หลากวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านอย่างได้ผล







ข่าวน้ำท่วม

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก  คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา, คุณสะใภ้อินเตอร์ และ คุณกรรมกร

         น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมาไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!
 
          สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลจาก คุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่

          และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อ รวมถึงไอเดียเจ๋ง ๆ ของ คุณสะใภ้อินเตอร์ ที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาตลอด 4 ปี แต่ปีนี้มีวิธีป้องกัน และน้ำไม่ท่วมเข้าบ้าน นอกจากนี้ ยังมีวิธีทำประตูกั้นน้ำแบบถาวรของ คุณกรรมกร ซึ่งสามารถทำเองได้...มาฝากกันจ้า

          นอกจากนั้นแล้ว คุณ ทองกาญจนา ยังได้แนะนำเพิ่มเติมสำหรับ วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน มาฝากกันเพิ่มเติมอีกด้วย ...ไปดูวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านแบบต่าง ๆ กันเลย...

วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน by คุณทองกาญจนา



1. ส่วนที่ติดตั้งไว้ถาวรบริเวณประตูรั้วบ้าน

         - ทำกรอบรางเหล็กติดไว้ที่เสารั้วทั้งสองด้าน และฝังไว้ที่พื้น



         - รางเหล็กนี้มีขนาดกว้าง 2 นิ้ว ติดตั้งไว้ถาวร บริเวณขอบที่ติดกับเสาประตูรั้วพ่นด้วยซิลิโคน



         - ตรงกลางรางเหล็กที่ฝังไว้ที่พื้นจะเชื่อมด้วยเหล็กเส้นเพื่อใช้เสียบเสากลาง



         - และยังเจาะรูที่พื้น 2 รู เพื่อเสียบเสาค้ำยัน

2. ส่วนที่ถอดออกได้



         - ประกอบด้วย บานเหล็ก 2 บาน, เสากลาง และ เสาค้ำยัน



         - เสากลางเป็นรางเหล็กที่มีขนาดความกว้างเท่ากับที่ติดตั้งไว้ที่ประตูรั้ว นำด้านหลังมาเชื่อมให้ติดกัน และที่โคนเสาทำบากตามภาพ เพื่อให้เสียบลงไปบนรางเหล็กในภาพที่ 3 ได้



         - เสียบลงไปแล้วจะมีลักษณะนี้

3. การติดตั้งใช้งาน



         -เสียบแผ่นบานเหล็กแผ่นแรกเข้าไปในกรอบให้ชิดข้างเสารั้วด้านใดด้านหนึ่ง



         - ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยขอบของบานเหล็กกับกรอบราง ทั้งบริเวณเสารั้วและที่พื้น หรือจะใช้ซิลิโคนยิงตามขอบก็ได้ เพื่อกันน้ำซึมเข้าไป (แต่กันไม่ได้ 100% ต้องใช้เครื่องสูบน้ำหรือไดรโว่ ช่วย)



         - เสียบเสากลาง ประกบเข้าไปที่ด้านข้างของบานเหล็กด้านขวามือ ติดตั้งเสาค้ำยัน ยึดกับบานเหล็กด้วยสกรูและน๊อต



         - หลังจากนั้นก็ยกแผ่นบานเหล็กอีกแผ่นหนึ่ง ค่อย ๆ สวมลงไปในกรอบรางเหล็ก และติดตั้งเสาค้ำยันที่เหลือ แต่ถ้าต้องประกอบด้วยตนเองเพียงคนเดียว ควรยกแผ่นบานเหล็กอีกแผ่นหนึ่งวางเข้าไปในรางเหล็กก่อน แล้วจึงนำเสากลางเสียบลงไปจากด้านบน ในระหว่างรอยต่อของแผ่นเหล็กแต่ละบาน จะเบาแรงกว่ากันมาก แล้วก็อย่าลืมอุดดินน้ำมัน(หรือพ่นซิลิโคน) ในจุดรอยต่อให้ทั่วถึงด้วยนะ



         - ประตูรั้วบ้านของเราก็พร้อมที่จะป้องกันน้ำเข้าท่วมบริเวณบ้านแล้ว


ประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) by คุณกรรมกร

          ในช่วงที่ช่างปูนหายาก แถมทรายยังขาดตลาดอีก คุณกรรมกร จึงไม่อยากรอช้าตัดสินใจทำประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) ซึ่งถึงแม้ตอนนี้ที่บ้านน้ำยังไม่ท่วม แต่ต้องเตรียมการไว้แบบถาวรน่าจะดีกว่า โดย คุณกรรมกร เรียกช่างเหล็ก (พับ ตัด เจาะ) มาดูหน้างาน จากนั้นก็บอกรูปแบบและวิธีใช้งาน ส่วนรายละเอียดย่อยต่าง ๆ เช่น เรื่องซีลรอยรั่ว คุณกรรมกร ขอจัดการเอง ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาทำ 2 วัน (ตัด-พับ 1 วันครึ่ง / ทดลองติดตั้งครึ่งวัน)

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          เริ่มต้นจากวัดความกว้างของประตูและความสูงของแผ่นกั้นตามต้องการ จากนั้นสั่งพับเหล็กแผ่น ความกว้างน้อยกว่าขนาดจริงของประตู 1 เซนติเมตร เผื่อยกเข้าออกจะได้ไม่แน่นเกินไป เจาะรูตรงตามรูที่เสาเหล็กฉาก และตัดเสาเหล็กฉากตามความสูงของแผ่นกั้น เจาะรูสำหรับยึดสกรูด้านที่แนบกับผนังปูน เจาะรูอีกด้านของเหล็กฉากเพื่อใส่น็อตยึดแผ่นเหล็ก ตะไบรูน็อตเผื่อให้กว้าง (สูง) ขึ้นเล็กน้อยเผื่อใส่ตัวซีล (โฟมยาง)

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          ติดตั้งเสาเหล็กฉากทั้ง 2 ด้าน ใช้สกรูตัวไม่ต้องใหญ่มาก (ถอดเก็บง่าย) เว้นระยะให้เหมาะสม พร้อมยิงซิลิโคนด้านนอกให้เรียบร้อย

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

หน้าตาแผ่นเหล็ก(เจาะรูน็อต)

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          ติดกาว 2 หน้าแบบบาง 3 ด้าน ด้านล่างและด้านข้าง 2 ด้านที่แผ่นเหล็ก (สำหรับแผ่นที่ต้องต่อกัน 2 ชั้น ติดโฟมยางด้านบนด้วย) ตัดโฟมยางเป็นเส้นตามขอบ ติดแนบลงไป

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          ทดสอบการติดตั้ง ใส่น็อตยึดให้เรียบร้อย (หัวน็อตควรรองด้วยแหวนยาง) แผ่นยกประกบกับเสาได้ง่ายกว่าเสียบแบบรางหรือร่อง น้ำหนัก (ผู้หญิง) ยกได้สบาย ติดตั้งเองก็ง่ายครับ ใส่น็อตหรือขันน็อตเป็นก็ติดตั้งได้เอง

วิธีป้องกันน้ำท่วมบ้าน

          สามารถถอดเก็บได้เพียงถอดน็อตที่แผ่น ถอดสกรูที่เสาและแซะซิลิโคนออก หรือจะเก็บเฉพาะแผ่นแล้วติดตั้งเสาทิ้งไว้ ก็ไม่น่าเกลียด

          ทั้งนี้ ฝากไว้เป็นทางเลือกสำหรับบ้านที่มีประตูหรือกำแพงแบบนี้ครับ อาจจะเสียงบประมาณมากไปนิด แต่ก็แข็งแรง ทนทาน และเก็บไว้ใช้ได้ตลอดไป หรือจนกว่าจะผุพัง อย่างไรก็ตาม ไม่รับประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่มีน้ำ หยดน้ำ เล็ดลอดเข้ามา เพียงหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะพอบรรเทาความเดือดร้อนของเพื่อน ๆ พี่น้องเราได้ครับ


วิธีป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด หลังน้ำท่วมมา 4 ปี by คุณสะใภ้อินเตอร์


           คุณสะใภ้อินเตอร์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาถึง 4 ครั้ง น้ำได้ไหลทะลักเข้าไปในตัวบ้านจนข้างของเสียหายมาหลายครั้ง วิธีป้องกันน้ำท่วมหลายต่อหลายวิธี คุณสะใภ้อินเตอร์ก็ได้ลองทำมาหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งกระสอบทราย หรือดินน้ำมัน แต่วิธีเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้ามาได้ ... มาวันนี้ จากประสบการณ์ 4 ปีที่เคยผ่านน้ำท่วมมา คุณสะใภ้อินเตอร์ จึงมีวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างอยู่หมัดมาฝากกันค่ะ


สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553




สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553


ปีนี้เลยกั้นเหล็กให้สูงขึ้น



และหาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้


แล้วยึดด้วยกลอนสองชั้น



วิธีเข้าบ้านต้องเข้าแบบนี้ (อาจจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ)


ภายในบ้านในน้ำแผ่นพลาสติกอันซิลิโคนตามร่อง


จะเห็นได้ว่า น้ำไม่สามารถเข้าบ้านได้


อย่าลืมอัดซิลิโคนที่ประตูหลังด้วย


ภาพด้านซ้ายคือ ภาพรถที่ไม่ได้ป้องกันน้ำท่วม ส่วนภาพด้านขวาเลยหาคันยก และยกให้สูงขึ้น






การอัดซิลิโคนตามร่อง


ภาพน้ำท่วมเมื่อปีก่อน ๆ ใช้ดินน้ำมันอุด แต่ไม่สามารถกั้นน้ำได้


ส่วนภาพนี้ใช้กระสอบทราย ซึ่งก็มีน้ำไหลซึมตลอดเวลา




วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล by คุณทองกาญจนา

ข่าวน้ำท่วม

เตรียมการก่อน

         ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

         (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

         (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

         (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

         (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว

         เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

         เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

ภาพบรรยากาศ

         ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

ข่าวน้ำท่วม

         เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว

ข่าวน้ำท่วม

         ขณะที่ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที

ข่าวน้ำท่วม

         ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้

ข่าวน้ำท่วม

         บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

ข่าวน้ำท่วม

         อีกภาพหนึ่ง

ข่าวน้ำท่วม

         หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ


วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต์


         จากวิกฤติน้ำท่วมอย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ สร้างความสูญเสียให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และหลังจากที่มีข่าวมาว่า หลายเขื่อนรองรับน้ำอย่างเต็มพิกัดแล้ว ประกอบกับสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก็คงทำให้คนในพื้นที่เฝ้าระวังต่าง ๆ รวมถึงคนในกรุงเทพฯ ล้วนตื่นตัว และไม่รอช้าที่จะเตรียมรับมือเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

             ด้วยเหตุนี้ ของที่สำคัญในการป้องกันน้ำท่วมอย่าง "กระสอบทราย" รวมถึงอิฐบล็อกต่าง ๆ จึงขาดตลาด แต่เพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจไป เพราะในวันนี้เรามีวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน แนวคิดดี ๆ จาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ที่จะใช้วัสดุง่าย ๆ ในการป้องกันน้ำท่วม แบบไม่ต้องใช้กระสอบทราย มาแนะนำกันค่ะ

















เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หลากวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านอย่างได้ผล อัปเดตล่าสุด 24 ตุลาคม 2554 เวลา 11:42:40 607,262 อ่าน
TOP
x close