
พล.อ. สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ข้อมูลจาก "กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" (ทส.) ชี้ว่า เมื่อปี 2551 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 23.93 ล้านตัน และมีอัตราการเกิดขยะ 1.03 กก./คน/วัน ขณะที่ในปี 2559 หรือแค่เพียง 8 ปีต่อมา ปริมาณขยะมูลฝอยได้พุ่งขึ้นสูงเป็น 27.04 ล้านตัน ขณะที่อัตราการเกิดขยะก็เพิ่มเป็น 1.14 กก./คน/วัน และที่น่าห่วงไม่แพ้กัน คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องมีอัตราเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนภาพรวมกระบวนการคัดแยก จัดเก็บ รวบรวม และขนส่งขยะ ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ปัญหาขยะของประเทศไทยวันนี้ จึงเป็นสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน !
ชูวาระแห่งชาติ-วางโรดแม็ปแก้ปัญหา
พล.อ. สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาที่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2557 ได้ประกาศให้การจัดการปัญหาขยะเป็น "วาระแห่งชาติ" พร้อมทั้งได้เห็นชอบ "โรดแม็ป" การจัดการขยะและของเสียอันตรายตามที่ ทส. เสนอ โดยหลังจากนั้นก็มีการดำเนินการมาตรการต่าง ๆ ตามโรดแม็ปมาอย่างต่อเนื่อง
"ประเทศไทย ไร้ขยะ" โมเดลประชารัฐ ระยะ 1 ปี
ขณะที่ต่อมา ทส. ได้ดำเนินการยกร่าง "แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ" (พ.ศ.2559-2564) โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทดังกล่าวเพื่อเป็นกรอบ ทิศทาง และเป้าหมายการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของประเทศให้เกิดความชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ ทส. ยังได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการ "ประเทศไทยไร้ขยะ" ตามแนวทาง "ประชารัฐ" ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559-2560) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการจัดการขยะระยะสั้นภายใต้แผนแม่บทดังกล่าว
จัดการขยะต้นทาง ลด-ใช้ซ้ำ-กลับมาใช้ใหม่
โดยแผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะฯ เป็นแนวทางขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) โดยวางอยู่บนแนวคิด 3Rs-ประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการขยะที่ยั่งยืน โดยลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อวางรากฐานการดำเนินการจัดการขยะให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อก้าวสู่เป้าหมายประเทศไทยไร้ขยะได้อย่างเป็นรูปธรรม

สร้างวินัยประชาชน ลดใช้ถุงพลาสติก
พล.อ. สุรศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะผลักดันให้เป้าหมายประเทศไทยไร้ขยะสำเร็จได้ คือ การทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีวินัยในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับภารกิจขับเคลื่อนการรณรงค์และสร้างวินัยในการจัดการขยะให้กับประชาชน โดยหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ การขยายผลความสำเร็จของโครงการ "รวมพลังสร้างวินัย ลดใช้ถุงพลาสติก"
จับมือ 16 ภาคเอกชน งดใช้ถุงพลาสติก
โครงการลดใช้ถุงพลาสติก พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้ถุงผ้าใส่ของแทนนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และภาคเอกชนผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ 16 หน่วยงานทั่วประเทศ ประกอบด้วย
1. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
3. บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด
4. บริษัท เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป จำกัด
5. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
6. บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาเก็ต จำกัด
7. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท เอก-ชัยดิส ทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เทสโก้ โลตัส)
9. บริษัท ซี อาร์ ซี ไทวัสดุ จำกัด
10. บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด
11. บริษัท บีทูเอส จำกัด
12. บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด
13. บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)
14. บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
15. บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
16. บริษัท เสรีพรีเมียร์ จำกัด
โดยดำเนินการรณรงค์งดให้บริการถุงพลาสติกแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อสร้างความเคยชินและกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดใช้และลดขยะประเภทถุงพลาสติก
![]()
ชี้ลดถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านใบ
"โครงการนี้มีความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยในช่วงเริ่มต้นโครงการเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ได้วางแผนการรณรงค์ให้ประชาชนงดใช้ถุงพลาสติกเฉพาะทุกวันที่ 15 ของเดือน แต่ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนอย่างล้นหลาม จึงทำให้มีการยกระดับขึ้นมาเป็นทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือน กระทั่งขยับขึ้นมาเป็นทุกวันพุธของแต่ละสัปดาห์ ซึ่งผลการดำเนินการจนถึงปัจจุบันทำให้ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการทั่วประเทศ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้รวมกันมากถึง 166,775,853 ใบ"
เลิกใช้-เลิกรับ "ถุงพลาสติก" ทุกจันทร์-พุธ-ศุกร์
พล.อ. สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะฯ จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายธุรกิจภาคเอกชน 16 องค์กร เดินหน้ายกระดับความเข้มข้นของโครงการเพิ่มขึ้นไปอีก ด้วยการณรงค์งดให้บริการถุงพลาสติกทุก "วันจันทร์ พุธ และศุกร์" ของสัปดาห์ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป

รณรงค์ใช้ "ถุงผ้า" จับจ่ายสินค้า-ไม่ใช้กล่องโฟม
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ระบุด้วยว่า จากนี้ไป จึงอยากขอความร่วมมือและขอรณรงค์เชิญชวนประชาชนทุกคนให้มาร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อต่อยอดขยายผล "ปฏิเสธ" การรับถุงพลาสติกในทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ของสัปดาห์ พร้อมทั้งใช้โอกาสนี้ฝึกการสร้าง "วินัย" ให้กับตนเองในการลดการใช้ถุงพลาสติก ด้วยการเตรียมถุงผ้าไปใช้ในการจับจ่ายซื้อของที่ตลาด ร้านขายของ ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าทุกครั้ง หรืออาจยกระดับให้กับตัวเองด้วยการเตรียมปิ่นโต หรือภาชนะบรรจุอาหารมาใช้แทนการรับกล่องโฟมทุกครั้ง ซึ่งจะสามารถช่วยลดมลภาวะ ลดขยะ ให้กับสังคมที่เราอาศัยอยู่ได้อย่างมหาศาล
ทั้งนี้ การลดพลาสติกหรือกล่องโฟมเพียง 1 ชิ้นต่อวัน ถ้าปฏิบัติกัน 1 คนก็เท่ากับลดได้ 1 ชิ้น คนไทย 66 ล้านคนก็จะลดขยะได้มากถึง 66 ล้านชิ้นต่อวัน อนาคตของประเทศไทยจะไร้ขยะได้หรือไม่ จึงไม่ได้อยู่ในมือของรัฐบาลหรือของผู้ใด แต่อยู่ที่มือของเราทุกคนจะต้องช่วยกัน
![]()
โดยดำเนินการรณรงค์งดให้บริการถุงพลาสติกแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อสร้างความเคยชินและกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดใช้และลดขยะประเภทถุงพลาสติก

"โครงการนี้มีความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยในช่วงเริ่มต้นโครงการเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ได้วางแผนการรณรงค์ให้ประชาชนงดใช้ถุงพลาสติกเฉพาะทุกวันที่ 15 ของเดือน แต่ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนอย่างล้นหลาม จึงทำให้มีการยกระดับขึ้นมาเป็นทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือน กระทั่งขยับขึ้นมาเป็นทุกวันพุธของแต่ละสัปดาห์ ซึ่งผลการดำเนินการจนถึงปัจจุบันทำให้ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการทั่วประเทศ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้รวมกันมากถึง 166,775,853 ใบ"
เลิกใช้-เลิกรับ "ถุงพลาสติก" ทุกจันทร์-พุธ-ศุกร์
พล.อ. สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะฯ จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายธุรกิจภาคเอกชน 16 องค์กร เดินหน้ายกระดับความเข้มข้นของโครงการเพิ่มขึ้นไปอีก ด้วยการณรงค์งดให้บริการถุงพลาสติกทุก "วันจันทร์ พุธ และศุกร์" ของสัปดาห์ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป

รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ระบุด้วยว่า จากนี้ไป จึงอยากขอความร่วมมือและขอรณรงค์เชิญชวนประชาชนทุกคนให้มาร่วมมือกันอีกครั้งเพื่อต่อยอดขยายผล "ปฏิเสธ" การรับถุงพลาสติกในทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ของสัปดาห์ พร้อมทั้งใช้โอกาสนี้ฝึกการสร้าง "วินัย" ให้กับตนเองในการลดการใช้ถุงพลาสติก ด้วยการเตรียมถุงผ้าไปใช้ในการจับจ่ายซื้อของที่ตลาด ร้านขายของ ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าทุกครั้ง หรืออาจยกระดับให้กับตัวเองด้วยการเตรียมปิ่นโต หรือภาชนะบรรจุอาหารมาใช้แทนการรับกล่องโฟมทุกครั้ง ซึ่งจะสามารถช่วยลดมลภาวะ ลดขยะ ให้กับสังคมที่เราอาศัยอยู่ได้อย่างมหาศาล
ทั้งนี้ การลดพลาสติกหรือกล่องโฟมเพียง 1 ชิ้นต่อวัน ถ้าปฏิบัติกัน 1 คนก็เท่ากับลดได้ 1 ชิ้น คนไทย 66 ล้านคนก็จะลดขยะได้มากถึง 66 ล้านชิ้นต่อวัน อนาคตของประเทศไทยจะไร้ขยะได้หรือไม่ จึงไม่ได้อยู่ในมือของรัฐบาลหรือของผู้ใด แต่อยู่ที่มือของเราทุกคนจะต้องช่วยกัน