
คณะรัฐมนตรี เห็นชอบผลิตบัตรประชาชนรุ่นใหม่ไฮเทคมาก กดเงิน-จ่ายภาษี-ส่วนลดคนรายได้น้อย หวังประหยัดต้นทุนเงินสด อำนวยความสะดวกประชาชน และรัฐมีฐานข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น คาดเสร็จสิ้นทุกโครงการปี 2560
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของไทยให้เข้าสู่การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งบูรณาการระบบสวัสดิการสังคม ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน และการส่งเสริมอีเพย์เม้นท์ในทุกภาคส่วน
นอกจากนี้ แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ยังช่วยสนับสนุนนโยบายอื่น ๆ ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โครงการระบบตั๋วร่วมของกระทรวงคมนาคม นโยบายกองทุนการออมแห่งชาติ นโยบายการส่งเงินช่วยเหลือแก่ประชาชนในกรณีต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบชำระเงิน ประกอบด้วย 5 แผนงานสำคัญ ดังนี้





ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนโครงการทั้ง 5 จะดำเนินการผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างระบบชำระเงิน โดยจะเริ่มดำเนินตามแผนและทุกโครงการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2560
อย่างไรก็ดี คาดว่าแผนยุทธศาสตร์นี้จะช่วยประหยัดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจในภาพรวมได้ประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาทต่อปีจากประชาชน ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนจากการพกเงินสดมาเป็นชำระแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน และจะมีความสะดวกมากขึ้นในการทำธุรกรรมภาคธนาคาร และประหยัดต้นทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาทต่อปี จากการลดต้นทุนการพิมพ์ธนบัตร การบริหารเงินสด และเช็ค นอกจากนี้ร้านค้ายังสามารถประหยัดต้นทุนประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปีอีกด้วย โดยเชื่อว่า การลดต้นทุนดังกล่าว เป็นระบบที่ดีที่สุดในโลก
ท้ายนี้ นายอภิศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า แผนดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนของระบบผ่านการพัฒนาระบบนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่ม และระบบจะนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะช่วยให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้น และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพจาก ทวิตเตอร์ @baekmemimimeme
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
