x close

เตือนภาคใต้เสี่ยงเกิด หลุมยักษ์ แบบ หลุม กัวเตมาลา





หลุมยักษ์ หลุม กัวเตมาลา


หลุมยักษ์ หลุม กัวเตมาลา

 


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก allvoices.com, ctv.ca

 

         นักธรณีวิทยา ชี้ปรากฎการณ์หลุมยุบในกัวเตมาลา เกิดจากชั้นหินด้านล่างเป็นปูนและเป็นโพรง เมื่อรับน้ำมากจึงยุบตัว เผยพื้นที่ภาคใต้ของไทยก็เสี่ยง

         ผศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงปรากฏการณ์หลุมยุบที่เกิดในประเทศกัวเตมาลา ว่า จากการสันนิษฐานเบื้องต้น คาดว่า เกิดจากชั้นหินใต้ผิวดินมีลักษณะเป็นปูน เมื่อถูกน้ำฝนที่ตกหนักมากจากพายุโซนร้อนอกาธ่า ที่มีปริมาณน้ำฝนมาถึง 300 มิลลิลิตรต่อ 30 ชั่วโมง จากปกติ 100 มิลลิลิตร หินจึงค่อย ๆ ละลาย ประกอบกับชั้นล่างของหินมีลักษณะเป็นโพรง ดังนั้น เมื่อชั้นบนของผิวดินไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้จึงยุบตัวลงมาเป็นหลุมขนาดใหญ่ หรืออาจเป็นไปได้ว่าบริเวณดังกล่าวยังเคยเกิดหลุมยุบมาแล้ว 

         ทั้งนี้ ปรากฎการณ์หลุมยุบในกัวเตมาลา มีความกว้างถึง 18 เมตร และลึกราว 30 เมตร โดยมีรายงานว่า เมื่อปี 2007 เคยเกิดเหตุแผ่นดินยุบตัวในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย

         นักวิชาการด้านธรณีวิทยา กล่าวด้วยว่า พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยก็มีลักษณะชั้นตะกอนของหินจับตัวไม่แน่นใกล้เคียงกับกัวเตมาลาเช่นกัน ทำให้หลายพื้นที่ในภาคใต้มีโอกาสเสี่ยงหลุมยุบได้มากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ จ.สตูล กระบี่ และตรัง ได้เกิดหลุมยุบขนาดเล็กมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะ อ.นาโยง จ.ตรัง เกิดหลุมยุบหลายจุดในพื้นที่ เนื่องจากมีสภาพเป็นหินปูนที่เสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบได้ง่าย








เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เตือนภาคใต้เสี่ยงเกิด หลุมยักษ์ แบบ หลุม กัวเตมาลา อัปเดตล่าสุด 3 มิถุนายน 2553 เวลา 17:02:33 52,213 อ่าน
TOP