x close

ปลาเส้นปรุงรส ขนมขบเคี้ยว มีโซเดียม สูงปรี๊ด


         "ปลาเส้นปรุงรส" ขนมขบเคี้ยวยอดฮิตในหมู่เด็กๆ และสาวๆ ซึ่งดูเหมือนเป็นขนมมีประโยชน์ และมีโปรตีนสูงนั้น ที่จริงแล้วเต็มไปด้วย "โซเดียม" ที่สูงมาก เกินความต้องการของร่ายกาย 

         ปลาเส้นปรุงรสเป็นอาหารว่างอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก โดยเฉพาะเด็กๆ และสาวๆ ที่กลัวอ้วนทั้งหลาย เพราะมีการโฆษณาโดยเน้นจุดขาย "ไขมันต่ำและโปรตีนสูง" แทนที่ขนมขบเคี้ยวประเภทอื่นๆ ซึ่งมีทั้งแป้ง น้ำตาลและไขมัน อย่างไรก็ตาม ปลาเส้นปรุงรสก็มีข้อด้อย คือการมีปริมาณ "โซเดียมสูง" จนน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะประเภทรสจัดจ้านหรือรสเข้มข้น ยิ่งมีโซเดียมสูงขึ้นไปอีก

         ดังนั้น เมื่อจะบริโภคปลาเส้น เราไม่ควรประมาท ควรลองพลิกดูฉลากด้านหลังซองเพื่อมองหาปริมาณโซเดียมสักนิด อย่างไรก็ตาม ฉลากของปลาเส้นบางยี่ห้อก็ไม่มีรายละเอียดเรื่องนี้ เพราะมีแต่วิธีรับประทานกับวิธีดัดแปลงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เท่านั้น 

         เราจึงนำเราผลิตภัณฑ์ปลาเส้นปรุงรส ยี่ห้อต่างๆ มาทดสอบหาปริมาณโซเดียมและปริมาณโปรตีน นอกจากนี้ ยังแถมการทดสอบ "ปลาหมึกปรุงรส" ให้ด้วย เพราะเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน และได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

ปลาเส้นทำมาจากอะไรกันแน่...
         
         ปลาเส้นทำมาจากผลิตภัณฑ์ที่เรียก "ซูริมิ" ซึ่งก็คือ "เนื้อปลาทะเลบด" ที่ผ่านกระบวนการล้างน้ำ เพื่อแยกไขมันและส่วนประกอบที่ไม่ต้องการอื่นๆ ออกไป ให้เหลือแต่ "โปรตีน" ที่เรียกว่า "ไมโครไฟบริล" ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เนื้อปลามีคุณสมบัติในการสร้างเจล ทั้งนี้ ซูริมิถูกนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลายประเภท เช่น ปูอัด ลูกชิ้น ไส้กรอก ปลาเส้น เนื้อปลาเทียม หรือเนื้อกุ้งเทียม

ผลการทดสอบ พบว่า...

         - ปริมาณโซเดียมในปลาเส้นปรุงรสและปลาหมึกปรุงรส มีปริมาณสูงมากๆในทุกยี่ห้อโดยปลาเส้น 30 กรัมจะมีโซเดียม 500-700 มิลลิกรัม โดยเฉพาะรสเข้มข้นจะมีโซเดียมสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะมีการปรุงแต่งรสด้วยผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมตมากขึ้น 

         - มีปริมาณโปรตีนตามที่โฆษณา แต่ก็ไม่แตกต่างจากอาหารทั่วไปที่สามารถหารับประทานได้ง่าย และราคาไม่แพง เช่น นม ไข่ หรือแม้แต่ถั่วต้ม

คำแนะนำจากเรา...

         - ผลิตภัณฑ์ปลาเส้นอาจเป็นตัวเลือกสำหรับเด็กที่ติดขนมขบเคี้ยว เพราะมีปริมาณไขมันและน้ำตาลน้อยกว่า เมื่อเทียบกับขนมขบเคี้ยวทั่วไป แต่เด็กไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะมีปริมาณโซเดียมสูงมาก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เนื่องจากเด็กไม่ควรได้รับโซเดียมจากอาหารว่างเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน การที่บริโภคโซเดียมมาก จะทำให้ไตทำงานหนักและเสี่ยงต่อโรคความดันสูง

         - ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไตหรือหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานแต่น้อย

         - ควรซื้อครั้งละซองเล็กๆ เพราะหากซื้อซองใหญ่ จะทำให้เผลอทานมากเกินไป 

         - ควรหาตัวเลือกอื่นๆ ถ้าต้องการแหล่งโปรตีนที่ดี เช่น นม ไข่ หรือถั่ว ที่มีราคาไม่แพงและมีปริมาณโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย



imagesคลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ  




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปลาเส้นปรุงรส ขนมขบเคี้ยว มีโซเดียม สูงปรี๊ด อัปเดตล่าสุด 11 ตุลาคม 2551 เวลา 16:23:26 28,100 อ่าน
TOP