อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อธิบายปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง ช่วงเย็นวันที่ 27 ตุลาคม 2559 ชี้เกิดจากการกระเจิงของแสง และแสงจากตัวเมืองสะท้อนกับเมฆจนเกิดเป็นสีส้มแดง เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความฮือฮาให้กับโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก สำหรับภาพท้องฟ้าสีแดงในช่วงเย็นของวันที่ 27 ตุลาคม 2559 ที่มีการแชร์กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบริเวณท้องฟ้าเหนือพระบรมมหาราชวัง [อ่านข่าว :
ฮือฮา ! ท้องฟ้าสีแดง ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่คนโบราณเชื่อว่าวันต่อมาจะมีพายุ]
ล่าสุด (28 ตุลาคม 2559) รายการเรื่องเล่าเช้านี้
ทางช่อง 3 ได้มีการสอบถามไปที่
อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับ
ปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดงดังกล่าว
โดย อ.เจษฎา
เปิดเผยในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการกระเจิงของแสง
เนื่องจากช่วงเย็นแสงจะต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นกว่าตอนกลางวัน
แสงสีม่วง สีฟ้า จึงกระเจิงออกไป
ทำให้แสงที่เราเห็นนั้นมีเพียงแสงสีส้มกับแสงสีแดงประกอบกับมีแสงจากตัวเมืองสะท้อนกับเมฆจนเกิดเป็นสีส้มแดง
โดยสังเกตได้จากภาพถ่ายส่วนมากที่ถ่ายได้จากในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เท่านั้น
ภาพและข้อมูลจาก

,
เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant