ฟ้าแบ่งสี วันเหมายัน ผู้เชี่ยวชาญอธิบายเกิดจากอากาศแห้งปะทะอากาศชื้น



ฮือฮา ! ปรากฎการณ์สุดแปลก

          ปรากฏการณ์ "ฟ้าแบ่งสี" ในวันเหมายัน ที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน 41 นาที ท้องฟ้าแบ่งเป็น 2 ฝั่ง 2 สี อย่างชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่าเกิดจากท้องฟ้าที่มีอากาศเย็นและแห้ง ปะทะกับ อากาศอุ่นและชื้น ทำให้เกิดรอยต่อตามขอบเมฆ

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นวันเหมายัน ที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน 41 นาทีนั้น ได้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามแปลกตาอย่างปรากฏการณ์ฟ้าแบ่งสีขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัด ทั้งแพร่ น่าน สุโขทัย โดยที่จังหวัดแพร่ เมื่อแหงนมองท้องฟ้า จะสังเกตเห็นภาพก้อนเมฆขนาดใหญ่รวมตัวเกาะกันเป็นลักษณะแนวกำแพง เป็นแนวยาวทางทิศตะวันออก แบ่งเส้นท้องฟ้า เป็น 2 ฝั่ง 2 สี ขาว-ฟ้า อย่างชัดเจน ทำให้ประชาชนที่พบเห็นต่างพากันออกมาดู และถ่ายภาพแชร์แบ่งปันผ่านโลกโซเชียลกันอย่างคึกคัก

ฮือฮา ! ปรากฎการณ์สุดแปลก

          นอกจากนี้ ยังมีรายงานอีกว่า ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยก็ได้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้นเช่นกัน โดยช่วงเที่ยงชาวสุโขทัยได้เริ่มสังเกตเห็นภาพก้อนเมฆสีขาวลอยมาบดบังดวงอาทิตย์ ก่อนที่จะค่อย ๆ ลอยออกไป จนเห็นภาพท้องฟ้าเป็น 2 ฝั่ง 2 สี ตัดกันอย่างสวยงาม

ฮือฮา ! ปรากฎการณ์สุดแปลก

          ล่าสุดวันที่ 23 ธันวาคม 2558 ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ ได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊ก บัญชา ธนบุญสมบัติ โดยระบุว่า ปรากฏการณ์ฟ้าแบ่งสีดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า เมฆขอบตรง (Straight-edged Cloud) และมีอีกหนึ่งชื่อเรียกเช่น cloud bank แต่ถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ อาจเรียกว่า cutting phenomenon (CP)

          สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาจาก ในฝั่งที่ไม่มีเมฆเป็นอากาศเย็นและแห้ง เมื่อมาปะทะกับอากาศอุ่นและชื้นในฝั่งที่มีเมฆ ก็จะทำให้เกิดรอยต่อระหว่างอากาศเย็น และอากาศอุ่นตามขอบเมฆ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าเปลี่ยนสีขึ้นมานั่นเอง          

ฟ้าเปลี่ยนสี วันเหมายัน

ภาพจาก Timelife  เกิดวันที่ 22 ธันวาคม 2558 อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่, เฟซบุ๊ก บัญชา ธนบุญสมบัติ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

      


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ฟ้าแบ่งสี วันเหมายัน ผู้เชี่ยวชาญอธิบายเกิดจากอากาศแห้งปะทะอากาศชื้น อัปเดตล่าสุด 23 ธันวาคม 2558 เวลา 12:19:24 43,635 อ่าน
TOP
x close