นักวิชาการแจง ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง เมื่อช่วงเย็นวันที่ 9 มิถุนายน หลังคนกรุงตื่นตะลึง เผยเรียกว่า iridescent cloud
เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. ของวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกมาชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก บัญชา ธนบุญสมบัติ หลังจากเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ ได้มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ประเด็นเมฆสีรุ้งที่ปรากฏเหนือท้องฟ้าเมื่อช่วงเย็นวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งมองเห็นได้หลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร และมีการแชร์กันทั่วโลกโซเชียล โดยระบุว่าปรากฏการณ์นี้เรียกว่า "เมฆสีรุ้ง หรือเรนโบว์คลาวด์" ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แจ้งข่าว : ทีมงาน เรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 ทำผิด อย่างน้อย 2 เรื่อง
1) นำเสนอข่าวในลักษณะคล้ายกับว่าผมให้สัมภาษณ์ โดยที่ข้อเท็จจริงคือ ไม่เคยโทรมาคุย
2) นำเสนอข่าวโดยบอกว่า ผมเรียกเมฆสีรุ้ง ว่า "เรนโบว์คลาวด์" ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ผมบอกเพื่อนสมาชิกในชมรมคนรักมวลเมฆ เป็นระยะว่าคำ ๆ นี้เป็นคำที่ผิด และคำที่ถูกต้องคือ iridescent cloud หรือหากเป็นปรากฏการณ์ ก็เรียก iridescence หรือ irisation
กำลังหาทางแก้ไขอยู่ครับ
บันทึก : พุธ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 12:05 น.
สำหรับปรากฏการณ์ iridescent cloud เกิดจากการที่แสงสีขาวของดวงอาทิตย์ ตกกระทบเม็ดน้ำขนาดต่าง ๆ ในเมฆจาง ๆ แล้วเกิดการเบี่ยงเบนทิศทางไปจากแนวเดิม เรียกว่า การเลี้ยวเบน (diffraction) แต่เนื่องจากแสงสีต่าง ๆ (ที่ประกอบขึ้นเป็นแสงสีขาว) เลี้ยวเบนได้ไม่เท่ากัน ทำให้แสงสีขาวแตกออกเป็นสีรุ้ง
หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุด วันที่ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 13.40 น.
ภาพจาก ทวิตเตอร์ @tackie__ @MrVop
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, เฟซบุ๊ก บัญชา ธนบุญสมบัติ