x close

ภาพบรรยากาศ พิธีปิด เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1

เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท




รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท

เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

 รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

 รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท

เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

 รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท



ปิดมาเชี่ยลอาร์ทโอซีเอชมไทยรัฐนิ่งจัดอีก (คมชัดลึก)

          การแข่งขันกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 มีพิธีปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก  โดยมี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน การแสดงเริ่มด้วยชุดพิเศษ "สายใยสืบสาน" The Spirit go on จากนั้น เป็นการแสดงชุดหลัก 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 "เกมส์ของศิลปะ" The Games of Arts , ชุดที่ 2 "ดินแดนแห่งจิตใจ" The Land of Mind และชุดที่ 3 "เปลวไฟแห่งความตราตรึง" The Flame of Impression โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันของไทยได้มอบธงสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) ให้แก่ ทิโมธี ฟ็อค รองประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (โอซีเอ) เนื่องจากการแข่งขันครั้งต่อไปกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ จะถูกรวมเข้ากับกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ ต่อไปและจะจัดการแข่งขันทุก 4 ปี 

          ทิโมธี ฟ็อค ซึ่งปฏิบัติงานแทน ชีค อาหมัด อัล ฟาฮัด อัล ซาบาห์ ประธานโอซีเอ กล่าวว่า โอซีเอรู้สึกปลื้มปีติเป็นล้นพ้น ในวันที่ 1 สิงหาคม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเป็นประธาน และต้องขอบคุณประเทศไทยที่จัดงานกีฬาครั้งแรกของโลกอย่าง เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ได้ประสบความสำเร็จ 

          ขณะที่ นายฮุสเซียน อัล มุสซาลาม ผู้อำนวยการสำนักงานโอซีเอ กล่าวว่า กีฬาศิลปะการต่อสู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเอเชีย การจัดการแข่งขัน เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ก็เป็นเสมือนการสืบสานกีฬาเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกในเอเชีย ครั้งนี้ถือเป็นที่น่าภูมิใจ เมื่อมีหลายชาติส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันและได้เหรียญเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับชาติที่มีปัญหาภายในประเทศ อย่าง อัฟกานิสถาน อิรัก ก็ได้เหรียญทองอย่างน่าชื่นชม ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เป็นเช่นนี้ ถือว่าประเทศไทยจัดการแข่งขันได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ในอนาคตจำเป็นต้องรวมการแข่งขันเอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์เข้ากับกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ เนื่องจากโอซีเอเห็นว่าการจัดการแข่งขันมากรายการ จะเป็นภาระของชาติเจ้าภาพมากเกินไป

          ด้าน พล.ต.จารึก อารีราชการัณย์ รองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาของโอซีเอในอนาคตนั้น อาจจะเป็นเอเชี่ยนบีชเกมส์ ซึ่งมีเจ้าภาพไปจนถึงครั้งที่ 4 แล้ว อย่างไรก็ตาม การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประเทศ สถานภาพของรัฐบาลไทยจะต้องนิ่งเสียก่อน

          สำหรับ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การจัดกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 ถือเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสของไทยที่จะสร้างชื่อเสียงกลับมา แม้จะมีปัญหาก่อนการแข่งขันมากมาย แต่ก็จัดการแข่งขันผ่านไปด้วยดี ทั้งนี้ กระทรวงจะสรุปผลงานของนักกีฬาไทยที่ทำได้ 21 ทอง 17 เงิน 16 ทองแดง ผลงานของนักกีฬาไทย โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรี เสนอไปยัง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดทำเนียบรัฐบาลเลี้ยงฉลองความสำเร็จให้แก่นักกีฬา พร้อมกับนักกีฬาเอเชี่ยนยูธเกมส์ ครั้งที่ 1 พร้อมทั้งมอบเงินรางวัลจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ทั้ง 2 รายการเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท

เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท

เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

 รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

 รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท

เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท


เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

รูปภาพ บรรยากาศ พิธีปิด มาเชี่ยลอาร์ท



          การแข่งขันกีฬาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 หรือ เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ 2009 เป็นการแข่งขัน เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยมีประเทศเข้าร่วมแข่งขัน 40 ประเทศ และมีกีฬาแข่งขันทั้งหมด 9 ชนิด

ประวัติการแข่งขัน

          ประเทศไทยได้รับเกียรติจากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียน มาเชี่ยลอาร์ต ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการได้รับเกียรติอย่างสูง เพราะนานาประเทศ ได้ยกย่องว่าประเทศไทยมีศักยภาพ มีบุคลากร มีผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และเป็นสถานที่ศูนย์กลางของการริเริ่ม สร้างสรรค์เกมส์กีฬาใหม่ขึ้นในโลก อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล ในการนี้สำนักเลขาธิการในคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียน มาเชี่ยลอาร์ต ครั้งที่ 1 จึงได้ดำเนินการ ออกแบบตราสัญลักษณ์การแข่งขัน, สัตว์นำโชค, คำขวัญ, สัญลักษณ์ชนิดกีฬา และอัตตลักษณ์ เพื่อนำไปใช้ในเกมส์ การแข่งขันดังกล่าว

รับพระราชทานไฟพระฤกษ์

          วันที่ 29 กรกฎาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ออกแทนพระองค์ ณ วังศุโขทัย พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานไฟพระฤกษ์จัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 และในการนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ โดยเสด็จด้วย

พิธีเปิดการแข่งขัน เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ 

          พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18.00 น. ณ อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

          พิธีเปิดมีการแสดง 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 เกมของน้ำใจ (The Games Of Spirit) ชุดที่ 2 ดินแดนแห่งรอยยิ้ม (The Land Of Smile) และชุดที่ 3 เปลวไฟแห่งศิลปะการต่อสู้ (The Flame Of Martial Arts) โดยมี จา พนม , แอ๊ด คาราบาว และ แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ร่วมแสดง โดยจะมีการซ้อมใหญ่พิธีเปิด ในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เวลา 18.00 น.

          สำหรับผู้อัญเชิญไฟพระฤกษ์วิ่งเข้าสู่สนาม คือ "น้องปุ้ย" ญาณิศา ต่อรัตนวัฒนา นักกีฬาคาราเต้-โด ซึ่งรับหน้าที่แทน "น้องสอง" บุตรี เผือดผ่อง นักกีฬาเทควันโด ซึ่งเป็นผู้ที่เลือกไว้ในตอนแรก แต่เนื่องจาก น้องสอง มีโปรแกรมแข่งเทควันโด รุ่น ฟินเวทหญิง (47 กก.) วันที่ 2 สิงหาคม และต้องชั่งน้ำหนักตัวในช่วงเย็นของวันที่ 1 สิงหาคม ซึ่งตรงกับช่วงเวลาเปิดการแข่งขันพอดี จึงไม่สามารถเข้าร่วมพิธีได้ ทำให้ฝ่ายจัดพิธีเปิด-ปิด ได้จัดให้ "น้องปุ้ย" ญาณิศา ต่อรัตนวัฒนา ทำหน้าที่แทน  โดยในพิธีจริง ญานิศาได้ส่งคบเพลิงต่อไปให้ ทัชชกร ยีรัมย์ (โทนี่ จา) นำไปจุดบนกระถางคบเพลิง ส่วนนักกีฬาที่ทำหน้าที่ถือธงชาติไทยนำขบวนพาเหรดนักกีฬาไทยเข้าสู่สนามก็ คือ พันจ่าเอกบดินทร์ ปัญจบุตร นักกีฬายูยิตสู นอกจากนี้ สมจิตร จงจอหอ นักกีฬาเหรียญทองในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ได้เป็นผู้เชิญธงสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ในพิธีปฏิญานตนของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่อีกด้วย

พิธีปิดการแข่งขัน เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ 

          พิธีปิดการแข่งขันกีฬาเอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ ครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18.00 น. ณ อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี

ชาติสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขัน เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์

    * กัมพูชา
    * กาตาร์
    * เกาหลีใต้
    * เกาหลีเหนือ
    * คาซัคสถาน
    * คีร์กีซสถาน
    * คูเวต
    * จอร์แดน
    * จีน
    * ซาอุดีอาระเบีย
    * ซีเรีย
    * ญี่ปุ่น
    * ติมอร์ตะวันออก (ติมอร์-เลสเต)
    * เติร์กเมนิสถาน
    * ไต้หวัน
    * ทาจิกิสถาน
    * ไทย
    * เนปาล
    * ปากีสถาน
    * ปาเลสไตน์
    * บังคลาเทศ
    * บาร์เรน
    * บรูไน
    * มัลดีฟส์
    * มองโกเลีย
    * พม่า
    * โอมาน
    * ฟิลิปปินส์
    * สิงคโปร์
    * ศรีลังกา
    * สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
    * อุซเบกิสถาน
    * เวียดนาม
    * เยเมน
    * อัฟกานิสถาน
    * ภูฏาน
    * ฮ่องกง
    * อินเดีย
    * อินโดนีเซีย
    * อิหร่าน
    * อิรัก
    * ลาว
    * เลบานอน
    * มาเก๊า
    * มาเลเซีย

          ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ ครั้งที่ 1 มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมทั้งสิ้น 40 ชาติ จากประเทศสมาชิก 45 ชาติ ในเบื้องต้น มี 5 ประเทศที่ไม่ได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน คือ อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ ซาอุดีอาระเบีย ติมอร์ตะวันออก (ติมอร์-เลสเต) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (แต่ภายหลังประเทศอัฟกานิสถานได้ขอเข้าร่วมแข่งขันด้วย)

ตราสัญลักษณ์


     ตัวอักษร A สื่อถึงทวีปเอเซีย อันประกอบด้วย ประชาชนและประเทศต่างๆ

     ตัวอักษร M สื่อถึงกีฬามาร์เชียลอาร์ต

     รูปทรงของตัวอักษรทั้งสองที่เกาะเกี่ยวกัน เป็นรูปทรงในลักษณะนามธรรมที่มีความทันสมัย กระฉับกระเฉง เรียบง่าย แสดงออกถึง แนวความคิดและปรัชญาของการรวมกันอย่างแข็งแกร่ง ของการแข่งขันกีฬามาร์เชียลอาร์ตในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และจรรโลงไว้ซึ่งสันติภาพ มิตรภาพ เสมอภาค ของทุกประเทศในทวีปเอเซีย

     ภาพโดยรวม เป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานศิลปะแบบไทยกับศิลปะสมัยใหม่ สื่อถึงประเทศไทย ในฐานะประเทศเจ้าภาพและความเข้ากันได้กับยุคสมัย

     สีแดง เป็นสีหลักของ OCA สีของการต่อสู้และสีของหัวใจ อีกทั้งยังเป็นสีหลักของศิลปะของเอเชีย

     สีทอง สีแห่งความเรืองรองของราชอาณาจักรไทย และเป็นสีหลักของการแสดงคุณค่าของงานที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์การแข่งขันครั้ง นี้ และเป็นสีหลักของศิลปะไทย

หนุมานยินดี (Hanuman Yindee)

     หนุมาน คือ ทหารเอกของพระราม เป็นลิงซึ่งเป็นตัวละครเอก ในวรรณกรรมรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมร่วมของเอเชีย

     หนุมาน เป็นลิงที่มีผิวกายขาวเผือกเป็นลักษณะเด่น มีความเชี่ยวชาญในศิลปะการต่อสู้ทุกชนิด มีความมุ่งมั่นพยายามอย่างสูงในการกระทำสิ่งใดให้สำเร็จ

     หนุมาน คือภาพลักษณ์หนึ่งของความเป็นไทย ซึ่งจะพบเห็น ในการแสดงโขน การแสดงหุ่นละครเล็ก ซึ่งใช้ในการแสดง ต้อนรับแขกผู้มาเยือน

     หนุมานในท่ามอบดอกไม้ ซึ่งเป็นพวงมาลัยแห่งน้ำใจไมตรี อันเป็นสัญลักษณ์ ของคนไทย จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการต้อนรับด้วยมิตรภาพสู่การแข่งขันที่เต็มไปด้วยศิลปะ การต่อสู้และจะนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชาติชาวเอเชีย

     หนุมาน สัตว์นำโชคในครั้งนี้ จึงมีชื่อว่า "ยินดี"

หนุมาน "ยินดี"

      • ยินดี ที่ได้เกิดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ เป็นครั้งแรก และจะก้าวไปสู่การแข่งขันอันไม่มีที่สิ้นสุด

      • ยินดี ที่ได้ต้อนรับมิตรประเทศ และผู้มาเยือนสู่ประเทศไทย 

      • ยินดี ในความสำเร็จ และชัยชนะ รวมทั้งความมีน้ำใจนักกีฬาที่มีให้กัน 

      • ยินดี ที่ได้รู้จักทุกๆ คน ที่มาร่วมสร้างมิตรภาพ และเอกภาพ ของประชาชาติชาวเอเชีย

กีฬาที่ใช้ในการแข่งขัน

      • ยูโด
      • ยูยิสสู
      • คาราเต้
      • คิกบ็อกซิง
      • คูราช
      • มวยไทย
      • ปันจักสีลัต
      • เทควันโด
      • วูซู

การเลื่อนการแข่งขัน

           เนื่องจากปัญหาทางการเมืองในประเทศไทย ทางคณะกรรมการจึงได้ให้มีการเลื่อนการแข่งขันออกไปจากเดิมวันที่ 25 เมษายน - 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เป็นวันที่ 1 สิงหาคม - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การยุบรวมกับเอเชียนอินดอร์เกมส์

           ตามมติสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 เห็นควรให้ยุบรวม เอเชียนมาร์เชียลอาตส์เกมส์ เข้ากับเอเชียนอินดอร์เกมส์ และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็นเอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาตส์เกมส์ โดยเริ่มครั้งแรกในการแข่งขันเอเชียนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 4 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในปี พ.ศ. 2554




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภาพบรรยากาศ พิธีปิด เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 อัปเดตล่าสุด 10 สิงหาคม 2552 เวลา 15:15:16 12,353 อ่าน
TOP