วันวิทยาศาสตร์ ใกล้เข้ามาแล้ว มาทำความรู้จักประวัติ 10 นักวิทยาศาสตร์ของโลก ผู้มีส่วนเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ สิ่งในโลกใบนี้
นักวิทยาศาสตร์ในโลกนี้มีมากมาย
แต่มีไม่กี่คนนักหรอกที่ประสบความสำเร็จจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
และสร้างความเปลี่ยนแปลงจนคนรุ่นหลังต้องขอบคุณสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้น
ซึ่งกว่าที่พวกเขาจะมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือจากผลงาน หลาย ๆ
คนก็อาจต้องเสียสละหรือผ่านความยากลำบากมาก่อนโดยที่เราไม่คาดคิด
ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้รวบรวมเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ
10 คนมาฝากกัน ...ตามมาอ่านเรื่องราวของพวกเขากันเลย
1. เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)
แน่นอนว่าในบรรดานักวิทยาศาสตร์เก่ง ๆ จะขาดนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่าง เซอร์ ไอแซก นิวตัน ไม่ได้เด็ดขาด โดย เซอร์ ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2185) และเสียชีวิตขณะอายุ 85 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 หรือ พ.ศ. 2270 (ตามปฏิทินจูเลียนของ จูเลียส ซีซาร์) ซึ่งเขาเป็นอัจฉริยะที่เก่งรอบด้าน ทั้งในฐานะนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยา โดยผลงานเด่นที่สุดของเขาที่คนรู้จักกันดีก็คือ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและกฎแรงโน้มถ่วงสากล ที่เขาคิดขึ้นมาได้จากการสังเกตผลแอปเปิลที่ตกจากต้นนั่นเอง
2. หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
3. กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
4. มารี กูรี (Marie Curie)
ภาพจาก Neveshkin Nikolay / Shutterstock
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากความเฉลียวฉลาดของเธอแล้ว การอุทิศตัวให้สังคมของเธอก็ยังทำให้หลาย ๆ คนประทับใจอีกด้วย เพราะเธอเลือกที่จะไม่จดสิทธิบัตรสิ่งที่เธอค้นพบซึ่งจะทำให้เธอกลายเป็นเศรษฐีได้สบาย ๆ แต่กลับเลือกอุทิศตัวเพื่อส่วนรวมและค้นคว้าต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตจากการใกล้ชิดรังสีเรเดียมมากเกินไปในที่สุด
5. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
ภาพจาก Georgios Kollidas / Shutterstock
คงไม่มีใครไม่รู้จักนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ในขณะที่มีอายุ 78 ปี คนนี้ ซึ่งถึงแม้เขาจะเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ที่จริงแล้วเขาเคยเป็นเด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้มาก่อน โดยเขาไม่สามารถพูดได้จนกระทั่งอายุ 3 ขวบ และอ่านหนังสือออกเมื่อ 8 ขวบ จนไม่มีใครคาดคิดว่าเขาจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จได้มากขนาดที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมถึงสร้างทฤษฎีใหม่ ๆ มากมาย
โดยเฉพาะผลงานเด่น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่อธิบายว่าเราทุกคนจะมองเห็นอัตราความเร็วแสงได้ในระยะเท่ากัน และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายกฎแรงโน้มถ่วงในเชิงเรขาคณิต ทำให้นักวิชาการหลายคนจับตามองจนได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด
6. ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Robert Darwin)
ภาพจาก Alexator / Shutterstock
7. โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison)
เชื่อเถอะว่าในบ้านของเราต้องมีสิ่งประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน กันทุกคนแน่นอน เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 (พ.ศ. 2390) และเสียชีวิตในวัย 84 ปี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) คนนี้ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์มากมายที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันกว่า 1,000 ชิ้น โดยเฉพาะการคิดค้นหลอดไฟที่เป็นผลงานชิ้นเอก แม้ว่าเขาจะมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ ทำให้อ่านหนังสือไม่ออกจนกระทั่งอายุ 12 ปี และบกพร่องเรื่องการฟังหลังประสบอุบัติเหตุบนรถไฟก็ตาม
8. นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)
ภาพ Georgios Kollidas / Shutterstock
9. กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi)
ภาพจาก Boris15 / Shutterstock
นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1874 (พ.ศ. 2417) และเสียชีวิตในขณะอายุ 63 ปี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) คนนี้ คือคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตวิทยุคนแรกของโลกอย่างเป็นทางการ ซึ่งกูกลิเอลโม มาร์โคนี ก็ได้ฉายแววความฉลาดมาตั้งแต่เด็กจากการสนใจเรื่องไฟฟ้าอยู่เสมอ จนพ่อของเขาสนับสนุนด้วยการจ้างครูพิเศษมาสอนเรื่องไฟฟ้าให้กับเขาโดยเฉพาะ และจากความสำเร็จของผลงานชิ้นสำคัญนี้ได้เปลี่ยนเขาให้กลายเป็นเศรษฐีจากการเปิดบริษัทวิทยุโทรเลขมาร์โคนีในที่สุด
10. อริสโตเติล (Aristotle)
ไหวพริบของอริสโตเติลนั้นทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นศิษย์เอกของอัจฉริยะอย่าง เพลโต ตั้งแต่อยู่ในวัย 18 ปี โดยผลงานที่เด่นที่สุดของเขาเห็นจะเป็นด้านชีววิทยา ซึ่งเขาเป็นผู้จำแนกประเภทของสัตว์ตามลักษณะออกเป็น 2 ประเภท คือ พวกที่มีกระดูกสันหลัง และพวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้คนนับถือความสามารถ จนได้เป็นพระอาจารย์และพระสหายสนิทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
หลังจากได้ทราบเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกทั้ง 10 คนนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าความพยายามและความขยันนั้นสำคัญกว่าโอกาสที่ได้รับจริง ๆ เพราะแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะมีความบกพร่องทางร่างกายหรือถูกกีดกันด้านความคิด แต่ก็สามารถพิสูจน์ตัวเองจนเป็นที่ยอมรับได้ในที่สุด