กทม. เตรียมอุทธรณ์คำสั่งศาลคดีป้าทุบรถ งัด 3 ประเด็นสู้ ยันข้าราชการอนุญาตให้สร้างตลาดตามกฎหมาย ส่วนค่าเสียหาย เจ้าของตลาด-คนจอดรถขวางบ้าน ต้องแชร์กันรับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ไทยโพสต์ รายงานว่า พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายวันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง หลังพิพากษาให้ น.ส.บุญศรี แสงหยกตระการ และพวกรวม 4 คน ชนะคดี พร้อมทั้งให้ กทม. เพิกถอนใบขอรับจัดตั้งตลาดทั้ง 5 แห่ง และจ่ายค่าสินไหมพร้อมดอกเบี้ย ว่า
ได้พิจารณารายละเอียดตามคำสั่งศาลใน 3 ประเด็น ที่ยังมีความคิดเห็นที่คลาดเคลื่อน ประกอบด้วย
1. ส่วนที่เกี่ยวกับสำนักการโยธา ต้องเป็นผู้ดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ในการขอใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สำนักการโยธาได้พิจารณา และใช้อำนาจดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย โดยยึดประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 พ.ศ. 2530 และคำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งคู่มือปฏิบัติของราชการและกรมที่ดิน ซึ่งไม่ได้ห้ามก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ และได้ยึดคำสั่งดังกล่าวในการออกใบอนุญาตถูกต้องแล้ว
2. ส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานเขตประเวศ ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขฉบับเพิ่มเติม 2535 ตามมาตรา 40, 42, 43 เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตพร้อมแจ้งความดำเนินคดี โดยศาลจังหวัดพระโขนง มีคำสั่งให้ปรับผู้กระทำความผิด ซึ่งเจ้าหน้าก็มีการดำเนินการมาโดยตลอด และ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้ออกคำสั่งให้แก้ไข เมื่อเจ้าของตลาดไม่ดำเนินการแก้ไข เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการฟ้องศาลจังหวัดพระโขนงอีกครั้ง โดยศาลมีคำสั่งปรับ
ส่วน พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ทหารและเจ้าหน้าที่เทศกิจได้ประชุมติดตามเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะเห็นว่าทั้งสำนักการโยธาและสำนักงานเขตประเวศดำเนินการตามกฎหมาย
3. ในส่วนของค่าเสียหาย ที่กรุงเทพมหานครจะต้องจ่ายเงินชดใช้ฐานความผิดละเมิด หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว เจ้าหน้าที่ กทม. ได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่น่าจะต้องรับผิดชอบในมุมของการละเมิด แต่หากต้องรับผิดชอบก็พบว่ามีผู้ละเมิดร่วมด้วย คือ ผู้ที่จอดรถขวางหน้าบ้าน และเจ้าของตลาดทั้ง 5 แห่ง
ดังนั้น น่าจะแบ่งสัดส่วนรับผิดชอบร่วมกัน กรุงเทพมหานคร ไม่น่าจะรับผิดชอบค่าเสียหายเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งการคำนวณจำนวนเงินค่าเสียหายของศาลคิดรวม 365 วัน ตลอดระยะเวลา 7 ปี แต่ตลาดเปิดขายจริงเพียงเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เท่านั้น นับ 1 ปี มีเพียง 102 วัน หากจะให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบค่าเสียหาย ก็ยินดีจ่ายเงินเยียวยาให้ แต่ต้องมีการแบ่งสัดส่วนตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ซึ่งจะสรุปรายละเอียดสำนวนทั้งหมด ก่อนเสนออัยการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน และหากอัยการพิจารณายื่นอุทธรณ์ ก็ต้องชะลอเอาผิดด้านวินัยกับข้าราชการประจำไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้ พล.ต.อ. อัศวิน กล่าวว่าด้วยว่า กทม. มีความเห็นควรอุทธรณ์คำสั่งศาล โดยจะส่งสำนวนให้อัยการเป็นผู้แก้ต่าง ซึ่งก็อยู่ที่อัยการว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ทั้งนี้ กทม. ก็สั่งให้รื้อถอนตลาดและสั่งปิดให้หยุดขายไปแล้ว ส่วนที่มีผู้ค้าไปค้าขายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เขตประเวศได้เข้าไปทำความเข้าใจ และได้ออกประกาศ ให้เจ้าของรื้อถอนตลาดภายใน 60 วันแล้ว ส่วนของข้าราชการที่เกี่ยวข้องมีความผิดทางวินัย เป็นอำนาจของฝ่ายประจำ โดยเป็นอำนาจของปลัด กทม.
ภาพและข้อมูลจาก
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ไทยโพสต์ รายงานว่า พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายวันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง หลังพิพากษาให้ น.ส.บุญศรี แสงหยกตระการ และพวกรวม 4 คน ชนะคดี พร้อมทั้งให้ กทม. เพิกถอนใบขอรับจัดตั้งตลาดทั้ง 5 แห่ง และจ่ายค่าสินไหมพร้อมดอกเบี้ย ว่า
ได้พิจารณารายละเอียดตามคำสั่งศาลใน 3 ประเด็น ที่ยังมีความคิดเห็นที่คลาดเคลื่อน ประกอบด้วย
1. ส่วนที่เกี่ยวกับสำนักการโยธา ต้องเป็นผู้ดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ในการขอใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า สำนักการโยธาได้พิจารณา และใช้อำนาจดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย โดยยึดประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 พ.ศ. 2530 และคำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งคู่มือปฏิบัติของราชการและกรมที่ดิน ซึ่งไม่ได้ห้ามก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ และได้ยึดคำสั่งดังกล่าวในการออกใบอนุญาตถูกต้องแล้ว
2. ส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานเขตประเวศ ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขฉบับเพิ่มเติม 2535 ตามมาตรา 40, 42, 43 เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตพร้อมแจ้งความดำเนินคดี โดยศาลจังหวัดพระโขนง มีคำสั่งให้ปรับผู้กระทำความผิด ซึ่งเจ้าหน้าก็มีการดำเนินการมาโดยตลอด และ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้ออกคำสั่งให้แก้ไข เมื่อเจ้าของตลาดไม่ดำเนินการแก้ไข เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการฟ้องศาลจังหวัดพระโขนงอีกครั้ง โดยศาลมีคำสั่งปรับ
ส่วน พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ทหารและเจ้าหน้าที่เทศกิจได้ประชุมติดตามเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะเห็นว่าทั้งสำนักการโยธาและสำนักงานเขตประเวศดำเนินการตามกฎหมาย
3. ในส่วนของค่าเสียหาย ที่กรุงเทพมหานครจะต้องจ่ายเงินชดใช้ฐานความผิดละเมิด หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว เจ้าหน้าที่ กทม. ได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่น่าจะต้องรับผิดชอบในมุมของการละเมิด แต่หากต้องรับผิดชอบก็พบว่ามีผู้ละเมิดร่วมด้วย คือ ผู้ที่จอดรถขวางหน้าบ้าน และเจ้าของตลาดทั้ง 5 แห่ง
ดังนั้น น่าจะแบ่งสัดส่วนรับผิดชอบร่วมกัน กรุงเทพมหานคร ไม่น่าจะรับผิดชอบค่าเสียหายเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งการคำนวณจำนวนเงินค่าเสียหายของศาลคิดรวม 365 วัน ตลอดระยะเวลา 7 ปี แต่ตลาดเปิดขายจริงเพียงเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เท่านั้น นับ 1 ปี มีเพียง 102 วัน หากจะให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบค่าเสียหาย ก็ยินดีจ่ายเงินเยียวยาให้ แต่ต้องมีการแบ่งสัดส่วนตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ซึ่งจะสรุปรายละเอียดสำนวนทั้งหมด ก่อนเสนออัยการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน และหากอัยการพิจารณายื่นอุทธรณ์ ก็ต้องชะลอเอาผิดด้านวินัยกับข้าราชการประจำไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ทั้งนี้ พล.ต.อ. อัศวิน กล่าวว่าด้วยว่า กทม. มีความเห็นควรอุทธรณ์คำสั่งศาล โดยจะส่งสำนวนให้อัยการเป็นผู้แก้ต่าง ซึ่งก็อยู่ที่อัยการว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ทั้งนี้ กทม. ก็สั่งให้รื้อถอนตลาดและสั่งปิดให้หยุดขายไปแล้ว ส่วนที่มีผู้ค้าไปค้าขายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เขตประเวศได้เข้าไปทำความเข้าใจ และได้ออกประกาศ ให้เจ้าของรื้อถอนตลาดภายใน 60 วันแล้ว ส่วนของข้าราชการที่เกี่ยวข้องมีความผิดทางวินัย เป็นอำนาจของฝ่ายประจำ โดยเป็นอำนาจของปลัด กทม.
ภาพและข้อมูลจาก