x close

กินเจ เทศกาลบำเพ็ญธรรม


เทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจ


กินเจ เทศกาลบำเพ็ญธรรม 

         ซีรีส์วาไรตี้วันอาทิตย์ตลอดเดือนตุลาคมต้อนรับ “เทศกาลกินเจ” ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเวลานี้ของทุกปีด้วยเรื่องราวน่ารู้น่าสนใจเรียงรายมาบอกเล่า 5 สัปดาห์ติดต่อกัน

         อันดับแรกขอเริ่มกันที่เรื่องราวของประวัติความเป็นมา การถือกำเนิด ความเชื่อ และความหมายของเทศกาลกินเจ  ที่ประมวลมาฝากให้ได้รับทราบกันอีกครั้ง 

         เมื่อย่างเข้าเดือน 9 หลังเทศกาลไหว้พระจันทร์ สีสันอย่างหนึ่งที่สัมผัสได้โดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านถนนเยาวราช นั่นก็คือ ภาพบรรยากาศแม่ค้าแม่ขายต่างจัดเตรียมอาหารเจออกวางจำหน่ายกันอย่างคับ คั่ง ทั้งนี้ก็เพื่อต้อนรับเทศกาลบำเพ็ญธรรม หรือถือศีล-กินเจ ซึ่งปีนี้น่าจะอยู่ราว ๆ ปลายเดือนตุลาคม 




         เทศกาลกินเจ นับเป็นความเชื่อของชาวจีนที่ถือเอา วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี (ตามปฏิทินจีน) เป็นวันแห่งการเริ่มต้นของการไม่กินเนื้อสัตว์ ซึ่งในระหว่างนี้จะมีการถือศีล ทำ บุญทำทาน เพื่อเป็นการชำระทั้งร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วย

         “การกินเจ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525 หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของ สดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า “เจียฉ่าย”  หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ได้ แก่ กระเทียม หัวหอม หลัก เกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้น ด้วย เพราะ ถือว่าเป็นของสดของคาว 




         ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า เก้าอ๊วงเจ หรือ กิ้วอ๊วงเจ แปลว่า เจเดือน 9 เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) คำว่า “เก้าอ๊วง” หรือ กิ้วอ๊วง  แปลว่า พระราชา 9 องค์ หรือนพราชา หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผัก กินเจ

         ที่มาของเทศกาลเจ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้ว ตามตำนานเล่าว่า เกิดมาในสมัยที่ชาวจีนถูกรุกรานโดยชนชาติแมนจู ซึ่งเข้าปกครองประเทศจีน และบังคับให้ชนชาติจีนยอมรับวัฒนธรรมของตน อาทิ การไว้ทรงผมเยี่ยงแมนจู คือ โกนศีรษะโล้นทางด้าน หน้าและไว้ผมยาวทางด้านหลัง ซึ่งหลายคนคงจะชินตาในภาพ ยนตร์จีนที่นำมาฉายทางทีวี  




         ในสมัยนั้น มีคนจีน กลุ่มหนึ่งรวมตัวกันต่อต้านชาวแมนจู โดยใช้หลักทางธรรมเข้ามาร่วมด้วย ชาวจีนกลุ่มนี้นุ่งขาว ห่มขาวและไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ซึ่งมีความเชื่อว่า การ  ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มของตน คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “หงี่หั่วท้วง” ซึ่งแม้จะ ได้ต่อสู้อย่างอาจหาญ แต่ท้าย  ที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานการรุกรานของชาวแมนจูได้ 
         เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภาย ใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ “หงี่หั่วท้วง” ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น 

         ความเชื่อถืออีกกระแสหนึ่งของตำนานการกินเจเชื่อกันว่าเป็นการ สักการะพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 สำหรับเมืองไทยความเชื่อเรื่องการกินเจ  เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตสัตว์ เพื่อเป็นสัก  การบูชาแก่พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม อาจเนื่องจากการแพร่หลายของการละ เว้นการกินเนื้อวัวในกลุ่มคนที่นับถือ “เจ้าแม่กวนอิม” การกิน เจจึงเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อ การสักการะ 

         ความหมายของ “ธงเจ”  เริ่มจากอักษรสีแดงบนพื้น เหลือง เขียนว่า “ไจ” หรือ “เจ” มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือ ผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากจะเป็น สัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเป็นการเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์และการตั้งอยู่ในศีล ตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน  9 คืน 

         ปัจจุบันมีการยอมรับกันโดยทั่วไปถึงคุณค่าของ “อาหารเจ” เนื่องจากการรับประทานพืชผักในปริมาณที่มากกว่าปกติ งดเว้นเนื้อสัตว์ ทำให้กระเพาะได้พักจากภารกิจการย่อยเนื้อสัตว์ที่ทำประจำอยู่ และได้รับวิตามินเข้าไปเสริมสร้าง ซ่อมแซมร่าง กายส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งได้โปรตีนจากถั่วชนิดต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากโปรตีนที่เราได้รับจากเนื้อสัตว์ ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนจากการรับสารอาหารย่อยยาก




         สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ “ถือศีล-กินเจ” แล้วยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ “อาหารเจ” นั้นบริสุทธิ์จริง ๆ บางคนจะมีการคัดแยกภาชนะที่บรรจุอาหารหรือใช้ปรุงอาหาร แยกจากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อ สัตว์อย่างเด็ดขาด และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวง ไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลาการกินเจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา

         นับเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีสีสันสดใส หนึ่งปีมีครั้งที่นอกจากจะได้รับทั้งความอิ่มกายสบายท้องแล้ว...ยังได้บุญกุศลควบคู่กันไปด้วย.



ข้อมูลและภาพประกอบจาก





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กินเจ เทศกาลบำเพ็ญธรรม อัปเดตล่าสุด 24 กันยายน 2558 เวลา 17:57:29 8,739 อ่าน
TOP