
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
กรมชลฯ เผยน้ำถึงสมุทรปราการแล้ว ระดมสูบระบายน้ำทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกลงอ่าวไทย มั่นใจไม่ท่วมนิคมลาดกระบัง
วันนี้ (12 พฤศจิกายน) นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกผ่านทางสถานีสูบน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และระบายออกสู่อ่าวไทยโดยตรง
โดยในฝั่งตะวันออก ใช้เครื่องสูบน้ำจำนวน 216 เครื่อง และอาคารบังคับน้ำอีก 59 แห่ง ในการระบายน้ำ ส่วนฝั่งตะวันตก ใช้สถานีสูบน้ำ 53 แห่งที่มีเครื่องสูบน้ำรวม 171 เครื่อง และอาคารบังคับน้ำ จำนวน 114 แห่ง ในการระบายน้ำ นอกจากนี้ในส่วนของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ใช้คลองลัดโพธิ์ ทางจังหวัดสมุทรปราการช่วยในการระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยด้วย
จากการติดตามข้อมูลการระบายน้ำพบว่า ในช่วงที่น้ำทะเลลดต่ำลงการระบายน้ำลงสู่ทะเลสามารถทำได้ดียิ่งขึ้น โดยกรมชลประทานได้มีการเตรียมความพร้อมในระบบระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่พื้นที่ จ.สมุทรปราการ และระบายออกสู่ทะเลไว้พร้อมแล้ว
ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์น้ำในฝั่งตะวันออก พบว่าขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือได้ทยอยไหลเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการแล้ว และกรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยการควบคุมการเปิดปิด ประตูระบายน้ำเพื่อบังคับให้น้ำไหลเข้าสู่สถานีสูบน้ำกว่า 8 แห่งและเร่งสูบน้ำออกสู่ทะเลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถสูบน้ำออกทะเลได้เต็มที่ 30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
นอกจากนั้น ได้มีการประสานงานกับกรุงเทพมหานครเพื่อควบคุมประตูระบายน้ำบริเวณถนนร่มเกล้าให้น้ำไหลเข้าสู่ระบบระบายน้ำและสูบออกทะเลผ่านทางสถานีสูบน้ำ พระโขนงของกรุงเทพมหานครอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่งฝั่งตะวันออก คือ นิคมบางชัน และนิคมลาดกระบัง ที่กำลังตั้งรับมวลน้ำที่ไปถึง กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำไปช่วยนิคมบางชัน 2 เครื่องแล้ว ส่วนนิคมลาดกระบังนั้น เชื่อว่าจะปลอดภัยไม่ถูกน้ำท่วม เนื่องจาก ระดับน้ำที่เดินทางไปถึงแล้วสูงประมาณ 0.7 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยังไม่ถึงระดับน้ำเตือนภัยของนิคมฯ ลาดกระบังที่ 0.9 - 1 เมตร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

กรมชลฯ เผยน้ำถึงสมุทรปราการแล้ว ระดมสูบระบายน้ำทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกลงอ่าวไทย มั่นใจไม่ท่วมนิคมลาดกระบัง
วันนี้ (12 พฤศจิกายน) นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกผ่านทางสถานีสูบน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และระบายออกสู่อ่าวไทยโดยตรง
โดยในฝั่งตะวันออก ใช้เครื่องสูบน้ำจำนวน 216 เครื่อง และอาคารบังคับน้ำอีก 59 แห่ง ในการระบายน้ำ ส่วนฝั่งตะวันตก ใช้สถานีสูบน้ำ 53 แห่งที่มีเครื่องสูบน้ำรวม 171 เครื่อง และอาคารบังคับน้ำ จำนวน 114 แห่ง ในการระบายน้ำ นอกจากนี้ในส่วนของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ใช้คลองลัดโพธิ์ ทางจังหวัดสมุทรปราการช่วยในการระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยด้วย
จากการติดตามข้อมูลการระบายน้ำพบว่า ในช่วงที่น้ำทะเลลดต่ำลงการระบายน้ำลงสู่ทะเลสามารถทำได้ดียิ่งขึ้น โดยกรมชลประทานได้มีการเตรียมความพร้อมในระบบระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่พื้นที่ จ.สมุทรปราการ และระบายออกสู่ทะเลไว้พร้อมแล้ว
ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์น้ำในฝั่งตะวันออก พบว่าขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือได้ทยอยไหลเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการแล้ว และกรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยการควบคุมการเปิดปิด ประตูระบายน้ำเพื่อบังคับให้น้ำไหลเข้าสู่สถานีสูบน้ำกว่า 8 แห่งและเร่งสูบน้ำออกสู่ทะเลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถสูบน้ำออกทะเลได้เต็มที่ 30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
นอกจากนั้น ได้มีการประสานงานกับกรุงเทพมหานครเพื่อควบคุมประตูระบายน้ำบริเวณถนนร่มเกล้าให้น้ำไหลเข้าสู่ระบบระบายน้ำและสูบออกทะเลผ่านทางสถานีสูบน้ำ พระโขนงของกรุงเทพมหานครอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่งฝั่งตะวันออก คือ นิคมบางชัน และนิคมลาดกระบัง ที่กำลังตั้งรับมวลน้ำที่ไปถึง กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องผลักดันน้ำไปช่วยนิคมบางชัน 2 เครื่องแล้ว ส่วนนิคมลาดกระบังนั้น เชื่อว่าจะปลอดภัยไม่ถูกน้ำท่วม เนื่องจาก ระดับน้ำที่เดินทางไปถึงแล้วสูงประมาณ 0.7 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยังไม่ถึงระดับน้ำเตือนภัยของนิคมฯ ลาดกระบังที่ 0.9 - 1 เมตร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก






[1 พฤศจิกายน] น้ำทะลักท่วม รพ.สมุทรปู่เจ้า-สมุทรปราการ
น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักท่วมโรงพยาบาลสมุทรปู่เจ้า จ.สมุทรปราการ หากต้านไม่ไหว เตรียมอพยพคนไข้
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีรายงานว่า โรงพยาบาลสมุทรปู่เจ้า จ.สมุทรปราการ ถูกน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาสุงระดับ 1 เมตรทะลักเข้าสู่โรงพยาบาล ไหลเข้าพื้นที่ชั้นใต้ดินที่เป็นห้องสำคัญด้านไฟฟ้าและเก็บยา ทำให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหลายคนต้องช่วยตั้งกระสอบทรายสูงราว 1.5 เมตรเป็นแนวป้องกัน และสูบน้ำจากชั้นใต้ดินออก
ด้าน นพ.พิพัฒน์ พงศ์รัตนามาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองสมุทรปู่เจ้า เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคนไข้อยู่ประมาณ 150 คน มีคนไข้ไอซียูและรอผ่าตัดรวม 12 คน ถ้าหากทางโรงพยาบาลต้านไม่ไหว อาจจะต้องย้ายคนไข้ไปรักษาที่อื่น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

น้ำท่วม จ.ปทุมธานี

น้ำท่วม จ.ปทุมธานี

น้ำท่วม จ.ปทุมธานี
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3
กรมชลประทาน เตือนสมุทรปราการเตรียมรับมือมวลน้ำขนาดใหญ่ที่ไหลจากปทุมธานี ด้าน ผวจ.สมุทรปราการ สั่งเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมชลประทานมีหนังสือแจ้งด่วนเตือนไปยังจังหวัดสมุทรปราการให้ระวังน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในช่วงนี้
ทั้งนี้ กรมชลประทานรายงานว่า ปริมาณน้ำจากอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ไหลบ่าลงมายังคลองรังสิตประยูรศักดิ์ จังหวัดปทุมธานี อยู่ในขั้นวิกฤติ และมวลน้ำดังกล่าวจะไหลลงมาสู่พื้นที่ตอนล่าง ผ่านคลองแสนแสบ คลองประเวศน์บุรีรมย์ เขตกรุงเทพมหานคร ลงสู่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และคลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ รวมไปถึงคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกัน
ทางด้านนายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมนายศรณ์พงษ์ ชูอาตม์ ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมบางพลี เพื่อประชุมหารือวางแนวทางป้องกันน้ำท่วมฉับพลันที่สมุทรปราการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจอันดับที่ 2 ของจังหวัดสมุทรปราการ
โดย นายเชิดศักดิ์กล่าวว่า เบื้องต้นทางนิคมอุตสาหกรรมบางพลีเสริมกระสอบทรายจาก 60 เป็น 80 เซนติเมตร และมีการเฝ้าระวังระดับน้ำอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เอาไว้หลายจุด ซึ่งพร้อมเดินเครื่องสูบน้ำทันทีหากมีฝนตกหนักในพื้นที่ โดยจะระบายน้ำได้ชั่วโมงละ 14,000 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เชื่อว่าหากฝนไม่ตกลงมาอย่างหนัก หรือมวลน้ำไม่มาในเวลาเดียวกันในจำนวนที่มากเกินความคาดหมายน่าจะรับมือได้
นายเชิดศักดิ์ ยังเปิดเผยอีกด้วยว่า สิ่งที่เรากังวลก็คือ หากปริมาณน้ำมากเกินกว่าคลองต่าง ๆ ที่เป็นตัวรองรับน้ำจากปทุมธานีได้ ซึ่งได้แก่ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต คลองเสาธง คลองจระเข้ใหญ่ คลองบางโฉลง หรือคลองลาดกระบัง จะส่งผลต่อระบบการสูบน้ำ-การระบายน้ำของทางจังหวัดที่อยู่แนวถนนเลียบคลองชายทะเลซึ่งสามารถรับน้ำได้เพียงวันละ 3 ล้านลูกบาตรเมตร เท่านั้น ดังนั้น ขณะนี้จึงต้องมีการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมปี 2554 แบบวันต่อวัน เพื่อสรุปแนวทางป้องกันและเตรียมรับสถานการณ์น้ำที่จะไหลทะลักลงมา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
