x close

ฟ้องกระทรวงพัฒนาสังคมฯ 1 ล้าน คดีปลากระป๋องเน่า

ปลากระป๋องเน่า


ปลากระป๋องเน่า


สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และกรุงเทพธุรกิจ


          วันนี้ (4 กุมภาพันธ์) น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมชาวบ้านจังหวัดพัทลุง ที่ถูกระบุว่าป่วยจากการบริโภคปลากระป๋องยี่ห้อชาวดอย ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำไปแจกจ่ายน้ำท่วม เมื่อต้นปีที่ผ่าน รวมถึงตัวแทนเครือข่ายชีวิตสาธารณะพัทลุง และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคชาวใต้ ได้เดินทางไปที่ศาลแพ่งรัชดาฯ เพื่อยื่นฟ้องด้วยวาจาต่อศาลให้ดำเนินคดีฐานละเมิด กับผู้ที่ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บริษัทกิ่งแก้วฟู้ด ผู้ผลิต และจำหน่ายปลากระป๋องชาวดอย และกรรมการรวมถึงผู้ถือหุ้นทั้งหมด 

          เนื่องจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ปลากระป๋องชาวดอย ซึ่งกระทรวงพัฒนาสังคมฯ นำไปแจก ใช้วัตถุดิบการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ ประกอบกับจะให้เป็นคดีตัวอย่าง โดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 1 ล้านบาท สำหรับที่ยื่นฟ้องคนทำหน้าที่รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อต้องการให้ไปไล่เบี้ยหาคนผิดที่จะมาเป็นผู้รับผิดชอบ 

          "การฟ้องครั้งนี้ก็ต้องดูว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งโดยตำแหน่งก็คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่จะต้องรับผิดชอบต่อ ... ขณะนี้ยังเป็นข้อถกเถียงแต่เราคิดว่าคนที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งคุณวิฑูรย์ในอดีต และรัฐมนตรีใหม่ ไม่งั้นก็จะกลายเป็นว่า สุดท้ายพอคุณวิฑูรย์ลาออก ก็ไม่มีใครรับผิดชอบ ฉะนั้นพวกเราไม่ได้ฟ้องตัวบุคคล เราฟ้องตำแหน่ง" น.ส.สารี กล่าว 

          น.ส.สารี กล่าวอีกว่า นี่ถือเป็นการผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ ที่ต้องการให้ผู้บริโภคได้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายได้ง่ายขึ้น เพราะในเบื้องต้นผู้บริโภคบางส่วนยังไม่เชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะสามารถใช้ได้จริง บางส่วนอาจจะมองว่าเป็นคดีเล็กน้อยๆ ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะฟ้อง เรายืนยันว่าถึงจะเป็นคดีเล็กๆ ก็คุ้มหากใช้กฎหมายนี้ เช่น การฟ้องร้องบริษัทโทรคมนาคมในการเรียกเก็บค่าต่อสัญญาณ 107 บาท ได้สูงสุด 5 เท่า เป็นเงินแค่ 535 บาท ก็จริง แต่นี่เป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม เป็นการสร้างพลังผู้บริโภค

          สำหรับสาระสำคัญของการฟ้องร้องครั้งนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และผู้ร่วมเป็นโจทก์ ได้ขอให้ภาระการพิสูจน์ความผิดตกอยู่แก่คู่ความ หรือผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันได้ขอใช้มาตรา 43 โดยขอคุ้มครองฉุกเฉิน ในการห้ามจำหน่ายสินค้า เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายคืน พร้อมทั้งทำลายสินค้าที่เหลือ ซึ่งการใช้มาตรา 42 ให้เปรียบเทียบปรับเชิงลงโทษ และมาตรา 44 ขอให้มีการพิสูจน์ว่า นิติบุคคล หรือบริษัท ทองกิ่งแก้วฟู้ดส์ มีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ฟ้องกระทรวงพัฒนาสังคมฯ 1 ล้าน คดีปลากระป๋องเน่า อัปเดตล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 15:36:13 25,548 อ่าน
TOP