
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก microcosmologist.com
ในแวดวงดาราศาสตร์ คงจะคุ้นเคยกับหน่วยที่เรียกว่า ปีแสง เป็นอย่างดี แต่กับคนทั่วไป แม้ว่าจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าแท้จริงแล้ว คำว่า ปีแสง คืออะไร และอาจจะยังสงสัยว่า ปีแสงเป็นหน่วยวัดระยะทาง หรือหน่วยบอกเวลากันแน่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากให้หายสงสัยกันค่ะ

ปีแสง (Light Year) ก็คือหน่วยระยะทางในทางดาราศาสตร์ ซึ่งหมายถึงระยะทางการเดินทางของแสงใน 1 ปี ซึ่งคิดจาก อัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที โดยนำมาคำนวณตามสูตร 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก ซึ่งแสงจากวัตถุบนท้องฟ้าจะใช้เวลาเดินทางนานเป็นปี กว่าเราจะมองเห็น ดังนั้นจึงเท่ากับเรามองเห็นแสงที่เป็นอดีตตลอดเวลา
.gif)
หากคิดคำนวณตามสูตรแล้ว 1 ปีแสง จะมีระยะทางไกลถึง 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร โดยใช้ค่าตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณตามกฎของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล จึงหมายความว่า ปีแสง ไม่ใช่หน่วยวัดเวลาอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นหน่วยวัดระยะการเดินเทางของแสงนั่นเอง











ขอขอบคุณข้อมูลจาก
th.wikipedia.org , mrvop.wordpress.com