x close

นพดล งัด 6 ข้อ อัดศาลรัฐธรรมนูญ 2 มาตรฐาน


นพดล งัด 6 ข้อ อัดศาลรัฐธรรมนูญ 2 มาตรฐาน


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Noppadon Pattama 

            นพดล ปัทมะ โพสต์คำแถลงลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เผย 6 ข้อ ชี้ว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญกรณีแก้ที่มาของ ส.ว. เป็นการกระทำแบบสองมาตรฐาน และกำลังแทรกแซงการทำงานรัฐสภา ซึ่งถือว่ามิชอบด้วยกฎหมาย

            สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว. เป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 68 ซึ่งในเวลาต่อมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยรายชื่อ 308 ส.ส.-ส.ว. เข้าข่ายมีความผิดปมแก้รัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. นั้น

            ล่าสุด วันนี้ (9 มกราคม 2557) นายนพดล ปัทมะ ได้โพสต์คำแถลงลงใน เฟซบุ๊ก Noppadon Pattama โดยวิจารณ์การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่า กำลังแทรกแซงการทำงานของรัฐสภา ซึ่งจะทำให้การถ่วงดุลอำนาจเสีย อีกทั้งเหมือนเป็นการปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้รัฐธรรมนูญ แต่ไม่เห็นโดนคัดค้าน ซึ่งเรื่องนี้อาจส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นด้วย ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้...

            "คำแถลง นายนพดล ปัทมะ เรื่องคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไขมาตรา 190 มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

            คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่เหนือความคาดหมายของพรรคเพื่อไทย การตัดสินว่าการแก้ไขมาตรา 190 เรื่องอำนาจการทำหนังสือสัญญาของฝ่ายบริหาร ว่ามิชอบด้วยกฎหมายนั้นถือว่าเป็นการตัดสินที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังนี้

            1. การยื่นคำร้องตาม มาตรา 68 ต้องยื่นต่ออัยการก่อน ไม่สามารถยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

            2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้ตามมาตรา 291 ยกเว้นการแก้ไขเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจะทำไม่ได้ การแก้ไขมาตรา 190 จึงไม่ต้องห้าม

            3. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาซึ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ กรณีนี้เปรียบเสมือนเป็นการวิ่งคร่อมเลนของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน

            4. การที่ศาลอ้างเหตุผลว่า การแก้มาตรา 190 ในครั้งนี้จะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบการทำสัญญาของฝ่ายบริหารไม่ได้และเป็นการเสียดุลอำนาจ แต่ศาลกลับไปแทรกแซงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติในการแก้รัฐธรรมนูญ ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นอำนาจของรัฐสภาในการแก้อย่างชัดแจ้ง จึงไม่เป็นการทำให้การถ่วงดุลอำนาจเสียไปเท่านั้น แต่เป็นการทำลายการถ่วงดุลไปเสียสิ้น

            5. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งที่ตัดสินคดีนี้ก็เคยพูดว่า ให้รับรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ไปก่อน แล้วค่อยแก้ภายหลัง แต่เมื่อตัวแทนประชาชนจะแก้ กลับมาบอกว่าทำไม่ได้

            6. พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เช่นกัน ก็ไม่เห็นว่ามีปัญหาอะไร

            จากคำตัดสินสะสมของศาลรัฐธรรมนูญที่วงการนักกฎหมายกังวลใจอย่างมาก ทั้งเรื่องความถูกต้องและความชอบด้วยกฎหมายของคำตัดสินที่ศาลรัฐธรรมนูญไปเติมข้อความในกฎหมายเสียเอง ในคดีเรื่องคำแถลงการณ์ร่วมที่ตุลาการบางคนอ้างว่า ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งผมขอเรียนว่า ถ้าท่านได้ศึกษาคำตัดสินของศาลโลกอย่างถ่องแท้ ท่านจะทราบว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยทำให้ปกป้องรักษาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตาราง กิโลเมตร มิให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนได้

            นอกจากนั้นนักกฎหมายกำลังเป็นห่วงการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน คือ ฝ่ายหนึ่งทำอะไรก็ถูกหมด อีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรก็ผิดหมด นักการทูตต่างประเทศสอบถามตนว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย เพราะนักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่น และเห็นว่าว่าการตัดสินที่มิชอบด้วยกฎหมายจะกัดกร่อนความเป็นนิติรัฐของประเทศโดยคนไม่กี่คน"


นพดล งัด 6 ข้อ อัดศาลรัฐธรรมนูญ 2 มาตรฐาน





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นพดล งัด 6 ข้อ อัดศาลรัฐธรรมนูญ 2 มาตรฐาน อัปเดตล่าสุด 9 มกราคม 2557 เวลา 13:42:54 11,970 อ่าน
TOP