


อาจารย์ใหญ่ คือ การบริจาคร่างกายเป็นกายวิทยาทาน เป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์และคุณค่า เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ค้นคว้าเรียนรู้ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วยในอนาคต
เริ่มต้นชีวิตของมนุษย์เกิดมาพร้อมร่างกายที่มีเนื้อหนัง กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ ครบ 32 ประการ หรืออาจมีบางคนที่ผิดปกติไปบ้าง แต่เมื่อยามที่ต้องละสังขาร ก็จะแหลือเพียงร่างไร้วิญญาณที่รอให้ญาติมิตรนำไปประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นก็จะนำร่างไปฝัง หรือเผา ตามความเชื่อ แต่ในปัจจุบันยังมีทางเลือกหลังความตายที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับวงการแพทย์ นั่นก็คือการบริจาคร่างกายเป็น อาจารย์ใหญ่ หรือเรียกว่า "กายวิทยาทาน
เมื่อเอ่ยถึงอาจารย์ใหญ่ หลาย ๆ คนอาจจินตนาการถึงความหลอนและความน่าสะพรึงกลัวของศพคนตาย ที่มีเรื่องเล่าสุดหลอนสืบต่อกันมา ทั้งที่จริงแล้ว อาจารย์ใหญ่ คือ ร่างของผู้ที่ได้แสดงเจตนาจะบริจาคร่างไว้ก่อนที่จะหมดลมหายใจให้กับนักศึกษาแพทย์ได้ใช้ในการศึกษาหาความรู้ในเรื่องของระบบร่างกายเพื่อช่วยผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้มีการระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้อุทิศร่างกายจะต้องไม่เสียชีวิตด้วยโรคร้ายแรง และต้องมีอวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายครบถ้วน ซึ่งในปัจจุบันมีอาจารย์ใหญ่ 3 รูปแบบคือ



วิธีการเตรียมร่างอาจารย์ใหญ่เพื่อการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์







ทั้งนี้ระยะเวลาใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ในการศึกษาคือ 1 ปี และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับร่าง-พระราชทานเพลิงศพ ใช้เวลา 2-3 ปี และเมื่อนักศึกษาแพทย์ได้ใช้ประโยชน์จากร่างของอาจารย์ใหญ่แล้วครบตามกำหนด ทุกปลายปีจะมีการจัดสวดอภิธรรม พิธีพระราชทานเพลิงศพให้แก่อาจารย์ใหญ่ทุกท่าน และนำอัฐิไปลอยอังคารต่อไป
สำหรับขั้นตอนในการบริจาคร่างกายในการเป็นอาจารย์ใหญ่ของแต่ละโรงพยาบาลจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจะขอหยิบยกระเบียบการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นตัวอย่าง ดังนี้
ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงพยาบาลจุฬาฯ
ขั้นตอนแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

- ใช้สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ

- แสดงความจำนงโดยตรง ณ สถานที่ที่รับอุทิศ ซึ่งจะได้รับบัตรแสดงความจำนงภายใน 10 นาที
- ส่งเอกสารแสดงความจำนงมาทางไปรษณีย์ พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ติดแสตมป์ แล้วส่งมาที่แผนกอุทิศร่างกายฯ ศาลาทินทัต รพ.จุฬาฯ ซึ่งจะส่งบัตรกลับไปให้ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน โทรศัพท์ 02-2564281 , 02-2564628 , 02-2564685 , 02-2527028 ต่อ 0 หรือ 4 หรือ 7



- ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02-2564281 , 02-2564628 , 02-2564685 , 02-2527028 ต่อ 7
- ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 11 โทรศัพท์ 02-2564281 , 02-2564628 , 02-2564685 , 02-2527028 ต่อ 0 หรือ 4
ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงพยาบาลศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลศิริราช
เอกสารที่ต้องเตรียม


การอุทิศร่างกายสามารถดำเนินการได้ 2 ทาง คือ ติดต่อโดยตรงที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ หรือส่งแบบฟอร์มทางไปรษณีย์
ขั้นตอนแสดงความจำนงอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา






หากทำบัตรหายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ให้แจ้งภาควิชาฯ ในวัน และเวลาราชการ
ท่านที่ต้องการยกเลิกพินัยกรรมการอุทิศร่างกายฯ กรุณาแจ้งให้ภาควิชาฯ ทราบ

คุณสมบัติอาจารย์ใหญ่ และข้อจำกัดในการรับศพผู้อุทิศร่างกาย








สำหรับผู้ที่สนใจบริจาคร่างกายเพื่ออุทิศเป็นอาจารย์ใหญ่ สามารถติดต่อไปยังโรงเรียนแพทย์แต่ละแห่งได้ดังนี้
- โรงพยาบาลศิริราช : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ตึกกายวิภาคศาสตร์ ชั้น 1 โรงพยาบาลศิริราช โทร.0-2419-7035 หรือ 0-2411-0241-9 ต่อ 7035
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ติดต่อที่แผนกอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ศาลาฑินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร.0-2256-4628 และ 0-2256-4281
- โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร.0-2254-5198 หรือ 0-2246-1358-74 ต่อ 4101, 4102
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โทร.0-2260-1532, 0-2260-2234-5 ต่อ 4501
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า โทร.0-2246-0066 ต่อ 93606
สำหรับต่างจังหวัดสามารถบริจาคได้ที่โรงเรียนแพทย์ในภูมิภาค

สิ่งที่ทายาทต้องดำเนินการเมื่อผู้อุทิศร่างเสียชีวิต
ทั้งนี้เมื่อผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิต ทายาทจะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดต่อโรงพยาบาล และทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลระบุไว้ ยกตัวอย่างของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีดังนี้




- สำเนาใบมรณบัตร จำนวน 3 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวของทายาท ผู้มอบร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ
- เจ้าหน้าที่ที่ไปรับร่างจะแสดงบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและนำเอกสารหนังสือสำคัญการมอบศพ ให้ญาติกรอกรายละเอียด ลงนามเป็นหลักฐาน พร้อมมอบเอกสารคำแนะนำภายหลังการรับศพ จำนวน 1 ฉบับ
- เมื่อโรงพยาบาลรับร่างมาแล้ว ร่างผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ถือเป็นมรดกที่มอบไว้ให้กับโรงพยาบาล ซึ่งจะนำมาใช้ศึกษา วิจัยทางการแพทย์ตามความเหมาะสม ดังนี้




สิ่งที่ทายาทจะได้รับ


จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่ในทางตรงข้ามกลับสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นอีกมาก และเป็นการทำในสิ่งที่มีคุณค่าต่อเพื่อนมนุษย์
world_id:555c613438217a2140000003
ภาพจาก รายการกบนอกกะลา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
redcross.or.th , sc.mahidol.ac.th , รายการกบนอกกะลา