x close

เอเชียศึกษา ชี้ สื่อและสังคมออนไลน์ มีบทบาทเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           นักวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา เผยสื่อออนไลน์มีผลกับการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง พร้อมแนะความขัดแย้งควรเจรจากันในกรอบ อย่าให้จินตนาการฆ่ากันเอง ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรหารือกันในสภา

           วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 สถาบันเอเชียศึกษาและศูนย์นโยบายสื่อ มีการจัดเสวนาเรื่อง “การยกเลิกความผิดจากการแสดงออกทางการเมืองในอาเซียนระยะเปลี่ยนผ่าน” โดยมีนักวิชาการเข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบนเวที ซึ่ง นายอุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมออนไลน์ หรือสื่อออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะรัฐไม่สามารถเข้าไปควบคุมการนำเสนอได้ ส่วนสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง ตนไม่อยากให้มีการจินตนาการเรื่องสีเสื้อ จนเกิดความขัดแย้งถึงขั้นเสียชีวิต แต่ควรหารือกันในกรอบ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ควรหารือกันในสภา

           ขณะที่ น.ส.จันจิรา สมบัติพูนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า เสรีภาพในการชุมนุมประท้วง เป็นสิทธิพลเมือง แต่มีคำถามว่าการใช้เสรีภาพดังกล่าวมีขอบเขตหรือไม่ และรัฐสามารถเข้าควบคุมได้หรือไม่ โดยการชุมนุมหรือการประท้วงต้องไม่ละเมิดระเบียบแห่งรัฐ หรือทำให้สังคมวุ่นวาย เช่น ปิดพื้นที่เศรษฐกิจ สถานที่ทำงานของรัฐบาล หรือถนนบางสาย ทำให้ประชาชนเดือดร้อน

           นอกจากนี้ การปิดพื้นที่ชุมนุมในประเทศไทย เช่น ประกาศเป็นห้ามเข้าระยะห่างระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมหลายเมตร มีแท่นปูนกั้นรั้วลวดหนามและมีรถตำรวจกั้น เพื่อให้มีพื้นที่ชุมนุมน้อย พร้อมกับติดป้ายว่าเป็นพื้นที่ใช้แก๊สน้ำตา ถือเป็นหลักปฏิบัติสากลเพื่อเลี่ยงความรุนแรงโดยรัฐ หรือป้องกันตนเองไม่ให้เพลี่ยงพล้ำทางการเมือง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เอเชียศึกษา ชี้ สื่อและสังคมออนไลน์ มีบทบาทเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง โพสต์เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:05:19 7,359 อ่าน
TOP