x close

หมอจุฬาฯ เจ๋ง! ผลิตผิวหนัง ช่วยผู้ป่วยแผลไฟไหม้


         เมื่อเวลา 14.00 น.ที่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาฯ และ โรงพยาบาลศิริราช ได้ร่วมกันค้นคว้า วิจัย "โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผิวหนังสังเคราะห์ต้นแบบ" ( The Development of Artificial Skin Prototype Research Project ) หรือ "Pore skin® Artificial Dermis" โดยใช้ เทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ( Tissue Engineering Technology )  ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และ ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์  โดยผิวหนังสังเคราะห์ ( Artificial Dermis ) ที่พัฒนาได้ในครั้งนี้ ใช้ชื่อทางการค้าว่า  Pore skin® Artificial Dermis โดยขณะนี้ได้ยื่นจดลิขสิทธิ์ทางปัญญาแล้ว ซึ่งได้ทำการทดลองมาตั้งแต่ปี 2548 – ปัจจุบัน ใช้งบประมาณ 14 ล้านบาท โดยสภาวิจัยแห่งชาติเป็นผู้สนับสนุนทุนวิจัย 

           ผศ.นพ.ถนอม กล่าวว่า ผิวหนังสังเคราะห์ ทำมาจาก คอลลาเจน ที่สกัดจาก ผิวหนังมนุษย์ โดยนำมาจากร่างของผู้บริจาคร่างกายแก่สภากาชาด มีลักษณะเป็นแผ่นฟิลล์บางๆ ชั้นล่างเป็นใยสังเคราะห์มีรูพรุน เพื่อให้เซลล์แทรกซึมเข้ามาสร้างเป็นเนื้อเยื่อใหม่ ขณะที่ด้านบนเป็นซิลิโคน ป้องกันการติดเชื้อ

           ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้ขนาดใหญ่ แผลลึก ระดับ 2-3 แผลหดรั้งที่เกิดจากไฟไหม้ หรือ แผลขนาดใหญ่ ที่ทะลุถึงชั้นผิวหนัง แต่ไม่ถึงกล้ามเนื้อ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความพิการถาวรได้ แต่ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยแผลเรื้อรัง เช่น เบาหวาน เพราะผิวหนังไม่มีเซลล์เนื้อเยื่อ แผลติดเชื้อ แผลสกปรก แผลขาดเลือด จากสาเหตุต่างๆ เช่น แผลที่ถูกการฉายรังสี เป็นต้น ผิวหนังสังเคราะห์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น แตกต่าง จากผิวหนังสังเคราะห์ที่ประเทศอื่นๆ ที่ใช้วิธีสังเคราะห์คอลลลาเจนจากวัว ซึ่งมีโอกาสเกิดการแพ้ได้ และมีราคาแพง เช่น สหรัฐอเมริกา ขนาด 10x10 เซ็นติเมตร ราคา 50,000 บาท ส่วนประเทศญี่ปุ่น อยู่ที่ 23,000 บาท ขณะที่ของไทย มีราคาถูกกว่า 10 เท่าคือ 2,000 บาท




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หมอจุฬาฯ เจ๋ง! ผลิตผิวหนัง ช่วยผู้ป่วยแผลไฟไหม้ อัปเดตล่าสุด 4 กันยายน 2551 เวลา 16:29:58 7,479 อ่าน
TOP