x close

อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า


อุกกาบาต คืออะไร อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า

อุกกาบาต คืออะไร อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า

   
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
  
            อุกกาบาตชนโลก เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นดาวตกขนาดยักษ์หรือไม่ แล้วทำไมหินชนิดนี้จึงมีค่านักในสายตานักวิชาการ

            จากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และและดาราศาสตร์ ทำให้เรามีการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอวกาศ เพื่อทำความรู้จักกับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อชาวโลก และในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีการค้นพบวัตถุจากนอกโลกหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย หรือแม้แต่อุกกาบาต ซึ่งสำหรับอย่างหลังนี้ คงเป็นเรื่องที่ทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข่าว อุกกาบาตพุ่งชนโลก ก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นอันตรายต่อคนในบริเวณที่อุกกาบาตนั้นตกลงมา มีคนไม่ใช่น้อยที่เกิดความหวาดกลัวต่อวัตถุนอกโลกชนิดนี้ และเกิดข้อสงสัยกันว่า อุกกาบาต คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมมันถึงได้พุ่งลงมาตกบนพื้นโลกของเราได้

            อันที่จริงแล้ว อุกกาบาต  (Meteorites) มีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการศึกษาทางด้านอวกาศ ที่ช่วยให้มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลก สำหรับอุกกาบาตนั้น เป็นชิ้นวัตถุแข็งที่มีส่วนประกอบของ หิน (Stone) และ เหล็ก (Iron) ซึ่งอยู่ในระบบสุริยะซึ่งเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะนี้ และมีอีกบางส่วนที่เกิดขึ้นจากเศษที่แตกหักออกมาจากดาวหาง โดยวัตถุเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า สะเก็ดดาว และต่อมาเมื่อสะเก็ดดาว โคจรเข้ามาอยู่ในรัศมีแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้มันถูกดึงดูดลงยังพื้นโลกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง จนเกิดการเสียดสีกับบรรยากาศจจนร้อนจัดและหลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง หากว่าสะเก็ดดาวนั้นมีขนาดเล็ก ก็จะถูกเผาไหม้และสลายไป เราเรียกว่า ดาวตก แต่หากสะเก็ดดาวมีชิ้นส่วนซึ่งสลายตัวไม่หมดและเหลือซากตกลงมาถึงพื้นโลก จนถูกเรียกว่าอุกกาบาต  โดยอุกกาบาตนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้



อุกกาบาต คืออะไร อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า

ประเภทของอุกกาบาต

              1. ประเภทหิน (Stone) แบ่งออกได้อีก 2 ชนิด คือ

                        1.1 คอนไดร์ท (Chondrites)

                        1.2 อคอนไดร์ท (Achondrites)

              2. ประเภทเหล็ก  (Iron)

              3. ประเภท หิน - เหล็ก (Stone - Iron)

             แต่เนื่องจากลักษณะภายนอกที่ดูคล้ายก้อนหินของอุกกาบาต ทำให้ยากแก่การระบุชัดว่าในบรรดาก้อนหิน กรวด ที่กระจายเกลื่อนอยู่เต็มพื้นนั้น ที่แท้แล้ววัตุชิ้นใดกันที่เป็นอุกกาบาต ซึ่งควรค่าแก่การนำไปศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม อุกกาบาตนั้นเป้นวัตถุพิเศษซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งทำให้ผู้ที่ค้นคว้าสามารถคัดกรองแยกอุกกาบาตจากก้อนหินธรรมดาได้ โดยใช้วิธีการสังเกต และทดสอบดังนี้

อุกกาบาต คืออะไร อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า

ลักษณะเด่นของอุกกาบาต

              1. ดูดติดแม่เหล็ก เนื่องจากอุกกาบาตมีส่วนประกอบของเหล็กอยู่ จึงทำให้มันสามารถดูดติดแม่เหล็กได้

              2. น้ำหนัก อุกกาบาตเป็นวัตถุเนื้อแน่น และมีส่วนประกอบของเหล็ก ทำให้มีน้ำหนักมาก

              3. เปลือกหลอม จากการเผาไหม้ขณอยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำให้อุกกาบาตเกิดเปลือกหลอม (fusion crust) บาง ๆ สีดำ ที่อาจมีประกายเงา หรือ ประกายด้าน ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร เปลือกหลอมนั้นก็จะยังคงมีประกายอยู่ 

              4. ลักษณะผิวภายนอก อุกกาบาตมักแสดงรอยยุบคล้ายรอยนิ้วมือ เนื่องจากผิวเกิดการหลอมในขณะเดินทางมายังโลก แต่สำหรับอุกกาบาตหินนั้นจะเห็นไม่ชัดเจนเท่าอุกกาบาตเหล็ก นอกจากนี้อุกกาบาตประเภทเหล็กมักแสดงความแหลมคมหรือเป็นเหลี่ยมมุมแหลม หรือแสดงแนวการไหลที่เกิดจากการหลอม ซึ่งคล้ายกับหินภูเขาไฟ

              5. ไม่มีรูพรุน จากลักษณะนี้เองที่ทำให้สามารถแยกอุกกาบาตจากหินภูเขาไฟได้

              6. เกล็ดโลหะ ส่วนมากอุกกาบาตประเภทหินมักแสดงเกล็ดโลหะ (metallic flakes) ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเศษชิ้นของเหล็กและนิเกิลจากนอกโลก เราสามารถสังเกตเห็นได้หลังจากตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือหลังจากกำจัดเหลี่ยมมุม

              7. คอนดรูล (Chondrules) ซึ่งเป็นโครงสร้างทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร ซึ่งมักพบในอุกกาบาตประเภทหิน ดังนั้นชื่อของอุกกาบาตประเภทหินลักษณะแบบนี้จึงเรียกว่า คอนไดร์ท (chondrites) ซึ่งเป็นอุกกาบาตที่พบตกมาบนผิวโลกมากที่สุด

              8. สนิมหรือสนิมเขียว อุกกาบาตที่ตกมายังโลกนานแล้วมักจะมีสนิม หรือในกรณีที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบแห้งแล้งทะเลทรายมักจะมีคราบสนิมเขียวที่เกิดจากการกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น ซึ่งมักจะมีสีเหลือง น้ำตาล แดง หรือส้ม

อุกกาบาต คืออะไร อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า

การตรวจสอบอุกกาบาต

              1. สำรวจด้วยตาเปล่า โดยใช้ลักษณะเด่นของอุกกาบาตมาจำแนกในเบื้องต้น

              2. ตรวจสอบโดยแม่เหล็ก เนื่องจากอุกกาบาตมีส่วนประกอบของเหล็กจึงสามารถใช้แม่เหล็กในการตรวจสอบได้

              3. ตรวจสอบสีผง แร่จำพวกเหล็กอ๊อกไซด์ เช่น แร่ฮีมาไทต์ (hematite) และ แร่แมกนีไทต์ (magnetite) ที่พบในหินบนโลกมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอุกกาบาตอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งแร่เหล่านี้ค่อนข้างที่จะหนัก และแสดงประกายแบบโลหะ จึงสามารถนำไปตรวจสอบโดยการนำวัตุนั้นไปขูดหรือขีดกับกระเบื้องที่ไม่เคลือบ อุกกาบาตเหล็กนั้นจะไม่ทำให้เกิดสีผง หรืออย่างมากก็มีเพียงรอยสีเทาจาง ๆ เท่านั้น

              4. ตรวจสอบนิกเกิล อุกกาบาตส่วนใหญ่ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิล ขณะที่หินบนโลกจะไม่มีนิกเกิล ดังนั้นถ้าตัวอย่างเราตรวจพบปริมาณนิกเกิลสูงก็อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นอุกกาบาต

              5. ตรวจสอบโดยตัดผิวหินอุกกาบาตให้เรียบ ขัดมันแล้วใช้กรดอย่างอ่อนกัด หากพบโครงสร้างรูปผลึกปรากฏเห็นชัดบนผิวเรียบนั้น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของอุกกาบาตหิน
           
            ทั้งนี้ ในอดีตพบว่า อุกกาบาตชนโลกมาหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งจากประวัติการค้นพบอุกกาบาตบนพื้นโลกที่ผ่านมา พบว่ามีทั้งขนาดเล็กซึ่งมีน้ำหนักเพียงไม่กี่กรัม จนถึงขนาดใหญ่ซึ่งตกลงมาทำให้เกิดหลุมบนพื้นโลก เรียกว่า เครเตอร์ (Crater) โดย หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุด คือ หลุมแบริงเยอร์ (Barringer Crater) ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา มีขนาดความกว้าง 1,250 เมตร ลึก 174 เมตร เท่ากับตึก 40 ชั้น ซึ่งเกิดจากอุกกาบาตเหล็กหนัก 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เมตร เมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วิชาการธรณีไทย
มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิกิพีเดีย
thaigoodview.com

   
 





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อุกกาบาตชนโลก หายนะ หรือแหล่งความรู้อันล้ำค่า โพสต์เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13:39:31 51,100 อ่าน
TOP