
อาบัติ คืออะไร เจาะลึกพระวินัยค้นความหมาย
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก vimuttisuk.com
อาบัติคืออะไร การกระทำผิดสิกขาบท ไหนถึงเรียกว่า อาบัติ อาบัติสังฆาทิเสสและปกปิดอาบัติ มีอะไรบ้าง ตามมาหาคำตอบกัน
ว่ากันว่า อาบัติเป็นไฟ ใจเป็นน้ำ จะต้องอาบัตินั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากคุมสติดีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะต้องอาบัติเช่นกัน กล่าวถึงตรงนี้บางอาจสงสัยกันว่า อาบัติ คืออะไร ทำไมถึงต้องอาบัติ โดยส่วนใหญ่คำนี้มักใช้กันเกร่อโดยความหมายเพียงคร่าว ๆ ว่าเป็นเรื่องของความผิดทางสงฆ์ แต่อาบัตินั้นลึกซึ้งและมีข้อกำหนดกว่าที่คิด มาเจาะลึกถึงความหมายของ อาบัติกันค่ะ

อาบัติ (อาปตฺติ) เป็นภาษาบาลี ซึ่งแปลตามรากศัพท์ว่า การต้อง การกระทบ หรือความหมายที่เข้าใจง่าย ๆ คือ ผิดศีล ศีลขาด (ใช้กับพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น) การมีโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดในข้อ (พระวินัยบัญญัติ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้าม
อาบัติ มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท ?
โดยทั่วไปการอาบัติก็เหมือนการละเมิดข้อห้าม ศีลทั้ง 227 ข้อของพระสงฆ์ ซึ่งก็มีทั้งความผิดสถานเบาและสถานหนัก โดยการอาบัตินั้น มีทั้งหมด 7 ประเภท สามารถแยกย่อยเป็นความผิดโทษเบาและหนักได้ดังต่อไปนี้
1. ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส หากละเมิดปาราชิกต้องขาดจากความเป็นพระสงฆ์ ส่วนสังฆาทิเสส สามารถปลงอาบัติได้ต้องอยู่ "ปริวาสกรรม" (ทรมานตนตามระเบียบ)
2. ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต เป็นความผิดที่ปลงอาบัติได้ เพียงสำรวมควบคุมสติ และร่วมเข้าพิธีปลงอาบัติของสงฆ์ที่มักทำในวันโกน
ซึ่งการอาบัติแต่ละข้อ ก็มีความหมายและรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าการละเมิดศีลข้อต่าง ๆ เป็นการอาบัติประเภทใดนั้น มาดูกันเลยค่ะ

ปาราชิก แปลว่า การปราชัย พ่ายแพ้ต่อกิเลส ถือเป็นอาบัติขั้นสูงสุดของพระสงฆ์ ทำให้ขาดจากการเป็นพระทันที ไม่ว่ามีผู้รู้เห็นหรือไม่ โดยมีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้





สังฆาทิเสส ถือเป็นอาบัติหนักรองมาจาก ปาราชิก โดยมีทั้งหมด 13 ข้อ ดังนี้













เมื่อภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสควรทำอย่างไร
การต้องอาบัติสังฆาทิเสสถือเป็นอาบัติหนัก แต่สามารถแก้ไขการปริวาสกรรม คือ การปฏิบัติสังฆธรรมเพื่อปลงอาบัติด้วยการอยู่กรรม โดยปริวาสกรรมจะดำเนินพิธีกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์อื่นในการประพฤติช่วยไม่น้อยกว่า 4 รูป เพื่อการออกจากอาบัตินั้น หรือหากสงฆ์ลาสิกขาออกไปเป็นคฤหัสถ์ ให้ถือว่าไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสติดตัวแต่อย่างใด แต่หากกลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติที่ต้องจากการบวชครั้งก่อนก็จะมีเหมือนอย่างเดิม ต้องทำการแก้ไขด้วยการอยู่ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ตนเองต้องอาบัติจนถึงปัจจุบันสงฆ์ถึงจะออกจากอาบัตินั้นได้

ถุลลัจจัย เป็นความผิดที่มีโทษขั้นเบา ไม่ร้ายแรงเท่าอาบัติปาราชิก ถุลลัจจัยมักเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้กระทำ เพียงแต่คิดเจตนาจะกระทำ เช่น มีความกำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ มีอารมณ์เพศ คิดจะร่วมเพศ ก็จะอาบัติถุลลัจจัย

เป็นอาบัติที่ไม่ต้องโทษร้ายแรง ให้โทษคือ เรียกสงฆ์มาว่ากล่าวตักเตือน ปาจิตตีย์ มักเป็นความผิดในเชิงการใช้คำพูด เช่น พูดส่อเสียด กล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน

ปาฏิเทสนียะ แปลว่า พึงแสดงคืน ส่วนมากเกี่ยวเนื่องกับโภชนาสงฆ์ เช่น ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือผู้หญิง ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดไว้ก่อนเมื่ออยู่ป่า

ทุกกฏ แปลว่า ทำไม่ดี ที่มักเกิดขึ้นจากความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนมากเกี่ยวกับมารยาทต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น ภิกษุสวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ

ทุพภาสิต แปลว่า คำชั่ว คำเสียหาย คำพูดที่ไม่ดี โดยเป็นอาบัติเบาที่สุด มักเกิดขึ้นโดยความนึกคิดดีไม่ได้ส่อเจตนาร้าย เช่น ภิกษุพูดกับภิกษุที่มีกำเนิดเป็นจัณฑาล ว่าเป็นคนชาติจัณฑาล ถ้ามุ่งว่ากระทบให้อัปยศ ต้องอาบัติทุกกฎ แต่ถ้ามุ่งเพียงล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาสิต
ทั้งนี้พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติชั้นความผิดของการละเมิดสิกขาบท (ไม่ประพฤติตาม) และทรงกำหนดการออกจากอาบัติไว้ตามครุกาบัติ และลหุกาบัติ เพื่อให้สงฆ์พึงรู้ พึงปฏิบัติ และพึงเข้าใจ พร้อมให้ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ถ่องแท้ถึงความหมายที่ว่าไว้ มิใช่เพียงใช้โดยมิได้นำพา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
dhammathai.org, vimuttisuk.com