนี้ยังเป็นการหารายได้สมทบมูลนิธิอานันทมหิดล และ ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยา บาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งสามารถบริจาค-รับเข็มกลัด "วันอานันทมหิดล" ได้ ที่ โรงพยาบาลจุฬาลง กรณ์: ตึกภปร, ตึก อปร, ตึกอานันทมหิดล, ตึกวชิรญาณวงศ์, ศาลาทินฑัต จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขาทั่วประเทศ บริจาคกับนิสิตแพทย์จุฬาฯซึ่งจะออกขอรับ ณ ศูนย์การค้า ธนาคาร โรงพยาบาล และ กระทรวงต่างๆ ส่วนต่างจังหวัดร่วมบริจาค-รับเข็ม ได้ที่ ศาลากลางจังหวัด และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด-โรงพยาบาลจังหวัด ทั่วประเทศ



ข้อมูลและภาพประกอบจาก
 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
9 มิ.ย. น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล อัปเดตล่าสุด 9 มิถุนายน 2551 เวลา 15:58:32 6,988 อ่าน
TOP
x close