x close

ชายลำปางตุ่มขึ้นตามตัวพบแมลงบินโผล่ คาดเป็น ริ้นดำ


ชายลำปางตุ่มขึ้นตามตัวพบแมลงบินโผล่

 


ชายลำปางตุ่มขึ้นตามตัวพบแมลงบินโผล่



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dpst.in.th , west-fly-fishing.com, wordpress.com


         ชวนขนลุก!! หนุ่มใหญ่ชาวลำปาง ตุ่มขึ้นตามตัวและมีแมลงบินออกมาออกมา คาดเป็นแมลง "ริ้นดำ" ระบาดมากในชนบทแอฟริกา ขณะที่แพทย์ไทยยังไม่ฟันธงเป็นโรคอะไร เพราะไม่เคยเจอ 

         จากกรณี หนุ่มใหญ่วัย 52 ปี ที่อาศัยอยู่ใน ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ป่วยโรคประหลาด มีตุ่มคันขึ้นตามร่างกายหลายแห่ง และเวลาที่มีอาการคันจะมีหัวของแมลงสีดำชนิดหนึ่งโผล่ออกมา ลักษณะคล้ายยุง ซึ่งเจ้าตัวเผยว่าเป็นมานานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว นอกจากนี้ยังมีแมลงบินออกจากผิวหนังมากกว่า 300 ตัว โดยต้องใช้ปลายมีดเขี่ยและสะกิดหัวแมลงออกมา เฉลี่ยวันละประมาณ 40 ตัว

         เกี่ยวกับเรื่องนี้ น.พ.สมบูรณ์ ชุ่มวิจารณ์ ผอ.โรงพยาบาลแม่ทะ จ.ลำปาง กล่าวว่า ได้รับตัวคนไข้รายนี้ มานอนรักษาประมาณ 1 อาทิตย์แล้ว และคนไข้ได้กลับบ้านไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นแมลง หรือโรคชนิดใด ส่วนตนทำงานเป็นแพทย์มากว่า 40 ปี ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้เลย

 


ตัวอ่อนของริ้นดำ


ริ้นดำ ตัวเต็มวัย



         อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลของโรคดังกล่าว พบว่า แมลงที่บินออกจากต่างกายของคนนั้นเคยระบาดมากในชนบทของแอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยแมลงชนิดนี้มีชื่อว่า "ริ้นดำ" (Black flies)  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าตัวคุ่น เป็นแมลงขนาดเล็ก อ้วน ๆ คอดตรงกลาง อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกแมลงวันและยุง (Diptera) สกุล Simulium มีอยู่ประมาณ 1,203 ชนิด พบมากในป่าซึ่งแมลงชนิดนี้เป็นพาหะสำคัญในการนำโรคมาสู่คนและสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย ฯลฯ เนื่องจาก ริ้นดำ กินเลือดสัตว์เลือดอุ่นเป็นอาหาร

         สำหรับโรคเกี่ยวกับแมลงริ้นดำที่พบในคนนั้น เกิดจากการที่ริ้นดำเพศเมียมากัดคน ขณะที่ดูดเลือดมันก็จะปล่อยตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมชนิด Onchocerca volvulus เข้าสู่คน โดยตัวอ่อนนั้นจะเคลื่อนไปฟักตัวชั้นใต้ผิวหนังในระยะเวลา 1-3 ปี จากนั้นจะเกิดก้อนเนื้อขึ้นใต้ผิวหนัง ในก้อนเนื้อจะมีทั้ง ริ้นดำ เพศผู้และเพศเมีย หลังผสมพันธุ์ตัวเมียจะผลิตตัวอ่อนขนาดเฉลี่ย 330 ไมครอนจำนวนมาก ซึ่งสามารถอยู่ในคนได้ 10-15 ปี  และผลิตลูกได้ถึง 500,000-1,000,000 ตัวต่อปีเลยทีเดียว


ลักษณะบริเวณที่ริ้นดำฝังตัวอยู่



         โดยปกติแล้ว ริ้นดำ จะอาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อน ชอบเกาะติดอยู่บนใบไม้หรือก้อนหินใกล้ลำธารน้ำ เพื่อกินอาหารตามน้ำ ซึ่งวงชีวิตของริ้นดำมี 4 ระยะคือ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ระยะไข่ถึงดักแด้ วางไข่ติดต่อกันตลอดปี ตัวเต็มวัยมีขนาดเล็กรูปร่างอ้วนสั้น มีขนาดความยาว 1.2-5.5 มิลลิเมตร สีลำตัวบางชนิดสีดำ บางชนิด มีสีน้ำตาลเข้ม หรือเทา ส้ม และเหลือง

 

วงจรชีวิตของริ้นดำ ได้แก่ 1. วางไข่ 2. ไข่ 3. ตัวอ่อน 4. ดักแด้ และ 5. ตัวเต็มวัย



ตัวอ่อนของริ้นดำ




         แต่สำหรับตัวอ่อนของพยาธิแมลง ริ้นดำ ที่มาฟักตัวอยู่ในคน จะมีผลต่อผิวหนัง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม อักเสบ อาจกลายเป็นโรคเท้าช้างได้ หรือหากลุกลามถึงปอด ตับ ก็จะทำให้ตายได้ และถ้าไปถึงตา มันจะทำลายเนื้อเยื่อและประสาทตาทำให้ตาบอด สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีผู้ใดศึกษาพยาธิวิทยาของริ้นดำว่านำโรคอะไร

 

ตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมชนิด Onchocerca volvulus






 



คลิป ชายลำปางตุ่มขึ้นตามตัวพบแมลงบินโผล่




อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
- dpst.in.th
- pudsandlosers.blogspot.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชายลำปางตุ่มขึ้นตามตัวพบแมลงบินโผล่ คาดเป็น ริ้นดำ อัปเดตล่าสุด 16 มิถุนายน 2553 เวลา 11:25:55 181,717 อ่าน
TOP