x close

ตรังดันสร้างเขื่อน หลังน้ำเซาะหาดปากเมงเข้าขั้นวิกฤติ


ตรังดันสร้างเขื่อน หลังน้ำเซาะหาดปากเมงเข้าขั้นวิกฤติ

ตรังดันสร้างเขื่อน หลังน้ำเซาะหาดปากเมงเข้าขั้นวิกฤติ

ตรังดันสร้างเขื่อน หลังน้ำเซาะหาดปากเมงเข้าขั้นวิกฤติ

ตรังดันสร้างเขื่อน หลังน้ำเซาะหาดปากเมงเข้าขั้นวิกฤติ


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

            ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดปากเมง อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ชี้หากไม่ป้องกัน ไม่เกินปี ต้นสนสัญลักษณ์ของหาดจะโค่นล้มหมด

            วันนี้ (4 กรกฎาคม) นายเสริฐ ทองย้อย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดปากเมง ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม กำลังเข้าขั้นวิกฤติแล้ว เนื่องจากต้นสนที่มีอายุกว่า 50 ปี และถือเป็นสัญลักษณ์ของหาดปากเมง ต้องถูกคลื่นกัดเซาะจนโค่นล้มลงไปหลายต้น จากต้นสนที่มีเหลืออยู่ประมาณ 200 ต้น และหากปล่อยไว้เช่นนี้ เชื่อว่าอีกไม่เกิน 1 ปี ต้นสนมีความเสี่ยงจะโค่นล้มลงไปทั้งหมด

            ก่อนหน้านี้ ทาง อบต.ได้เคยเสนอข้อมูลไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งต่อมาได้จ้างบริษัทเอกชนเข้ามาสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา และเห็นควรให้ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง จนได้จัดทำประชาคม หรือประชาพิจารณ์ และได้ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งชาวบ้านในตำบลไม้ฝาด เนื่องจากรูปแบบของเขื่อนดังกล่าวมีความสวยงาม ไม่ได้ทำให้ทัศนียภาพของชายหาดปากเมงเสียหาย แต่ท้ายสุดโครงการนี้ต้องล้มพับไป เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล

            อย่างไรก็ตาม ล่าสุดในการประชุมภาคส่วนต่าง ๆ ที่จังหวัดภูเก็ต ได้หยิบยกปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลอันดามันมาหารืออีกครั้ง พร้อมเสนอให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิเคราะห์และออกแบบเขื่อนป้องกันตลิ่ง ซึ่งขณะนี้ อบต.ไม้ฝาด อยู่ระหว่างดำเนินการผลักดันโครงการนี้ แม้จากข้อมูลจะพบว่าต้องใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท ต่อการก่อสร้างเขื่อนในระยะทาง 1.5 กิโลเมตร แต่ก็คุ้มค่ากับการอนุรักษ์หาดปากเมง และเป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่มากที่สุด

            ทางด้าน นายพงศ์ภวัน จิตรบรรเจิดกุล โยธาธิการและผังเมือง จ.ตรัง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ออกแบบเขื่อนป้องกันตลิ่ง ที่บริเวณชายหาดปากเมงเสร็จสิ้นแล้ว แต่ขณะนั้นทราบว่า ทางอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เจ้าของพื้นที่ ได้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน ทั้งที่การออกแบบมีความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือชายหาดเดิม เพราะเป็นการฝังลงไปในพื้นทราย แต่แล้วจนถึงล่าสุดโครงการนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก








เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตรังดันสร้างเขื่อน หลังน้ำเซาะหาดปากเมงเข้าขั้นวิกฤติ โพสต์เมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:33:48 1,495 อ่าน
TOP