x close

ยุทธวิธีขจัดปัญหาหมอกควัน และไฟป่า




ยุทธวิธีขจัดปัญหาหมอกควัน และไฟป่า กองทัพภาคที่ 3 (e-magazine)

          ไฟป่าและหมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สาเหตุสำคัญ เกิดจากการเผาไร่ เตรียมกินและลุกลามเข้าสู่พื้นที่ป่า การเผาป่าเพื่อหาของป่าหรือล่าสัตว์ ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายไปในแต่ละปีหลายหมื่นไร่ ( ปี 2551 เสียหาย 28,999 ไร่ / ปี 2552 เสียหายไป 26,914 ไร่, ปี 2553 เสียหายไป 32,374 ไร่ และปี 2554 เสียหายไป 7,406 ไร่ )

          นอกจากพื้นที่ป่าเสียหายเป็นอย่างมากแล้ว ยังส่งผลปัญหาให้เกิดหมอกควันปกคลุมจังหวดภาคเหนือตอนบนในระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เนื่องจากภูมิประเทศจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา น่านและ ตาก มีสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ทำให้อากาศในตัวเมืองที่เป็นแอ่ง มีสภาพแห้งและเคลื่อนไหวน้อย ประกอบกับสภาพอากาศในช่วงเดือน มี.ค. ของทุกปี จะมีความกดอากาศสูง ลมสงบไม่เกิดลมแรงหรือพายุ เมื่อมีการเผาป่าหรือการเผาเศษวัสดุอื่น ๆ จึงส่งผลให้เกิดหมอกควันปกคลุม พื้นที่บริเวณกว้าง และเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายวัน



          อนึ่งในส่วนของการเกิดปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในห้วงเดือน มกราคม – มีนาคม ของทุกปี โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน นับตั้งแต่ ปี 2549 เป็นต้นมา ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากไฟไหม้ป่าในแถบประเทศเพื่อนบ้าน และในพื้นที่เขตไทยมีความรุนแรงและจำนวนเพิ่มขึ้น รวมทั้งมลพิษจากโรงงานและยานพาหนะในช่วงฤดูท่องเที่ยว ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิประเทศและความกดอากาศสูง ที่มีผลให้เกิดสภาวะกักควันและไออากาศร้อน

          การจัดกิจกรรมรนรงค์ แก้ไขปัญหาไฟป่า และ หมอกควันปี 55 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ เป็นการเตรียมการตลอดถึงเป็นการซักซ็อมกำลังพล เพื่อเตรียมการดับไฟป่า ซึ่งอาจะเกิดขึ้นได้ จึงได้จัดให้มีการซักซ้อม การดับไฟป่าขึ้น เพื่อเป็นการจำลองสถานการณ์ และการปฎิบัติจริงเมื่อเกิดเหตุ กองทัพภาคที่ 3 จึงร่วมกับส่วนราชการและเอกชนจัดกิจกรรมรณรงค์แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามโครงการ "ป้องภัยไฟป่า ด้วยพระบารมี" ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนีนาถ ที่กองพันพัฒนาที่ 3 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่โดยแม่ทัพน้อยที่ 3 เป็นประธาน ภายในงานมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานที่เข้าร่วมจัดและหัวข้อ โดยเทศบอลนครเชียงใหม่ และขบวนการผลิต ปุ๋ยหมักอินทรีย์จากเศษกิ่งไม้ ใบไม้ สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ จัดนิทรรศการในหัวข้อ สถานการณ์ / ปัญหา / สาเหตุ และการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน จังหวัด เชียงใหม่ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 และศูนย์ส่งเสริมควบคุมไฟป่า ภาคเหนือ กรมป่าไม้ จัดนิทรรศการเกี่ยวกับ บทบาทกรมป่าไม้ กับการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และ อบจ. เชียงใหม่ จัดนิทรรศการสาธิตเครื่องมือบรรเทาสาธารณภัย และเครื่องมือบดย่อย มีการจัดให้มีกิจกรรมที่เคลื่อนไหว เช่น การสาธิตการใช้ เครื่องมือบดย่อย โดยแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการรณรงค์แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ทภ.3 ปี 55 โดยมีมวลชนพลเรือน นักเรียนนักศึกษา กำลังพลทหาร และส่วนราชการ พลเรือน ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนประมาณ 2,000 นาย



          และมีการแสดงสาธิตการดับไฟป่า เป็นการแสดงผูกเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยจะกล่าวถึงต้นเหตุของไฟป่า มีชาวบ้านจุดไฟ เพื่อหาของป่า เกิดไฟไหม้ลุกลาม จึงแจ้งผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครหมู่บ้านช่วยกันดับไฟ แต่ไฟป่ารุนแรงไม่สามารถดับได้ ขณะเดียวกัน จนท. ไฟป่าก็กำลังลาดตะเวนอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านจึงแจ้งเหตุกับ จนท. ไฟป่าช่วยกันดับไฟ แต่ยังไม่สามารถดับไฟได้ จึงขอกำลังจาก ชปพ. เสือไฟ และกำลังทหารผ่าน ฉก.คฟป.ทภ.3 ร่วมกันดับไฟ แต่เนื่องจากภูมิประเทศสูงชัน เมื่อน้ำหมด จึงขอกำลังเฮลิคอปเตอร์จากกองพัน เพื่อบรรทุกน้ำและเสบียงสนับสนุนเจ้าหน้าที่ แต่ไฟป่ายังโหมไหม้ในที่สูง และยากแก่การเข้าดับ จึงขอเฮลิคอปเตอร์เข้าดับไฟ สุดท้ายไฟป่าดับลงได้ ด้วยความร่วมือร่วมใจ ของทุกฝ่าย รวมกำลังพลที่ใช้แสดง จำนวน 140 นาย

          แนวโน้มสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน ในช่วง มกราคม – เมษายน 55 น่าจะยังคงมีความรุนแรงเช่นเดิม หากประชาชนในพื้นที่ทียังไม่ลดละพฤติกรรม การเผาตามวิถีชีวิต เพิ่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การเผาเศษใบ กิ่งไม้ ขยะ และเพื่อหาของป่า หรือเพิ่อบุกรุกที่ดินทำกินแล้ว สถานการณ์ไฟป่า และหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ น่าจะดำรงความรุนแรงอยู่ต่อไป

          ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ไฟป่า และหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีค่า PM10 (ฝุ่นละออง ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา ) และ AQI (ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ) สูงเกินกว่ามาตรฐาน ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยกองทัพภาคที่ 3 ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง และจัดชุดปฎิบัติการเตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งหน่วย เพื่อดับไฟป่าร่วมกับส่วนของราชการในพื้นที่ทันทีที่เกิดสถานการณ์ไฟป่าอย่างต่อเนื่องต่อไป


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ยุทธวิธีขจัดปัญหาหมอกควัน และไฟป่า โพสต์เมื่อ 20 เมษายน 2555 เวลา 17:36:16 10,797 อ่าน
TOP