x close

รู้จัก แซมมวล มอร์ส หรือ รหัสมอร์ส กันค่ะ

แซมมวล มอร์ส

Samuel Morse

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก google.co.th, en.wikipedia.org

          นั่นแน่! เพื่อนๆ กำลังงงปนสงสัยอยู่ใช่มั้ยล่ะ ว่าจุดๆๆๆ มันคืออะไร แถมวันนี้ถ้าเปิดไปที่ google ก็จะปรากฏสัญลักษณ์แปลกๆ แบบนี้ อะๆ ไม่ต้องแปลกใจไปค่ะ เพราะวันนี้กระปุกดอทคอม มีคำตอบมาเฉลยค่ะ...อยากรู้ก็ตามเข้ามาเลย

          ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ _ _ . _ _ _ . _ . . _ _ _  สัญลักษณ์แบบนี้กันก่อน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "แซมมวล มอร์ส" (Samuel Morse) หรือ "รหัสมอร์ส" เป็นสิ่งประดิษฐ์อันทรงคุณค่าและเป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร ถูกค้นคิดโดย "แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส" (Samuel Finley Breeze Morse) หรือ "แซมมวล มอร์ส" ซึ่งถ้าย้อนกลับไปราวก่อน ค. ศ. 1800 การส่งข่าวระหว่างกันในระยะไกล ยังคงเป็นการตีธง การส่งสัญญาณไฟ หรือโดยเมล์ด่วนกันอยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ.1832 การส่งข่าวสารกันโดยทางกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ "แซมมวล มอร์ส" นั่นเอง

          "แซมมวล มอร์ส" (Samuel F.B. Morse) เป็นชาวอเมริกัน เกิดในปี ค.ศ.1791 รัฐแมศซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า เจดิเดียท มอร์ส มีอาชีพเป็นนักบวชและนักเขียน แซมมวล มอร์ส เข้ารับการศึกษาขั้นต้น ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว แซมมวล มอร์ส ได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในวิชาศิลปะ ซึ่งเป็นวิชาที่เขาชอบมาก อีกทั้งเขายังมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก นอกจากวิชาศิลปะแล้ว แซมมวล มอร์ส ได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับวิชาไฟฟ้า เคมี และฟิสิกส์ อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่ทำให้เขามีความชำนาญด้านนี้มากนัก เพราะเขามีความสนใจด้านศิลปะมากกว่า อีกทั้งทางครอบครัวก็ให้การสนับสนุนด้านนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อ แซมมวล มอร์ส จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล ในปี ค.ศ. 1810 เขาจึงได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาต่อทางด้านศิลปะ

          ในระหว่างที่ แซมมวล มอร์ส ได้ศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขาได้รับอุปการะจาก เบนจามิน เวสต์ จิตรกรชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ แต่ถึงอย่างนั้น แซมมวล มอร์ส ก็ได้รับความลำบาก เพราะค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น แซมมวล มอร์ส จึงต้องทำงานให้กับทางสถาบันราชศิลป์อีกทางหนึ่ง เพื่อแลกกับค่าใช้จ่ายในสถาบัน งานที่เขาต้องทำก็คือการสเกตช์ภาพอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งด้วยชอล์กขาวและดำ นอกจากนี้ เขายังได้วาดภาพเพื่อขายสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ต่อมา แซมมวล มอร์ส ได้ปั้นรูปเฮอร์คิวลิสด้วยดินเหนียวส่งเข้าประกวด ตามคำแนะนำของศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง ในสถาบันราชศิลป์ ซึ่ง แซมมวล มอร์ส ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองของสมาคมศิลป์อเดลฟี

          แซมมวล มอร์ส ยังคงทำงานด้านศิลปะต่อไป และในปี ค.ศ.1813 ภาพเขียนสีน้ำมันของเขาชื่อว่า "การตายของเฮอร์คิวลิส" (The Dead of Hercules) ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 ภาพ ของงานนิทรรศการแสดงภาพของสถาบันราชศิลป์ ปัจจุบันภาพนี้ได้แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยเยล และในปี ค.ศ. 1815 ภาพเขียนสีน้ำมันของเขาได้ร่วมในงานนี้อีกครั้งหนึ่ง ภาพนี้มีชื่อว่า "การตัดสินใจของจูปีเตอร์" (The Decide of Jupiter) หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านศิลปะในประเทศอังกฤษ แซมมวล มอร์ส จึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาเขาได้เปิดร้านจำหน่ายภาพเขียน (Gallery) แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก จากนั้นเขาจึงรับวาดภาพเหมือน ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้น เพราะเขาได้วาดภาพเหมือนของบุคคลสำคัญหลายคน แต่ก็ไม่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น

แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส
แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส



          ต่อมาในปี ค.ศ. 1818 แซมมวล มอร์ส แต่งงานกับลูกเครียเทีย พิคเคอร์ริ่ง วอคเกอร์ หลังจากแต่งงานแล้ว แซมมวล มอร์ส จำเป็นต้องหารายได้จากงานอื่น เพราะรายได้จากงานวาดภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว และเพราะเหตุนี้เขาและภรรยาต้องแยกกันอยู่ชั่วคราว โดย แซมมวล มอร์ส ได้เดินทางไปทำงานที่เมืองนิวยอร์ค และได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักเขียน และผู้บรรยายวิชาศิลปะ อย่างไรก็ตาม ปี ค.ศ. 1825 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาและภรรยาแยกกันอยู่ ภรรยาของเขาก็เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย แต่การโทรคมนาคมในสมัยนั้นยังล้าช้า ทำให้กว่าจะทราบข่าวก็ล่วงเลยไปหลายวันแล้ว ทำให้เขารู้สึกเสียใจมาก และตั้งใจว่าสักวันหนึ่งเขาจะหาวิธีส่งข่าวสาร ให้รวดเร็วกว่านี้ให้ได้

          ในปี ค.ศ. 1829 แซมมวล มอร์ส ได้ตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และในปี พ.ศ.1832 เขาก็เดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างเดินทางกลับจากทวีปยุโรป แซมมวล มอร์ส ได้มีโอกาสรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าหลายท่าน โดยเฉพาะ ชาร์ล เอฟ. แจ็คสัน (Charles F. Jaxkson) นักเคมีชาวอเมริกัน ได้เป็นผู้ที่คอยตอบปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้สนใจเสมอ ซึ่ง แซมมวล มอร์ส ก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ความสนใจเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นผู้หนึ่งที่นั่งฟังคำบรรยายเกี่ยวกับไฟฟ้าเสมอ นอกจากนี้ แจ็คสันยังทำการทดลองอย่างง่าย เกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้โดยสารบนเรือได้ชม โดยการใช้แท่งเหล็กพันด้วยลวดทองแดง จากนั้นก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ลวดทองแดง ปรากฏว่าแท่งเหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว โดยดูดตะปูเหล็กขึ้นมาได้ แต่เมื่อหยุดปล่อยกระแสไฟฟ้า แท่งเหล็กก็จะกลายเป็นแท่งเหล็กธรรมดาและตะปูก็หลุดร่วมลงบนพื้น นอกจากนี้ แซมมวล มอร์ส ได้เข้าร่วมฟังการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ในการส่งข่าวสารในระยะไกล ดังนั้น แซมมวล มอร์ส จึงใช้เวลาที่อยู่บนเรือร่างต้นแบบเครื่องส่งโทรเลขขึ้น


เครื่องส่งโทรเลขยุคแรก



          เมื่อเขาเดินทางมาถึงกรุงนิวยอร์ค เขาเหลือเงินไม่มากนัก จึงต้องรับจ้างเป็นครูสอนศิลปะตามบ้าน  เวลาว่างส่วนที่เหลือเขาก็ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องโทรเลข ต่อมาในปี ค.ศ.1835 แซมมวล มอร์ส ได้เข้าทำงานมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York University) ในตำแหน่งศาสตราจารย์ทางศิลปะ การทำงานในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขาไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน แต่ได้รับสิทธิพิเศษในการเรียนวิชาใดก็ได้ในมหาวิทยาลัยแทน แซมมวล มอร์ส จึงเลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขามีความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว แม้ว่า แซมมวล มอร์ส จะมีเวลาน้อยลง แต่เขาก็คงพยายามประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขต่อไป ซึ่ง แซมมวล มอร์ส ต้องประสบปัญหาหลายประการ ทั้งเงินทองและเวลา เขาจึงใช้เวลาเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้นในการทดลอง เนื่องจากกลางวันเขาต้องทำงานในมหาวิทยาลัย อีกทั้ง แซมมวล มอร์ส ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้ซื้ออุปกรณ์ทีละมากๆ ทำให้ต้องซื้อลวดทองแดงได้ทีละน้อย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการสร้างโทรเลข

          แต่ในที่สุด แซมมวล มอร์ส ก็สามารถสร้างเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นผลสำเร็จ ในปี ค.ศ.1837 ซึ่งเขาใช้ระยะเวลาถึง 5 ปี แต่การส่งโทรเลขนั้นไม่สามารถส่งเป็นตัวหนังสือได้ ดังนั้น แซมมวล มอร์ส จึงคิดเป็นรหัสเพื่อให้แทนตัวหนังสือ โดยสร้างสวิตช์ไฟอย่างง่ายขึ้น ทำจากสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับกดซึ่งติดอยู่กับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็กๆ เรียกว่า "อาร์เมเจอร์" และเมื่อกดปุ่มก็ทำให้กระแสไฟฟ้าเดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่มกระแสไฟฟ้าก็จะตัด ซึ่งสวิตช์ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "สะพานไฟของมอร์ส"  มีประโยชน์สำหรับส่งกระแสไฟฟ้าออกมาในช่วงสั้น ช่วงยาว  ทำให้เกิดรหัสในการส่งสัญญาณโทรเลข เรียกว่า "รหัสมอร์ส" คือ กดสั้น เป็นจุด ( . ) และกดยาวเป็นขีด ( _ )


ตัวอย่างรหัสมอร์สภาษาไทย

 icon พยัญชนะ icon 



icon สระ icon



icon วรรณยุกต์ icon



icon เครื่องหมาย icon



          แซมมวล มอร์ส ได้แสดงการส่งโทรเลขครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.1873 ภายในห้องประชุมของทางมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค โดยมีระยะทางในการส่งครั้งแรกเพียง 1,700 ฟุต แต่ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะมีผู้คนเข้าชมอย่างมาก อีกทั้งการแสดงครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการสนุบสนุนเงินทุนในการพัฒนางานโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากอัลเฟรด เวลล์ บุตรชายเจ้าของกิจการจำหน่ายเหล็กและทองเหลืองที่รัฐนิวเจอร์ซี หลังจากนั้น แซมมวล มอร์ส ได้ปรับปรุงเครื่องโทรเลขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในปี ค.ศ.1838 เขาได้นำผลงานชิ้นนี้เดินทางไปยังกรุงนิวยอร์ค เพื่อเสนอผลงานของเขาต่อสภาคองเกรส ซึ่งครั้งนี้เขาสามารถส่งโทรเลขได้เป็นระยะทางถึง 10 ไมล์ แต่ถึงอย่างนั้น สภาคองเกรสก็ไม่ได้สนับสนุนเรื่องเงินทุนแก่เขา

          แซมมวล มอร์ส ได้พยายามขออนุมัติเงินทุกจากสภาคองเกรสอีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1843 ซึ่งครั้งนี้ทางสภาคองเกรสได้อนุมัติเงินให้เขาจำนวน 30,000 ดอลลาร์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการวางสายโทรเลข จากกรุงวอชิงตันไปยังบัลติมอร์ รวมระยะทาง 38 ไมล์ ซึ่งการวางสายโทรเลขได้ประสบความสำเร็จ ในปี ค.ศ.1884 เมื่อวางสายโทรเลขเสร็จเรียบร้อย จึงมีการทดลองส่งโทรเลขเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1844 ใจความว่า "พระเจ้าทำงานอะไร" ส่วนปลายทางที่บัลติมอร์ตอบกลับมาว่า "เขียนที่สุดปลายทาง" ถือว่าการส่งโทรเลขครั้งแรกประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี หลังจากนั้นกิจการโทรเลขก็ได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมิรกาและยุโรป ซึ่งต่อมาก็ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยด้วย

          ในปี ค.ศ. 1829 แซมมวล มอร์ส ได้ตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และในปี พ.ศ.1832 เขาก็เดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างเดินทางกลับจากทวีปยุโรป แซมมวล มอร์ส ได้มีโอกาสรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าหลายท่าน โดยเฉพาะ ชาร์ล เอฟ. แจ็คสัน (Charles F. Jaxkson) นักเคมีชาวอเมริกัน ได้เป็นผู้ที่คอยตอบปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้สนใจเสมอ ซึ่ง แซมมวล มอร์ส ก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ความสนใจเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นผู้หนึ่งที่นั่งฟังคำบรรยายเกี่ยวกับไฟฟ้าเสมอ นอกจากนี้ แจ็คสันยังทำการทดลองอย่างง่าย เกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับผู้โดยสารบนเรือได้ชม โดยการใช้แท่งเหล็กพันด้วยลวดทองแดง จากนั้นก็ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ลวดทองแดง ปรากฏว่าแท่งเหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว โดยดูดตะปูเหล็กขึ้นมาได้ แต่เมื่อหยุดปล่อยกระแสไฟฟ้า แท่งเหล็กก็จะกลายเป็นแท่งเหล็กธรรมดาและตะปูก็หลุดร่วมลงบนพื้น นอกจากนี้ แซมมวล มอร์ส ได้เข้าร่วมฟังการสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ในการส่งข่าวสารในระยะไกล ดังนั้น แซมมวล มอร์ส จึงใช้เวลาที่อยู่บนเรือร่างต้นแบบเครื่องส่งโทรเลขขึ้น



อนุเสาวรีย์ของ แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส
อนุสาวรีย์ ของ แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส



          จากผลงานประดิษฐ์เครื่องโทรเลขทำให้ แซมมวล มอร์ส เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเขาได้เปิดบริษัทร่วมกับเวลล์ ผู้ซึ่งเคยให้การสนับสนุนเขามาก่อน นอกจากนี้ แซมมวล มอร์ส ยังได้รับรางวัลจากกลุ่มประเทศยุโรปเป็นเงินถึง 40,000 ฟรังก์  และเขายังได้รับเชิญจากสมาคมวิทยาศาสตร์ต่างๆ ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกด้วย

          ทั้งนี้ แซมมวล มอร์ส เสียชีวิต เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ.1872 ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยโรคปอดบวม ก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิต 1 ปี สมาคมโทรเลขแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างอนุเสาวรีย์เป็นเกียรติแก่เขา ที่สวนสาธารณะในเมืองนิวยอร์คอีกด้วย

          อิอิ ทีนี้เพื่อนๆ ก็รู้แล้วใช่มั้ยว่า _ _ . _ _ _ . _ . . _ _ _ คืออะไร


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- school.net.th
- dbsql.sura.ac.th
- siweb.dss.go.th
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รู้จัก แซมมวล มอร์ส หรือ รหัสมอร์ส กันค่ะ อัปเดตล่าสุด 27 เมษายน 2552 เวลา 16:44:35 29,015 อ่าน
TOP