x close

พระธาตุลำปางหลวง... มนต์เสน่ห์แห่งเขลางค์นคร

 

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสขับรถไปเที่ยวทางภาคเหนือ และได้โอกาสไปกราบนมัสการพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองลำปางมาตั้งแต่สมัยล้านนา


พระธาตุลำปางหลวงในวันนี้ แม้จะผ่านวันเวลามายาวนาน แต่ความงดงามของศิลปะแบบล้านนาเก่าแก่ ยังคงปรากฏให้ผู้ศรัทธา และนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมไม่จืดจาง ทั้งในส่วนขององค์พระธาตุที่ปิดด้วยทองจังโกทั้งองค์ วิหารหลวงแบบล้านนา กู่ปราสาท ซุ้มประตูโขงอันงดงาม อีกทั้งยังมีซุ้มพระบาทที่สร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ฐานก่อขึ้นเป็นชั้นคล้ายฐานเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 1992 ภายในมองเห็นแสงหักเห ปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารในด้านมุมกลับ แต่มีข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้น เงาพระธาตุที่ลอดผ่านรูผนังมาปรากฏบนผืนผ้าภายใน"วิหารพระพุทธ" ที่ปรากฏเป็นเงาพระธาตุหัวตั้งให้ชมกันด้วยสีสันเหมือนจริง

ปัจจุบันภาพแม้เงาพระธาตุจะดูจืดจางลงไม่คมชัดเช่นเดิมเนื่องจาก พฤติกรรมของมนุษย์บางจำพวกที่ซุกซนเห็นรูเป็นไม่ได้ ชอบเอานิ้วไปแหย่ไปจิ้มทำให้รูที่แสงส่องเข้ามากว้างขึ้นความคมชัด ของเงาที่เกิดขึ้นก็น้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน


ประวัติวัดพระธาตุลำปางหลวง (ที่มา: วิกิพีเดีย) 

ตามตำนานกล่าวถึงประวัติของวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

Credit ภาพ: KRAINAM..follow me by IG
Samsung Galaxy Camera

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พระธาตุลำปางหลวง... มนต์เสน่ห์แห่งเขลางค์นคร โพสต์เมื่อ 8 มีนาคม 2556 เวลา 17:00:24 1,485 อ่าน
TOP