x close

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ธ.ก.ส. ธนาคารคู่เกษตรกรไทย


ธ.ก.ส.

ธ.ก.ส.


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, ketsara-baac.blogspot.com

          ตั้งแต่อดีตที่ประเทศของเรามีกลุ่มเกษตรกรเป็นเสมือนเส้นเลือดหลักทางการค้า และปากท้องของคนไทย แต่คนกลุ่มนี้มักจะประสบปัญหาด้านฐานะทางการเงิน ไม่มีเงินทุนเพียงพอสำหรับใช้สอยระหว่างฤดูเพาะปลูก หรืออาจเกิดปัญหาภัยธรรมชาติจนไม่สามารถทำการเพาะเกี่ยวได้ทำให้ขาดทุน จึงต้องกู้ยืมเงินและต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก บางครั้งต้องขายผลิตผลให้แก่ผู้ปล่อยเงินกู้ซึ่งจะถูกกำหนดราคาซื้อเองตามใจชอบ เกษตรกรจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเป็นอย่างมาก และมีหนี้สินพอกพูนตลอดเวลา

          จากปัญหาเหล่านี้ รัฐบาลจึงได้ก่อตั้ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้เป็นสถาบันระดับชาติทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อให้แก่เกษตรกรอย่างกว้างขวางทั้งในด้านของเกษตรกรโดยตรงและสถาบันเกษตรกร โดย ธ.ก.ส. ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในปี พ.ศ. 2509 มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ความช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรไทย ด้วยอุดมการณ์ในการทำงานที่พนักงาน ธ.ก.ส. ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน คือ ไม่เบียดเบียนเกษตรกรลูกค้า จงทำงานหนัก เร่งรัด ฉับไว ถูกต้อง และแม่นยำ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

         สำหรับที่ตั้งของสำนักงานนั้น ตั้งอยู่ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 469 ถนนนครสวรรค์ แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพ 10300 และในปัจจุบัน ธ.ก.ส. ก็ได้ขยายพื้นที่ให้บริการ ไปในหลายพื้นที่ของแต่ละจังหวัด โดยในปี 2555 นี้ มีสาขารวม 1,169 แห่งทั่วประเทศ และมีผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาถึง 4,991,220 ราย


ธ.ก.ส.

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ก็คือ

          1. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตรในด้านต่าง ๆ คือ

                    ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม

                    ประกอบอาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้

                    พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรืออาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร

                    ดำเนินกิจการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร

          2. ประกอบธุรกิจอื่นอันเป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรม

          3. ดำเนินงานเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชนบท โดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือการบริหารจัดการแก่บุคคล กลุ่มบุคคล ผู้ประกอบการ กองทุนหมู่บ้าน หรือชุมชน รวมทั้งองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบใด ที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการประกอบอาชีพของเกษตรกรหรือชุมชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ของเกษตรกร หรือชุมชนให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการลงทุน การผลิต การแปรรูป และการตลาด หรือเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจหรือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

          4. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สหกรณ์ เพื่อใช้ดำเนินงานภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสหกรณ์

          ด้วยการดำเนินงาานตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ ทำให้ ธ.ก.ส. ได้ก้าวเข้ามาเป็นสถาบันทางการเงินที่มีบทบาทและบริการที่หลากหลายแก่เกษตรกรและกลุ่มลูกค้าทั่วไป ทั้งในการการให้สินเชื่อเพื่อการกู้ยืม และบริการที่ส่งเสริมการออมเงิน พร้อมทั้งบริการที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนี้

1. บริการด้านการออม

          1.1. เงินฝากกระแสรายวัน "ใช้เช็คฝาก-ถอนสะดวก ง่าย และคล่องตัว"

จุดเด่นของบริการ

          หมุนเวียนบัญชีได้ทุกวัน

          สามารถสั่งจ่ายในวงเงินที่สูงได้ไม่จำกัด

          สร้างเครดิตและความน่าเชื่อถือของตนเอง

          สะดวกปลอดภัย ไม่ต้องพกพาเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก

คุณสมบัติผู้ฝาก

          บุคคลธรรมดา ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

          นิติบุคคล

จำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก

          ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท

เงื่อนไขการถอน

          ถอนเป็นเช็ค

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

          1.2. เงินฝากออมทรัพย์ "เงินฝากออมทรัพย์ ออมเงินไว้คราวละเล็กละน้อย เพื่อสะสมไว้เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน"

จุดเด่นของบริการ

          ได้รับผลตอบแทนทุก 6 เดือน

          เก็บออมเป็นเงินก้อนไว้ใช้จ่าย

          สะสมเป็นเงินเก็บไว้ในอนาคต

          เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป และนิติบุคคล

          คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ไม่เสียภาษีดอกเบี้ย

          สามารถนำสมุดเงินฝาก ค้ำประกันเงินกู้

วัตถุประสงค์

          เก็บเป็นเงินออมไว้ใช้จ่าย

          สะสมไว้ใช้ในอนาคต

คุณสมบัติผู้ฝาก

          บุคคลธรรมดา ที่มีอายุตั้งแต่ 7  ปีขึ้นไป

          นิติบุคคล

จำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก

          ไม่ต่ำกว่า 50 บาท

การคิดดอกเบี้ย/ผลตอบแทน

          คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน

          บุคคลธรรมเนียมไม่เสียภาษีดอกเบี้ย

          นิติบุคคลเสียภาษีตามประกาศกรมสรรพากร

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

          1.3. เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ "ออมเงินระยะยาว ได้ดอกเบี้ยเงินฝากสูง"

จุดเด่นของบริการ

          ได้รับดอกเบี้ยในอัตราพิเศษ

          เก็บเป็นเงินออมไว้ใช้จ่าย

          สะสมไว้ใช้ในอนาคตตามที่ต้องการ

          ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดา

          คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ไม่เสียภาษีดอกเบี้ย

          สามารถนำสมุดเงินฝาก ไปใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้

วัตถุประสงค์

          เก็บเป็นเงินออมไว้ใช้จ่าย

          สะสมเป็นเงินออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินในอนาคต

คุณสมบัติผู้ฝาก

          บุคคลธรรมดา อายุตั้งแต่ 7  ปีขึ้นไป

          นิติบุคคล

จำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก


          ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท

จำนวนเงินฝาก-ถอนขั้นต่ำ


          ฝากครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท

          ถอนครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ยกเว้นการถอนดอกเบี้ยและการถอนปิดบัญชี

การคิดดอกเบี้ย/ผลตอบแทน

          คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ถ้ายอดคงเหลือต่ำกว่า 10,000 บาท จะคิดให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์

          บุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีดอกเบี้ย

          นิติบุคคลเสียภาษีตามประกาศกรมสรรพากร

เงื่อนไขการถอน

          ถอนครั้งละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท และถอนได้เดือนละ 1 ครั้ง ถ้าถอนเงินฝากครั้งที่ 2 ต้องเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ถอน แต่ไม่ต่ำกว่า 500 บาท

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

          1.4. เงินฝากประจำ "การออมอย่างมีจุดหมาย คือวิธีทางในการสร้างความมั่นคง"

จุดเด่นของบริการ

          ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ในอัตราที่แน่นอน

          เหมาะสำหรับข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างขององค์กร บริษัท ห้างร้าน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป

          สามารถนำสมุดเงินฝาก ไปใช้ค้ำประกันเงินกู้

วัตถุประสงค์


          เก็บเป็นเงินออมไว้ใช้จ่ายทั่วไป เพื่อสะสมไว้ใช้ในอนาคต

          สะสมเงินไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็นในอนาคต

คุณสมบัติผู้ฝาก

          บุคคลธรรมดา อายุตั้งแต่ 7  ปีขึ้นไป

          นิติบุคคล

จำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก


          จำนวนเงินเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท

การคิดดอกเบี้ย/ผลตอบแทน

          ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นให้ตามเงื่อนไขของประเภทเงินฝากประจำ

เงื่อนไขการถอน

          ถอนได้ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

ประเภทเงินฝากประจำ

          เงินฝากประจำ 3 เดือน, 6 เดือน, 12 เดือน, 24 เดือน, 36 เดือน, 48 เดือน, 60 เดือน

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 
2. บริการด้านสินเชื่อ แก่ ลูกค้า 3 ประเภท ดังนี้

          2.1 สำหรับลูกค้าบุคคล

          บัตรสินเชื่อเกษตรกร เพื่อเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ผู้ปลูกข้าว

          โครงการเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนให้กับผู้เลี้ยงไก่ไข่และสุกร

          สินเชื่อสวัสดิการบุคลากรภาครัฐและพนักงานองค์กร

          โครงการสินเชื่อข้าราชการบำนาญ

          โครงการให้ข้าราชการบำนาญกู้เงินโดยใช้สิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน

          โครงการสินเชื่อเพื่อจัดหาเครื่องจักร เครื่องยนต์

          สินเชื่อจัดหาเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ใช้ในการผลิต การแปรรูป และการขนส่งเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

          โครงการ Value Chain (ข้าวโพด)

          โครงการเพิ่มมูลค่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ครบวงจร ให้แก่เกษตรกร

          สินเชื่อสวัสดิการ สปสช.

          สินเชื่อสานฝันแรงงานคืนถิ่น

          สินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

          โครงการรับซื้อลดเช็คค่าบำรุงอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ที่โรงงานน้ำตาลเป็นผู้สั่งจ่าย

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

          2.2 ลูกค้าผู้ประกอบการ

          โครงการเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนให้กับผู้เลี้ยงไก่ไข่และสุกร

          โครงการ Value Chain (ข้าวโพด)

          โครงการเพิ่มมูลค่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ครบวงจร ให้แก่ผู้ประกอบการรายคน

          สินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บและการกระจายสินค้า (Logistics)

          สินเชื่อ ธ.ก.ส. สำหรับผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

          2.3 ลูกค้าสหกรณ์ กลุ่ม องค์กร

          โครงการเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนให้กับผู้เลี้ยงไก่ไข่และสุกร

          สินเชื่อแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          โครงการสินเชื่อเพื่อการขยายธุรกิจและเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของสถาบัน

          สินเชื่อสหกรณ์ออมทรัพย์

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

              
3. บริการด้านการเงิน-การธนาคาร ซึ่งมีการให้บริการ 5 ประเภทธุรกรรม ดังนี้

          3.1 บริการด้านเช็คและตั๋วเงิน

          3.2 บริการด้านการโอนเงิน

          3.3 บริการด้านฝาก-ถอน ผ่านเครื่องทำรายการ

          3.4 บริการด้านการชำระค่าบริการ

          3.5 บริการด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา

               
4. บริการด้านกองทุนธนาคารอิสลาม

          ซึ่งแบ่งอออกเป็น เงินฝากและสินเชื่อเพื่อประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะฮ์  ดดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

เงินฝากเพื่อประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะฮ์

          1. ผู้ฝากเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อประกอบ พิธีฮัจย์และอุมเราะห์ รหัสโครงการ "8021"

          2. เปิดบัญชีครั้งแรกตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป

          3. ธนาคารจะให้ตามหลัก "ฮิบะฮ์" ดังนี้

                    3.1) ธนาคารให้สิทธิขอสินเชื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เพียงพอในการเดินทาง

                    3.2) ธนาคารจัดทำตะกาฟุลอุบัติเหตุวงเงิน 100,000 บาท ขณะเดินทาง

                    3.3) ธนาคารให้ชุดตะละกง หรือ ชุดเอี๊ยะราม

                    3.4) ธนาคารให้เงินสนับสนุนจำนวน 20,000 บาท แก่ผู้ฝากจากทุก 100 บัญชี ที่มีเงินฝากจำนวน 100,000 บาทขึ้นไป เป็นเวลา 4 เดือน คัดเลือกให้ 3 บัญชีทั่วประเทศ

สินเชื่อเพื่อเตรียมไปประกอบพิธีฮัจย์ หรืออุมเราะฮ์

          1. ผู้ขอใช้สินเชื่อต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าประจำสาขา

          2. มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเหลือเพียงพอในการชำระคืนหนี้

          3. มีหลักประกันจำนองที่ดินหรือเงินฝาก ค้ำประกันในระบบอิสลาม

          4. มีหลักฐานข้อมูลการเงินจากบริษัทเครดิตแห่งชาติ (สำหรับแซะห์ และผู้ประกอบการ)

          5. มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการจากกรมการศาสนา (สำหรับผู้ประกอบการ)




5. บริการด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

          สามารถเบิกถอนเงินสด โอนเงินทั้งภายในธนาคาร หรือระหว่างธนาคาร อีกทั้งยังสามารถชำระค่าสินค้า บริการต่าง ๆ จากตู้ ATM ทั่วประเทศ

          ลูกค้าของ ธ.ก.ส. หรือบุคคลทั่วไป สามารถฝากเงินผ่านเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ (CDM) ของธนาคารที่เข้าร่วมให้บริการ เพื่อเข้าบัญชีเงินฝากของ ธ.ก.ส. ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยผู้ฝากไม่จำเป็นต้องมีบัตร ATM หรือบัญชีเงินฝากกับธนาคารเจ้าของเครื่องฝากเงินอัตโนมัติได้ 24 ชั่วโมง ทุกวัน

          นอกจากจะมีบริการที่หลากหลายแล้ว ทาง ธ.ก.ส. ก็ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการที่ต้องการติดต่อกับธนาคาร โดยสามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูล ได้ที่ ธ.ก.ส. สาขาทุกสาขา หรือ โทรศัพท์สอบถามที่  Call Center 0-2555-0555 บริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน และ ศูนย์บริการลูกค้า 1593 บริการ ในวันและเวลาทำการ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปเยี่ยมเยียนหรือหาข้อมูลได้ที่ www.baac.or.th

 


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ธ.ก.ส. ธนาคารคู่เกษตรกรไทย โพสต์เมื่อ 14 ธันวาคม 2555 เวลา 12:13:39 102,655 อ่าน
TOP