x close

ปชป. แนะ 4 มาตรการ รัฐกู้ภาพคอรัปชั่น

ปชป. แนะ 4 มาตรการ รัฐกู้ภาพคอรัปชั่น
 
          นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ผลสำรวจของบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงด้านการเมืองและเศรษฐกิจ(เพิร์ก) สำรวจความคิดเห็นนักธุรกิจระดับบริหารใน 13 ประเทศ ซึ่งผลปรากฎว่าประเทศไทยมีการคอร์รัปชั่นอันดับ2ในเอเชียรองจากประเทศฟิลิปปินส์ นั้น มีกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยตรง

          "ปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความไม่เป็นธรรม ในการประกอบธุรกิจ มีการจ่ายเงินสินบนใต้โต๊ะให้กับข้าราชการและนักการเมือง รัฐบาลต้องประกาศเป็นวาระแห่งชาติ มีแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการปราบปรามคอร์รัปชั่น ทั้งในระยะสั้นและยะยาว ควบคู่ไปกับการปกระกาศนโยบายในการลดการคอร์รัปชั่น " นายอลงกรณ์กล่าว

          รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเสนอ 4 มาตรการในการแก้ปัญหา ว่า

          1. มาตรการด้านสังคม มีการรณรงค์ โฆษณาประชาสัมพันธ์ในทุกสื่อเพื่อเน้นภัยร้ายของทุจริต ชักชวนให้ประชาชนแจ้งเบาะแสการคอร์รัปชั่นทุกระดับ เชิดชูคนดี ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล และจริยธรรมของผู้บริหารแลข้าราช มีการบรรจุหลักสูตรป้องกันการทุจริตในตำราเรียนของกระทรวงศึกษา

          2. มาตรการทางกฎหมาย รัฐบาลและสนช.จะต้องแก้ไขพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ด้วยการเพิ่มมูลฐานความผิดว่าด้วยเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเข้าเป็นหนึ่งในมูลฐานควาผิดของการฟอกเงิน เพื่อให้ปปง.ได้ติดตามเส้นทางการเงิน และบัญชีที่ซุกเอาไว้ สำหรับเงินที่สกปรกที่ได้มาจากกินสินบาทคาดสินบน ไม่ว่าจะอยู่ในหรือต่างประเทศ และรัฐบาลองเร่งรัดในการเสนอแก้ไขกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และประมวลกฎหมายอาญา โดยไม่ต้องกำหนดอายุความของคดีทุจริต หรือหากจะมีอย่างต้อง 30 ปีขึ้นไป เพื่อให้มีอายุความมากกว่าความผิดทางอาญาตามปกติ

          3. มาตรการทางการบริหาร ที่รัฐบาลต้องติดอาวุธให้กับป.ป.ช.และสตง. ด้วยการเพิ่มงบประมาณและบุคลากร มีการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจ้าง การให้สัมปทานภาครัฐใหม่ เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและโปร่งใส

          4. มาตรการทางการเมือง ด้วยการบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ลดต้นทุนทางการเมืองลง เพื่อลดอิทธิพลของธนกิจการเมือง อาทิ การให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมือง ด้วยการจ่ายภาษีสนับสนุนพรรคการเมืองเป็นต้น

          ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคการเมืองยังไม่สามารถเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจะมีความชอบธรรมที่จะให้ประชาชนนำภาษีมาสนับสนุนได้อย่างไร นายอลงกรณ์กล่าวว่า คิดว่าเป็นปัญหาไก่กับไข่ ยอมรับว่าในประวัติศาสตร์ทางการเมืองพรรคการเมือง ส่วนใหญ่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของนายทุน ที่หวังผลประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบายและบริหาร และผลประโยชน์จากโครงการของรัฐ ดังนั้นการที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนได้เต็มที่ 100 เปอร์เซ็นต์ นั้นคงเป็นไปไม่ได้

          อย่างไรก็ตาม นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ในเมื่อปัจจุบันมีกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง และให้กกต.เป็นผู้จัดสรรเงินส่วนนี้ให้กับพรรคการเมือง ประกอบกับแนวทางใหม่ที่จะให้ประชาชนหรือนิติบุคคลที่เสียภาษีรายได้ประจำปีให้กับรัฐอยู่แล้ว สามารถแสดงความจำนงขอจ่ายเงินภาษีส่วนหนึ่งให้พรรคการเมือง ทำให้ประชาชนได้ร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมืองด้วย

         

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปชป. แนะ 4 มาตรการ รัฐกู้ภาพคอรัปชั่น โพสต์เมื่อ 17 มีนาคม 2550 เวลา 00:00:00 1,427 อ่าน
TOP