x close

คู่มือการใช้ชีวิตช่วงเคอร์ฟิว

 





 ข้อควรปฎิบัติในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน - เคอร์ฟิว


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          หลังจากที่แกนนำ นปช. เข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ชุมนุมอย่างมากมาย จนทำให้เกิดเหตุการณ์จราจลที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับมีการขยายพื้นที่ไปยังบริเวณต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพ  

          ศอฉ. จึงได้มีการประกาศใช้มาตรการเคอร์ฟิวตั้งแต่เวลา 20.00 น. วันนี้ ถึงเวลา 06.00 น. วันพรุ่งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น

          จากมาตรการนี้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะไม่สามารถออกมานอกเคหะสถานได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น ทางทีมงานกระปุกดอทคอมจึงมีข้อแนะนำในการใช้ชีวิตในช่วงเวลาเคอร์ฟิว เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชน ดังนี้

          1. ควรซื้ออาหาร น้ำ และยารักษาโรค รวมถึงของใช้จำเป็นเก็บตุนไว้ในบ้าน โดยเฉพาะอาหารแห้ง เพื่อใช้บริโภคในกรณีที่มีการตัดน้ำตัดไฟ

          2. เก็บเงินสดไว้กับตัวให้พอใช้จ่าย หากเกิดกรณีที่ธนาคารและตู้ ATM ไม่สามารถให้บริการได้

          3. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือให้เต็ม เพื่อใช้ติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ในยามฉุกเฉิน

          4. สำหรับท่านที่มียานพาหนะ ควรเติมน้ำมันไว้ให้พร้อม

          5. ล็อกประตูบ้าน หรือที่อยู่อาศัยของท่านให้เรียบร้อย แต่ไม่ควรแน่นหนาจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในกรณีเกิดเพลิงไหม้

          6. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มให้หมด

          7. พกบัตรประชาชนติดตัวไว้ตลอดเวลา

          8. เก็บไฟฉายไว้ข้างตัว กรณีที่ไฟดับหรือมีการตัดไฟ


          9. ควรเตรียมหมวกกันน็อกไว้ในที่ที่หยิบฉวยได้ง่าย เพื่อใช้ป้องกันศีรษะ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

          10. ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ไว้ กรณีต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ดังนี้ 

          - สายด่วน ศอฉ. โทร. 02 551 1515
          - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เหตุด่วน-เหตุร้าย โทร. 191, 123
          - โทรฉุกเฉิน โทร. 199          
          - หน่วยกู้ชีพนเรนทร โทร.1669
          - หน่วย แพทย์กู้ชีพ กทม. โทร. 1554
          - กรุงเทพมหานคร โทร. 1555
          - สถานีวิทยุ สวพ.91 โทร.1644
          - สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM.96 โทร.1677
          - สถานีวิทยุ จส.100 โทร. 082 004 4031-5 ตลอด 24 ชม.   ตลอด 24 ชั่วโมง
          - การไฟฟ้านครหลวง  โทร.1130
          - แจ้งอุบัติเหตุทางน้ำ โทร. 1196
          - ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669

หมายเลขโทรศัพท์ การจราจรเส้นทางเดินทางต่างๆ 

          - ศูนย์ควบคุมระบบการจราจรบนทางด่วน โทร. 1543 
          - ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
          - สอบถามเส้นทางจราจร โทร. 1197
          - เส้นทางเดินรถ (ขสมก.) โทร. 184
          - บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส) โทร. 1508
          - ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) / รถไฟฟ้า BTS โทร. 02 6177300 
          - รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) โทร 02 246 5733, 02 246 5744 
          - รถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 
          - การบินไทย โทร. 02 513 0121, 02 545 1000
          - สอบถามตารางเวลาบิน (การบินไทย) โทร. 1566 
          - บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด โทร. 02 253 4014-6 
          - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. 02 132 1888

หมายเลขโทรศัพท์โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

          - โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 0-2381-2006-20 
          - โรงพยาบาลกรุงเทพ 0-2310-3000 ,1719 
          - โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน 0-2233-6981-9 
          - โรงโรงพยาบาลกรุงธน 0-2438-0040-5 
          - โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น 0-2910-1600 
          - โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค 0-2910-1600-45 
          - โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 0-2729-3000 
          - โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ 0-2594-0020-65 

          - โรงพยาบาลคามิลเลียน 0-2185-1444 
          - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 0-2738-9900-9 
          - โรงพยาบาลเจ้าพระยา 0-2434-1111 
          - โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล 0-2552-8777 
          - โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ 0-2210-9999 
          - โรงพยาบาลตำรวจ 0-2252-8111-25 

          - โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ 0-2411-2089 
          - โรงพยาบาลไทยนครินทร์ 0-2361-2727 
          - โรงพยาบาลไทยจักษุคลินิก 0-2416-5454 
          - โรงพยาบาลนครธน 0-2416-5454 
          - โรงพยาบาลบางโพ 0-2587-0136-44 
          - โรงพยาบาลบางแก้ว 0-7469-7381-3 
          - โรงพยาบาลบางมด 0-2867-0606 

          - โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ 0-2667-1000 
          - โรงพยาบาลบีเอ็นเอช 0-2686-2700 
          - โรงพยาบาลปิยะเวท 0-2625-6500 
          - โรงพยาบาลปิยะมินทร์ 0-2316-0026-42 
          - สถาบันประสาทวิทยา 0-2354-7075-83 
          - โรงพยาบาลพระรามเก้า 0-2-202-9999 

          - โรงพยาบาลพญาไท 1 0-2640-1111 
          - โรงพยาบาลพญาไท 2 0-2617-2444 
          - โรงพยาบาลเพชรรัชต์ 0-3241-7070-9 
          - โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 0-2534-7000 
          - โรงพยาบาลมิชชั่น 0-2282-1100 
          - โรงพยาบาลยันฮี 0-2879-0300 

          - โรงพยาบาลรามคำแหง 0-2374 0200-16 
          - โรงพยาบาลลาดพร้าว 0-2530-2244 
          - โรงพยาบาลลานนา 0-5399-9777 
          - โรงพยาบาลวิชัยยุทธ 0-2618-6200 
          - โรงพยาบาลวิภาวดี 0-2941-2800 
          - โรงพยาบาลเวชธานี 0-2734-0000 

          - โรงพยาบาลศิครินทร์ 0-2366-9900-99 
          - โรงพยาบาลศรีสยาม 0-2944 8015-30 
          - โรงพยาบาลศรีสะเกษ 0-4561-1503 
          - โรงพยาบาลสงฆ์ 0-2354-4310 
          - โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท 0-2711-8000 
          - โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ 0-2731-7000 
          - โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช 0-2378-9000 
          - โรงพยาบาลสุขุมวิท 0-2391-0011
          - โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 0-2460-0000 
          - โรงพยาบาลสินแพทย์ 0-2793-5099 

          - โรงพยาบาลกลาง 0-2221-6141 
          - โรงพยาบาลกลางกรมราชทัณฑ์ 0-2589-5250 
          - โรงพยาบาลเซ็นทรัล ปาร์ค 0-2312-7261-9 
          - โรงพยาบาลตาหูคอจมูก กรุงเทพฯ 0-2579-1770-4 
          - โรงพยาบาลธัญญารักษ์ 0-2531-0080-8 
          - โรงพยาบาลนิติจิตเวช 0-2889-9191 

          - โรงพยาบาลบี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ 0-2523-3359-71 
          - โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี 0-2527-0246 
          - โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 0-2354-7600 
          - โรงพยาบาลราชวิถี 0-2354-8108-9 
          - โรงพยาบาลศิริราช 0-2411-0241-9 
          - โรงพยาบาลศูนย์มะเร็งกรุงเทพ 0-2785-5716-20

          อย่างไรก็ดี ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเวลานี้ ไม่ควรประมาทกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น แม้จะอยู่ห่างไกลจากที่เกิดเหตุก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องอาหารและน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และควรปฏิบัติตามมาตรการเคอร์ฟิวอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างสะดวกขึ้น และเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองด้วย หากมีความจำเป็นต้องออกนอกเคหะสถานในช่วงเวลาดังกล่าว กรุณาติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่เหตุ



  

                      ข้อควรปฎิบัติในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน - เคอร์ฟิว



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คู่มือการใช้ชีวิตช่วงเคอร์ฟิว อัปเดตล่าสุด 20 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:14:17 27,845 อ่าน
TOP